โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘ททท.’ เร่งพิจารณา ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ เฟส 2 ย้ำเห็นความชัดเจนในสิ้นเดือนนี้

MATICHON ONLINE

อัพเดต 04 ส.ค. 2563 เวลา 02.14 น. • เผยแพร่ 04 ส.ค. 2563 เวลา 02.14 น.
96FC5558-D46C-4182-B107-BC09D0022A57
{“source_sid”:“7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1595477356542”,“subsource”:“done_button”,“uid”:“7CD8856F-73F4-4C98-B2EE-FAFDE0FD26FB_1595477356520”,“source”:“other”,“origin”:“gallery”}

‘ททท.’ เร่งพิจารณา ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ เฟส 2 ย้ำเห็นความชัดเจนในสิ้นเดือนนี้

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าแนวทางการเปิดโครงการเที่ยวปันสุข ในส่วนของแพคเกจเราเที่ยวด้วยกันเฟส 2 หลังจากประเมินแล้วคาดว่า จะเหลืองบประมาณจากการดำเนินการอยู่บางส่วน จากทั้งหมด 22,400 ล้านบาท จึงจะนำงบประมาณที่เหลือมาใช้กับเราเที่ยวด้วยกันเฟส 2 ซึ่งจะมีความชัดเจนภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งในส่วนของรูปแบบโครงการ และสิทธิพิเศษที่จะมีเพิ่มเติม และระยะเวลาในการดำเนินการ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยจะพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผู้ที่ทำการจองเที่ยวในเฟส 1 เสียเปรียบผู้ที่จองเที่ยวในเฟส 2 และเพื่อไม่ให้เป็นการรอนสิทธิผู้ที่เดินทางเที่ยวก่อนหน้าแล้ว

นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า จากเดิมกำหนดเวลาของโครงการไว้ที่ 4 เดือน (เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม) เพราะคาดว่าไตรมาส 4/2563 จะมีต่างชาติเข้ามาได้มากขึ้น ซึ่งจะต่อเนื่องจากการกระตุ้นเที่ยวในประเทศทันที แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในต่างประเทศที่ยังมีความรุนแรงอยู่ ทำให้ไม่มีความชัดเจนที่จะอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามา จึงจะพิจารณาในการขยายระยะเวลาในการกระตุ้นเที่ยวในประเทศ ผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ในงบประมาณที่เหลืออยู่ ทั้งการกระตุ้นเที่ยวเมืองรอง และเที่ยววันธรรมดามากขึ้น รวมถึงจะขยายให้ผู้ประกอบการโรงแรมเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า ในส่วนของการจับคู่ประเทศเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน (แทรเวล บับเบิล) ในประเทศที่มีความเสี่ยงระบาดโควิด-19 น้อยไม่แตกต่างจากไทย เนื่องจากโครงสร้างในภาคการท่องเที่ยวไทย อาศัยรายได้จากต่างชาติ 2 ใน 3 ส่วน ซึ่งททท.ก็พยายามช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผ่านการดึงตลาดต่างชาติเข้ามาเพิ่มเติม แต่ต้องปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องกับการแพร่ระบาดมากขึ้น อาทิ การเข้ามาจะต้องกักตัว 14 วัน การจำกัดพื้นที่ในการท่องเที่ยวและพักแรม ซึ่งจะต้องสอบถามความสมัครใจของคนในพื้นที่ด้วย หาก โดยคาดหวังในไตรมาส 4/2563 จะสามารถเปิดน่านฟ้าให้ต่างชาติเข้ามาได้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย และพำนักในระยะยาว แต่หากยังไม่สามารถเปิดน่านฟ้าได้ จำนวนต่างชาติทั้งปี 2563 จะทำได้เพียง 7 ล้านคน ซึ่งมีสะสมในช่วง 6 เดือนแรกประมาณ 6.75 ล้านคนอยู่แล้ว

“กรณีการเปิดให้ต่างชาติเข้ามา จะจำกัดให้อยู่ในพื้นที่ปิด ซึ่งพิจารณาในหลายพื้นที่ไว้แล้ว แต่ยังต้องดูว่าคนในพื้นที่ หากมีต่างชาติไปพัก คนในพื้นที่จะสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้หรือไม่ โดยกรณีนี้จะไม่เหมือนกรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เดินทางมาจากอียิปต์ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่ยอมกักตัว ซึ่งในกรณีต่างชาติที่จะอนุญาตให้เข้ามา ต้องมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ 30-60 วัน พิจารณาให้เข้ามาเป็นรายพื้นที่ รายเมือง ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่เป็นเวลานาน ไม่ได้อนุญาตให้เข้ามาเป็นรายประเทศทั้งหมด” นายยุทธศักดิ์กล่าว

นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า แนวโน้มในปี 2564 หากสถานการณ์ดีขึ้นได้ ประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวจากปี 2562 ประมาณ 50% ทำให้ภาคท่องเที่ยวไทยจะต้องปรับตัว และให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะหารือร่วมกับททท. ในการอัพเดทผลของมาตรการซอฟท์โลนที่ดำเนินการไปแล้ว และยังมีอยู่ รวมถึงข้อเสนอแนะของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสามารถเดินอยู่ให้ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0