โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ความหื่นกระหาย’ ไม่ใช่โรคทางเพศที่ควรอับอาย - เพจ Beautiful Madness by Mafuang

TOP PICK TODAY

เผยแพร่ 23 มิ.ย. 2563 เวลา 10.05 น. • เพจ Beautiful Madness by Mafuang

ถึงแม้ว่า เราจะเป็นนักจิตบำบัดที่ไม่ค่อยชื่นชอบและรู้สึกตงิดใจทุกครั้ง ที่ต้องมาตีค่าใครคนหนึ่ง ที่มีลักษณะอาการไม่เหมือนคนอื่นในสังคมส่วนใหญ่ว่าเป็น ‘โรคทางจิต’

แต่ถ้ายึดตามหลักหนังสือ ดีเอสเอ็ม-ไฟว์ (DSM-5) หรือตำราสากลที่ใช้ตรวจสุขภาพทางจิตต่างๆ ของบรรดาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด

อาการและโรคเกี่ยวกับเรื่องเพศที่น่าเป็นห่วงและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ควรเข้ารับการปรึกษา/บำบัดจากผู้เชี่ยวชาญนั้นก็จะมี

  • Delayed Ejaculation – อาการหลั่งอสุจิที่ช้าเกินไป หรือไม่สามารถหลั่งได้
  • Erectile Disorder – น้องชายของคุณไม่สามารถตื่นตัวหรือแข็งระหว่างร่วมกิจกรรมทางเพศ
  • Female Orgasmic Disorder – เมื่อผู้หญิงไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้
  • Premature Ejaculation – การหลั่งน้ำอสุจิเร็วเกินไป (ประมาณหนึ่งนาทีหลังเริ่มการมีเพศสัมพันธุ์)
  • Female Sexual Interest/Arousal Disorder และ Male Hypoactive Sexual Desire Disorder – เมื่อคนๆ นั้น ไม่รู้สึกถึงความอยากในอารมณ์ทางเพศ (ซึ่งสิ่งนี้ จะต้องเป็นปัญหาของ ‘คนนั้น’ ว่าเธอ/เขา อยากเกิดอารมณ์ทางเพศ แต่ไม่สามารถรู้สึกได้อาจด้วยปัจจัยจากสิ่งรอบตัวต่างๆ แต่หากคนๆ นั้นมีความสุขกับการไม่ได้อยากมีอารมณ์ทางเพศ ก็ไม่ถือเป็นปัญหาของเขา)
  • Genito-Pelvic Pain/Penetration Disorder – เกิดอาการเจ็บปวด หรือมีความยากลำบากตรงอวัยวะส่วนล่าง เมื่อมีการร่วมเพศ
  • Substance/Medication-Induced Sexual Dysfunction – อารมณ์ทางเพศของคนๆ นั้นไม่ปกติ เนื่องจากการใช้ยาหรือสารเสพย์ติดบางอย่าง

 (ซึ่งขอพูดอีกครั้งว่า โดยส่วนตัว เราไม่รู้สึกว่ามันจำเป็นจะต้องมาตีตราใครต่อใครว่าสิ่งเหล่านี้คือ ‘โรค’ ให้รู้สึกแย่/อายกับตัวเองกว่าเดิมเลย)

 

 

“ความหื่นกระหาย”

คือหนึ่งในอารมณ์ ‘ธรรมชาติ’ ของมนุษย์

และทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสภาวะจิตใจ

เราควรทำการ ‘รับรู้’, ‘ยอมรับ’, และหาทางระบายออก ‘อย่างมีประสิทธิภาพ’

หากเราเกิดอารมณ์กระหายนี้ขึ้นมา

แล้วเราจัดการและหาที่ปลดปล่อยความรู้สึกนั้นได้อย่างมีความสุข

‘โดยไม่รบกวนและทำร้ายตัวเราเองหรือใครที่ไหน’

ก็ดูเป็นพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ ไม่เห็นน่าเป็นปัญหาให้ คนอื่น ต้องมีหน้าที่มาจัดการหรือห้ามปรามใดๆ เลย

 

ในสังคมที่การแสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมทางเพศต่างๆ เป็นเรื่องน่าอับอาย เปรียบเสมือนเป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งๆ ที่มันเป็นอารมณ์ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์

เราเห็นข่าว สร้างมาตรการต่อต้าน เซ็กส์ทอย หรือของเล่นประกอบกิจกรรมทางเพศในประเทศไทยแล้วงงมาก

รสนิยมทางเพศของแต่ละคน คือความรู้สึกหลงใหลเฉพาะตัวบุคคล

ในเมื่อเขาคนนั้น ไม่สามารถรู้สึกสำเร็จกับอารมณ์ของตัวเองได้ ไม่ว่าจะจากความสามารถของตัวเอง หรือกับคู่รัก/คู่นอนของเขา

แล้วทำไม การมีของเล่นหรือสื่อต่างๆ ที่ถูกกฎหมาย ที่มันถูกจริตกับเขา

และทำให้เขาค้นพบความสุข ความสบายใจได้ด้วยตัวเอง ในพื้นที่ปิดที่ไม่รบกวนสายตาใคร โดยไม่เดือดร้อนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้?

 

 

ในอเมริกา

แบบสำรวจจากกระทรวงยุติธรรมประเภทอาชญากรและเหยื่อพบว่า ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมาเหยื่อของการโดนล่วงละเมิดทางเพศลดลงถึง 44% เมื่อผู้คนเริ่มเข้าถึงหนังลามกอย่างพอร์น นั่นทำให้เห็นว่า สื่อลามกต่างๆ ไม่ได้กระตุ้นให้ผู้คนออกไป ‘ล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น’ แต่มันคือวิธีปลอดภัยในการสำเร็จความใคร่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว ด้วยเครื่องมือหรือของเล่นที่เรามี และเราจะมีความสุขกับมันกี่ครั้งก็ได้ เพราะไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน

ในประเทศญี่ปุ่น, จีน, ฮ่องกง

ตั้งแต่รัฐบาลได้ออกกฎผ่อนปรนการเข้าถึงสื่อลามกต่างๆ ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ตัวเลขเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศต่างๆ ก็ลดลงด้วยเช่นกัน

 

 

 

‘รู้สึก’ กับทุกสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจ

‘จัดการ’ กับอารมณ์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้ใครเดือดร้อนหรือเกิดอันตราย

ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ที่สร้างความสุขให้เราได้

และเพิ่มความปลอดภัย ให้ผู้อื่นด้วย

.

.

.

.

.

.

.

อ้างอิง

https://www.psychologytoday.com/us/blog/all-about-sex/201601/evidence-mounts-more-porn-less-sexual-assault

Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders Fifth Edition

อ่านบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0