โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"ไส้เดือนดิน" ประโยชน์เยอะ

รักบ้านเกิด

อัพเดต 03 ส.ค. 2563 เวลา 07.52 น. • เผยแพร่ 03 ส.ค. 2563 เวลา 07.52 น. • รักบ้านเกิด.คอม

หากพูดถึงสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ อย่าง "ไส้เดือน" หลายคน คงต้องร้องยี้ตาม ๆ กัน ด้วยลักษณะ ผิวหนัง การเคลื่อนย้ายตัว ที่ดูแล้วก็ไม่ค่อยจะสบายตาซักเท่าไหร่นัก และเชื่อว่าเด็กสายวิทย์ทั้งหลายต้องเคยผ่านเหตุการณ์นี้มาก่อน กับการที่จะต้องจับไส้เดือนดินตัวเป็น ๆ เพื่อมาส่งอาจารย์ในคราบวิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) เพื่อทำการชำแหละ ผ่าดูข้างในตัวของไส้เดือน ว่าเนื้อตัวยาว เป็นปล้องนั้นมีอะไรอยู่ภายใน ซึ่งคำตอบที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าที่หลาย ๆ คนเห็น ก็คงจะเป็น "ดิน" แต่เชื่อไหมคะ ว่า "ดิน" เหล่านั้นที่อยู่ภายในตัวของเจ้าไส้เดือน มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และเมื่อไส้เดือนขับถ่ายออกมาแล้ว นั่นหละคือขุมทรัพย์อันล้ำค่า ที่มีผลดีทั้งต่อดิน พืช ระบบนิเวศ และที่สำคัญยังสามารถนำมาใช้ทางด้านการเกษตรได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

Hilight-Kaset/117_1_1.jpg
Hilight-Kaset/117_1_1.jpg

ในระบบทางเดินอาหารของไส้เดือนดินนั้นจะเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ ซึ่งแบ่งออกได้ 4 กลุ่มหลักดังนี้

1. กลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์ ไนโตรเจน กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน และอื่น ๆ ให้เป็นอาหารกับไส้เดือน และบางส่วนจะปนออกมากับมูลของไส้เดือน ในรูปของไนเตรท แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ รวมถึงโพแทสเซียมในรูปที่พืชและจุลินทรีย์เล็กๆภายนอกจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที

 

2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสารต้านทาน ถ้าเปรียบจะคล้ายๆกับเม็ดเลือดขาวในมนุษย์ ให้สารพิษต่างๆที่มากับอินทรียวัตถุเข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดีขึ้น มีส่วนช่วยลดและป้องกันโรคต่างๆให้กับพืช และสัตว์บางชนิดได้ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่าง ๆ ได้

 

3. กลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) เป็นพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซ อ๊อกซิเจน ไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ไส้เดือนดิน ดำรงชีวิตในดินพร้อมกับจุลินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในลำไส้และย่อยอินทรียวัตถุได้

 

4. กลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) เมื่อไส้เดือนขับถ่ายมูลจะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินที่แข็งหรือดินเสียก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ร่วนซุย เอื้อต่อการดำรงชีวิตของไส้เดือนในดิน ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมขจัดสารพิษและของเสียต่างๆในดินและน้ำได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากนี้จุลินทรีย์ที่ปนออกมากับมูลของไส้เดือนดินยังสามารถสร้างเอนไซม์ฟอสฟาเตสซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้น และสามารถกระตุ้นดินและน้ำให้มีการเปลี่ยนถ่ายอ๊อกซิเจนได้มากขึ้น

 

ด้วยประโยชน์นานับประการเหล่านี้มนุษย์จึงใช้ไส้เดือนดิน เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดภัยจากสารเคมีอันมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าและให้ผลที่รวดเร็วกว่า จุลินทรีย์ ตามธรรมชาติ มากกว่า 100 เท่า และดีกว่าจุลินทรีย์กลุ่ม Effective Microorganisms หรือ EM 10 เท่า โดยการทำงานร่วมกันระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้และเอนไซม์ในน้ำย่อยของไส้เดือนดิน

 

Hilight-Kaset/117_2_2.jpg
Hilight-Kaset/117_2_2.jpg

"ปุ๋ยมูลไส้เดือน" ดีเพราะ ????

เมื่อไส้เดือนดูดอาหารและผ่านระบบย่อยในลำไส้แล้วออกมาจะมีโมเลกุลสารอาหารที่เล็กมาก และมีความเย็น พืชสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้ทันที และมีสารอาหารหลากหลาย ครบและเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย สิ่งสำคัญมากคือมีฮอร์โมนพืชรวมอยู่ด้วยเป็นของแถมที่วิเศษ เพราะจะไปเร่งให้พืชสร้างรากฝอยมากขึ้น และเมื่อพืชได้รับสารอาหารที่ครบและมากมาย เนื่องจากมีรากฝอยมากขึ้น ดูดอาหารได้มากขึ้น มูลไส้เดือนเป็นธรรมชาติ 100% จะส่งผลให้พืชเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงอย่างธรรมชาติ จะทำให้พืชมีความต้านทานทั้งโรคพืชและโรคแมลงตามธรรมชาติตามมาอีกด้วย อีกทั้งยังประหยัดค่ายาฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อต่างๆ

 

Hilight-Kaset/117_3_3.jpg
Hilight-Kaset/117_3_3.jpg

"ทำไม มูลไส้เดือนดิน" จึงมีประโยชน์เหนือกว่าปุ๋ยชนิดอื่น ???

มูลไส้เดือนดิน จะมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดมากกว่าที่พบในปุ๋ยหมักธรรมดา นอกจากนั้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 หรือ ค.ศ 2002 ได้มีรายงานการวิจัยพบสารฮอร์โมนสำคัญเพื่อการเจริญเติบโตของพืชในมูลไส้เดือนดินเพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้แน่ใจได้ว่าในมูลไส้เดือนดินมีสารต่างๆ คือ ฮิวเมท (humates) ออกซิน (auxins) ไคเนติน (kinetins) จิบเบอเรลลิน (gibberellin) และไซโตไคนิน (cytokinin) เป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าใจความสำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ ว่าทำหน้าที่ต่างๆเช่นกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์พืช ทำให้รากรับอาหารไปใช้ การหันหน้าของดอกไม้เข้ารับแสงแดด ควบคุมความยาวของเซลล์และแม้กระทั่งทำหน้าที่เป็นสารต้านการแก่ตัวของพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเร็ว นอกจากนั้นยังค้นพบว่ามีเอนไซม์ไคติเนส (kitinase) ซึ่งสามารถละลายไคตินสารชีวะเคมีชนิดหนึ่งที่ประกอบกันเป็นเปลือกชั้นนอกของแมลง ด้วยเหตุนี้มูลไส้เดือนดินจึงมีฤทธิ์ในการขับแมลงด้วย

 

Hilight-Kaset/117_4_4.jpg
Hilight-Kaset/117_4_4.jpg

"แล้วประโยชน์พื้นฐานของมูลไส้เดือนดินมีอะไรบ้าง" ???

ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้นโดยทำให้มีการรวมตัวของดินอย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ เป็นสารอินทรีย์ 100% ปลอดสารพิษ และพบว่าปริมาณธาตุโลหะหนักในมูลไส้เดือนดินนั้น ต่ำกว่าที่ทางราชการกำหนดให้มีได้ถึง 10 เท่า (เป็นการสนับสนุนผลงานค้นคว้าเมื่อปี 2001 โดยคณะนักชีวะวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ พบว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดสามารถขจัดความเป็นพิษของธาตุโลหะหนักได้) ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้ใช้ในปริมาณที่มาก ปราศจากกลิ่นและมีฤทธิ์ในการดับกลิ่น ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่เป็นกับพืชและมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลง ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดีขึ้นตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำ จัดแมลง และศัตรูพืช กรณีผสมดินที่เป็นดินทรายจะช่วยเพิ่มเนื้อดิน ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้น และธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ประหยัดปุ๋ยปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงสร้างแน่นแข็งและช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง

 

"ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน" จะมีส่วนประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe) และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ
คุณค่าสารอาหารในมูลไส้เดือน

 

Hilight-Kaset/117_5_5.jpg
Hilight-Kaset/117_5_5.jpg

และหากพูดถึงปุ๋ย ที่มีคุณสมบัติในการบำรุงต้นพืชให้เจริญเติบโต เรามักจะคุ้นเคยกับค่า NPK
ซึ่งเป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วัดปริมาณไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K)ในสารละลายของปุ๋ยเคมี กรณีของมูลไส้เดือนซึ่งเป็นสารอินทรีย์ ถ้าจะวัดปริมาณ NPK เปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีแล้ว จะมีค่าต่ำกว่า แต่มูลไส้เดือนมีความโดดเด่นมากกว่าปุ๋ยเคมี เพราะมีจุลินทรีย์ (microbes) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิต จุลินทรีย์ที่อยู่ในมูลไส้เดือนนั้นจะค่อยๆย่อยสลายและให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆตามความต้องการของพืช ซึ่งจะดีกว่าการให้แบบให้ดูดซึมครั้งละมาก ๆ ของปุ๋ยเคมีนั่นเอง
 

วิธีทางธรรมชาติที่จะช่วยดูแลธรรมชาติด้วยกันเอง ย่อมเป็นวิถีและเป็นทางเลือกที่เกษตรกรควรหันมาใส่ใจ เพราะนอกเหนือจากการที่เราได้ชื่นชมกับผลผลิตที่ออกมาแล้วนั้น เรายังกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลระบบนิเวศโดยรอบพื้นที่เพาะปลูกให้คงความอุดมสมบูรณ์ ปลอดมลพิษ ที่สำคัญไปกว่านั้นสุขภาพของเกษตรกรก็จะดีตามไปด้วย

"ต่อไปนี้ เวลาเห็น "ไส้เดือนดิน" ให้เปลี่ยนจากร้องยี้ เป็นร้อง "ว้าว" นะคะ เพราะเจ้าไส้เดือนดิน ประโยชน์เยอะจริง ๆ หละคะ"
 

Hilight-Kaset/117_6_6.jpg
Hilight-Kaset/117_6_6.jpg

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินคุณภาพดีจากเกษตรกร
เรียบเรียงโดย : ทีมงานรักบ้านเกิดดอทคอม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0