โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

บันเทิง

อำเภอนครหลวงอยุธยาปล่อยพันธุ์ปลา 200,000 ตัวพัฒนาระบบนิเวศน์ทางน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการประมงอย่างยั่งยืน

สยามรัฐ

อัพเดต 19 ส.ค. 2563 เวลา 06.37 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2563 เวลา 06.37 น. • สยามรัฐออนไลน์
อำเภอนครหลวงอยุธยาปล่อยพันธุ์ปลา 200,000 ตัวพัฒนาระบบนิเวศน์ทางน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการประมงอย่างยั่งยืน

วันที่ 19 สิงหาคม 2553 นายสรณต ณ ศรีโต นายอำเภอนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เป็นประธานปล่อยพันธุ์ปลาตามโครงการพัฒนาระบบนิเวศน์ทางน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการประมงอย่างยั่งยืน ที่บริเวณท่าน้ำป่าสัก หมู่ที่ 3 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง โดยมีนายณัฐนันท์ บุญแท้ ประมงอำเภอนครหลวง ให้การต้อนรับ กล่าวรายงาน มี หัวหน้าส่วนราชการ นายสุเทพ บุญแจ้ง กำนันตำบลปากจั่น ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน ต.ปากจั่น ต.คลองสะแก และกลุ่มยุวเกษตรจาก ร.ร.วัดบ้านดาบ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก พันธุ์ปลา 5 ชนิดได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาบึก ปลากดคัง ปลาเทโพและปลากาดำจำนวน 200,000 ตัว

นายณัฐนันท์ บุญแท้ ได้กล่าวว่าการจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาในครั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์แหล่งน้ำและเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนเกษตรกร ในแต่ละพื้นที่มีความเข้มแข็งสามารถจัดการผลลิตการเกษตรเพื่อสนองต่อความมั่นคงด้านอาหาร และสร้างรายได้ในครัวเรือนมีการจัดตั้งธนาคารผลผลิตเกษตร ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารผลผลิตด้านการเกษตร กรมประมงจึงได้ดำเนินการ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งระบบธนาคารผลิต การเกษตรโดยเน้นด้านประมงขึ้น

ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนเกษตรกรสามารถบริหารจัดการผลผลิตจากแหล่งน้ำชุมชมเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ โดยความร่วมมือของชุมชนและเครือข่ายอนุรักษ์ ในการให้ความร่วมมือในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่บริหารจัตการโดยคณะกรมกรแหล่งน้ำ ชุมชนที่ตั้งขึ้น เพื่อให้แหล่งน้ำเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์น้ำชุมชนรองรับความต้องการบริโภคอาหารโปรตีน ปะเภทสัตว์น้ำของชุมชนการบริโภค และการสร้างรายได้เพื่อความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์ และแพร่ขยายพันธุ์ ของสัตว์น้ำที่นับวันจะลดน้อยลงเนื่องจากวิกฤต ต่าง ๆทั้งภัยแล้ง น้ำเสีย การเสียสมดุลย์ทางธรรมขาติซึ่งภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด เร่งดำเนินการ บำบัด ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำบำสัก และแม่น้ำสาขา รวมทั้งอทางเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่ ให้มีความสมบูรณ์และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สัตว์ พืชน้ำ ให้มีโอกาสแพร่พันธุ์ ในน้ำที่ใสสะอาด เพื่อเอื้อต่อการทำกินของชุมชน ที่อาศัยและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ ตลอดจนเอื้อต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0