โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โหมดเวิ่นเว้อและเพ้อเจ้อ - เฟื่องลดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 05 ก.ย 2562 เวลา 09.15 น.

เวลาคนมีความรักมักจะมีอาการเวิ่นเว้ออย่างเด็ดกลีบดอกไม้ เฝ้าคิดว่าเค้าจะรักเราหรือเปล่า.. 

love me..love me not..love me..love me not  

การคิดวนทั้งที่ไม่จำเป็นแบบนี้…นี่แหละสิ่งที่เรียกว่า ความเวิ่นเว้อ 

สื่อสมัยนี้เปิดพื้นที่ให้เราแชร์ความเพ้อของตัวเองมากกว่าแค่การเด็ดดอกไม้อยู่คนเดียว 

ทั้งการตั้งสเตตัส เขียนคำคม ยิงมุข ไปจนถึงแต่งนิยายเป็นเรื่องเป็นราว

เรามองหาคนแชร์โมเม้นท์ฟินๆเวลาสมหวังและรับฟังเราระบายเวลามีเรื่องผิดหวัง 

ถ้าการเวิ่นเว้อมีแค่เรื่องความรักที่ทำให้โลกนี้มีแต่สีชมพูก็คงจะดี 

แต่เมื่อเรามักมีโมเม้นท์เพ้อไปเรื่อยในเรื่องที่กังวล ไม่สบายใจ 

จะทำยังไงให้การ ‘เวิ่นเว้อ’ ของเรา ‘เยิ่นเย้อ’ แต่พอดี 

การเพ้อของคุณอยู่ในโหมด Default หรือเปล่า ? 

เมื่อรู้สึกอะไรก็พร้อมพิมพ์ระบายทันที 

คุณเป็นหนึ่งคนที่พร้อมหยิบมือถือขึ้นมาตั้งสเตตัสเวลาเจอเรื่องไม่ถูกใจ

และอยากแชร์ความเพ้อเจ้อของเราให้คนรู้โดยทั่วกันหรือเปล่า 

การบ่นไปเรื่อยช่วยให้เราสบายใจแต่บางครั้งก็ไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคนในเวลาที่เรา… 

‘รักจนตาบอด’ ‘โกรธจนหน้ามืด’ หรือ ‘ดำดิ่งลงไปในอารมณ์’ มากเกินไป 

เวลา ‘รู้สึก’ กับเรื่องไหนมากๆ เรามักจะมีสติน้อยลง ถูกอารมณ์บดบังจนคิดวน คิดซ้ำๆ   

อาจพูดได้ว่า สมองเราอยู่ในช่วงเฉื่อยชา (passive) มักเผลอพรั่งพรูความในใจออกมามากมายจนลืมตัว

ยิ่งเวลาอารมณ์ขุ่นมัว ลึกๆแล้วเรามักอยากให้คนเข้าข้าง ‘ความเวิ่นเว้อ’ ที่เราระบายออกไป 

พอมีคนคิดต่าง คอมเมนท์ไม่ถูกใจ จึงเกิดเป็นเรื่องราวที่ต่อความยาว สาวความยืดไม่สิ้นสุด  

ว่ากันว่าไม่ว่าจะเป็นคนเก่ง หรือมั่นใจในมุมมองของตัวเองแค่ไหน 

หากลองไปเวิ่นเว้อใน twitter และ ติด # หัวข้อที่มีคนแสดงความคิดเห็นกันเยอะในขณะนั้น 

ย่อมมีโอกาสเจอคนที่มีความคิดเห็นตรงข้ามอย่างแน่นอน  

สิ่งที่พึงระวังไว้เวลา เพ้อเจ้อ บ่นไปเรื่อยก็คือการยึดมั่นว่าสิ่งที่เราคิดถูก

และใจร้อนตอบโต้แบบก้าวร้าว (Aggressive) ต่อคนที่คิดต่าง

เวิ่นแบบมีสติ 

จะเป็นไปได้ไหมถ้าเราไม่ปล่อยให้อารมณ์นำทางมากเกินไปเวลาเปิดโหมดเวิ่นเว้อ

ความจริงแล้ว การระบายความรู้สึกอาจแยกได้เป็นสองแบบคือ 

เขียนเพื่อตกผลึกกับตัวเองหรือแสดงความเห็น กับเขียนไปเรื่อยๆอย่างใส่อารมณ์และไม่มีจุดหมาย 

ถ้าเราอยากระบายเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกจากหนักเป็นเบา

การได้แชร์ก็ช่วยให้สบายใจขึ้นและน่าจะได้คำแนะนำดีๆจากมุมมองคนอื่น แม้ความคิดเราจะยังวนอยู่ในอ่าง หรือ เพ้อยาวอยู่บ้างก็ตาม แต่การเวิ่นเว้ออีกแบบที่ปล่อยให้อารมณ์นำทางมากจนเกินไป 

นอกจากไม่ได้แก้ปัญหาแล้วยังเปลี่ยนเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในหลายๆครั้ง  

คงไม่มีใครที่สามารถอารมณ์ดีได้ทุกวัน หรือ ไม่มีช่วงอยากระบายเลย  

ขึ้นชื่อว่า ‘เวิ่นเว้อ’ เมื่อเริ่มบ่นก็อยากพูดไปเรื่อยเปื่อย 

แต่หากพยายามไม่ใช้อารมณ์มากเกินไปและมีสติตลอดเวลา

เราอาจไม่ต้องกระโจนเข้าไปในโหมดเวิ่นเว่อตั้งแต่ต้นก็ได้

อย่าปล่อยให้ความเวิ่นเว้อเป็นโหมด Default แต่

พยายามเปิดใช้เฉพาะที่จำเป็นนะคะ      

ที่มา

http://www.superversivesf.com/2018/07/26/social-media-whining/

https://www.yourcourageouslife.com/the-truth-about-whining-complaining-bitching-moaning/

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/

Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld

Twitter: @faunglada

Website: www.ldaworld.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0