โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง

PostToday

อัพเดต 10 ส.ค. 2563 เวลา 05.31 น. • เผยแพร่ 10 ส.ค. 2563 เวลา 05.33 น. • webmaster@posttoday.com
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง
โควิดดันยอดสั่งอาหารออนไลน์เพิ่ม ห่วงสุขภาพคนไทยป่วยโรคกลุ่ม NCDs พุ่ง

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า รายงานสุขภาพคนไทย 2563 โดย สสส. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล และภาคีเครือข่ายนักวิชาการ พบสถิติสำคัญว่าวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 10-24 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดจากประเทศตะวันตก อย่างน้อย 1 วัน/สัปดาห์ มากถึง 69.2% รองลงมาคือภาคกลาง 54.6% ภาคใต้ 48.7% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41.9% และภาคเหนือ 38.7% ตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560)

ซึ่งล่าสุดในช่วงโควิด-19 คนไทยอาจมีแนวโน้มบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดมากขึ้น จากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Food Delivery โดย Kantar Worldpanel ได้สำรวจผู้บริโภคคนไทย 1,638 ราย อายุระหว่าง 15-49 ปี ที่อยู่อาศัยในเขตเมือง ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2563 พบว่าผู้บริโภคสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากขึ้น 38% เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน

“ข้อดีของการสั่งอาหารออนไลน์ ช่วยลดการรวมตัวของคนในที่สาธารณะ ลดโอกาสแพร่กระจายโควิด-19 แต่อาหารที่ได้รับความนิยมสั่งมักเป็นอาหารจานด่วน สสส. จึงเกิดความกังวลเป็นห่วงสุขภาพคนไทย เพราะอาหารฟาสต์ฟู้ดมีคลอเรสเตอรอลสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน ฯลฯ เราจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารแบบ 2:1:1 ผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน

ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมกับขอความร่วมมือผู้บริโภคและผู้ประกอบการลดใช้พลาสติก เนื่องจากอาหารพร้อมทานส่วนใหญ่มักใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชิ้น อาทิ กล่องโฟม ช้อนส้อมพลาสติก หลอดพลาสติก ซองน้ำจิ้ม ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าปริมาณขยะพลาสติกของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ตัน/วัน โดยขยะประเภทนี้ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง” 

ทางด้านผศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า เทคโนโลยีทุกวันนี้มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของวัยรุ่นและเยาวชนไทยมากขึ้น ทั้งเพจรีวิวอาหาร ฟู้ดบล๊อกเกอร์ และล่าสุดคือแอปพลิเคชันสั่งซื้ออาหาร มีบทบาทสำคัญในการกำหนดเทรนด์อาหาร และการเข้าถึงร้านอาหารอย่างง่ายดายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สอดคล้องกับผลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้สำรวจพฤติกรรมทางออนไลน์ เรื่อง “การใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย” ระหว่างวันที่ 5-15 มีนาคม 2563 พบว่า

กลุ่มผู้ใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์มากที่สุด คือ

  • Gen Y (อายุ 19-38 ปี) จำนวน 51.09%
  • กลุ่ม Gen X (อายุ 39-54 ปี)
  • กลุ่ม Baby Boomer (อายุ 55-73 ปี)
  • กลุ่ม Gen Z (อายุต่ำกว่า 19 ปี) (ตามลำดับ)

นอกจากนี้ การสำรวจยังพบด้วยว่า อาหารยอดนิยมที่ทุก Gen สั่งมากกว่า 61.06% คืออาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ด อาทิ ไก่ทอด เบอร์เกอร์ และพิซซ่า แต่มีข้อมูลอื่นว่าคนไทยกินผักและผลไม้สดเป็นประจำน้อย อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตแอปฯ สั่งอาหาร หันมาให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโปรโมทอาหารเพื่อสุขภาพ อาจช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้นก็เป็นได้

.

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข / สสส

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0