โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา ร่วม สสว. ให้ความรู้ระบบบัญชี SMEs สู้วิกฤติโควิด-19

สยามรัฐ

อัพเดต 18 ส.ค. 2563 เวลา 09.44 น. • เผยแพร่ 18 ส.ค. 2563 เวลา 09.44 น. • สยามรัฐออนไลน์
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา ร่วม สสว. ให้ความรู้ระบบบัญชี SMEs สู้วิกฤติโควิด-19

วันนี้ ( 18 ส.ค.63) ที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์กองทัพไทย เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.ชลบุรี ผศ.ดร.ระพีพร ศรีจำปา คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนา SME ด้วยระบบบัญชีเดียว ซึ่งทางวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านบัญชีและสามารถนำเทคโนโลยีทางบัญชีไปใช้ในการวางแผนและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs หลังพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนไปของสังคม

ผศ.ดร.ระพีพร เผยว่าโครงการดังกล่าวฯ ยังเป็นการสร้างความรับรู้เรื่องการใช้ระบบบัญชีเดียวให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งเรียนรู้วิธีการที่จะนำข้อมูลทางบัญชีมาคำนวณภาษีรวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพา ได้มอบหมายให้วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดการอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออก

โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 หลักสูตรคือ 1.หลักสูตรเทคนิคการสร้างสรรค์ระบบบัญชีเดียวเพื่อความยั่งยืนของผู้ประกอบการ เนื้อหาครอบคลุมถึงเทคนิคกระบวนการการจัดทำบัญชีเดียว การวางแผนภาษี การใช้เทคโนโลยีในการจัดทำบัญชี เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลและวินิจฉัยธุรกิจเบื้องต้น

2.หลักสูตรนวัตกรรมนโยบายแผนธุรกิจเพื่อขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เนื้อหาคลอบคลุมนวัตกรรมนโยบายแผนธุรกิจนวัตกรรม แผนการตลาดแผนการผลิต แผนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และนวัตกรรมแผนการเงิน เพื่อสามารถนำไปประกอบการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

ผศ.ดร.ระพีพร ยังเผยอีกว่า จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ จ.ชลบุรี มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องชะลอการลงทุน ลดขนาดลงทุน และปรับรูปแบบดำเนินการ อาทิจากธุรกิจบริการ สู่ธุรกิจการผลิต และสิ่งที่สำคัญคือขณะนี้หลายกิจการอยู่ในภาวะหนี้ และภาวะเตรียมพร้อมล้มละลาย แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือทุกภาคธุรกิจมีการวิ่งเข้าหาหน่วยงานราชการ เพื่อขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางในการช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหาวิธีเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0