โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

Gourmet & Cuisine

อัพเดต 11 พ.ย. 2563 เวลา 07.33 น. • เผยแพร่ 11 พ.ย. 2563 เวลา 07.33 น.

อาการ : อาการมักจะเหมือนกับผู้หญิงตั้งครรภ์หรือช่วงก่อนเข้าสู่วัยทอง

  • ทางร่างกาย (มักเกิดก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์)  => คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ รู้สึกร้อนวูบวาบ คัดเต้านม มีสิวขึ้นตามใบหน้า ปวดกล้ามเนื้อและหลัง บวมน้ำ มีอาการท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย นอนไม่หลับ
  • ทางด้านจิตใจ => อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย เครียดและวิตกกังวล ซึมเศร้า ความอยากอาหารมากขึ้น
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน  (Premenstrual Syndrome: PMS)
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

  สาเหตุ : ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วง 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน (ช่วงระหว่างการตกไข่ของแต่ละรอบเดือน) สารเคมีในสมองที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า   ปัจจัยเสี่ยง : ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีน มีความเครียด   การรักษาทั่วไป

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีโดยการเดินเร็ว ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น นั่งสมาธิ
  • การรักษาโดยใช้ยา เช่น ผู้หญิงบางคนที่ได้รับผลจากอาการก่อนมีประจำเดือนมาก สูตินรีแพทย์อาจจะให้กินยา
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน  (Premenstrual Syndrome: PMS)
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

  โภชนบำบัด

  • กินอาหารให้เป็นเวลา 3 มื้อ ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง อาจมีอาหารว่างในปริมาณน้อยๆ ระหว่างมื้อได้
  • หลีกเลี่ยงน้ำตาลและของหวาน ควรเลือกอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด เผือก จะช่วยลดอาการความอยากของหวานและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้
  • ลดการกินอาหารไขมัน เลือกกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น ปลา ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้
  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีน แนะนำให้ดื่มชาสมุนไพรที่ไม่มีกาเฟอีนแทนชา กาแฟ
  • เลี่ยงอาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
  • กินอาหารแคลเซียมสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย โยเกิร์ต ผักใบเขียวจัด เต้าหู้
  • แนะนำให้กินวิตามินเสริม (มักจะขาดวิตามินหลายชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี 6 แมกนีเซียม แคลเซียม)
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน  (Premenstrual Syndrome: PMS)
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

  อาหารที่แนะนำ

  • อาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ผักสด ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ซีเรียล ถั่วต่างๆ ข้าวโพด ลูกเดือย)
  • อาหารควรมีน้ำตาลต่ำ เลือกอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต เผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด หรือแครกเกอร์ (ย่อยช้า ลดอาการอยากของหวานและทำให้อารมณ์ดี)
  • อาหารไขมันต่ำ เช่น นมไขมันต่ำ เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่
  • อาหารที่มีวิตามินซี (ผักสดและผลไม้) วิตามินอี (ผักใบสีเขียวและไขมันจากพืช) วิตามินบี 1 (ข้าวซ้อมมือ เครื่องในสัตว์ ตับ ถั่ว ไข่แดง) วิตามินบี 6 (เนื้อ ตับ นม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง  เนื้อปลา) แคลเซียม (ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยหรือขาดไขมัน โยเกิร์ต ผักใบเขียวจัด เต้าหู้) และแมกนีเซียม (ถั่วเมล็ดแห้ง) ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้ผนังหลอดเลือดคลายตัว จึงลดการปวดเกร็งหรือเป็นตะคริวได้
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน  (Premenstrual Syndrome: PMS)
โภชนบำบัดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

  อาหารที่ไม่แนะนำ/ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด มันจัด รวมถึงของหวานและอาหารทอดทุกชนิด
  • เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น  ชา กาแฟ ของหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเกลือสูง ได้แก่ อาหารจานด่วน เบเกอรี่ต่างๆ รวมทั้งอาหารหมักดอง หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0