โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิสัยทัศน์ความยั่งยืน 2030 L'Oreal for The Future

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 12 ส.ค. 2563 เวลา 11.59 น. • เผยแพร่ 12 ส.ค. 2563 เวลา 11.29 น.
L’OREAL FOR THE FUTURE 2030
อินเนส คาลไดรา

นานกว่าหนึ่งศตวรรษที่ลอรีอัล กรุ๊ป อุทิศองค์กรเพื่อธุรกิจความงามที่มีคุณค่า โดยช่วยทำให้แต่ละบุคคลมีความมั่นใจในตัวเอง ไม่เพียงเท่านั้น ลอรีอัลยังให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากปี 2013 ครั้งที่ลอรีอัลเปิดตัววิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืนระดับโลก ปี 2020 สิ่งต่าง ๆ บนโลกมีความเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน และความเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่มนุษย์ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ลอรีอัลต้องการปรับเป้าหมายให้ตอบโจทย์ต่อการแก้ปัญหาความท้าทายเหล่านั้น ที่ไม่ใช่แค่ทำให้ดีขึ้น แต่ต้องทำในสิ่งที่มีความจำเป็น

จึงส่งผลให้ลอรีอัล กรุ๊ป จัดทำวิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืนใหม่ เรียกว่า “L”Oreal for The Future” วางแผนพิชิตเป้าหมายในปี 2030 โดยเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานต่าง ๆ ที่คำนึงถึงขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกเป็นที่ตั้ง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมริเริ่มการแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการตรวจสอบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน

“อินเนส คาลไดรา” กรรมการผู้จัดการบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืน L”Oreal for The Future คือ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และหน้าที่ขององค์กร ควรเป็นเช่นไรในการมุ่งแก้ไขปัญหาสำคัญที่โลกกำลังเผชิญอยู่โดยวิสัยทัศน์เพื่อความยั่งยืนนั้นประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ที่ต้องทำให้ได้ภายในปี 2030 ได้แก่

หนึ่ง ปรับการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ทุกการดำเนินงานเคารพต่อขีดจำกัดของโลก (planetary boundaries) เพราะหากทุกภาคส่วนมุ่งแต่ดำเนินกิจการใด ๆเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองในระยะสั้น และละเมิดการกระทำที่เหมาะสมต่อโลกอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการทำลายระบบนิเวศที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

“เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และตั้งเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจทั้งหมดให้อยู่ภายใต้ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก ทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ทั้งยังต้องลดผลกระทบของกิจกรรมทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์ และผู้บริโภคของบริษัทด้วย”

สอง เพิ่มศักยภาพให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นโดยเน้นความสำคัญของการทำให้ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และผู้บริโภค มีส่วนร่วมใน L”oreal for The Future โดยบริษัทจะเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเครื่องมือแสดงข้อมูลผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ที่มีระดับคะแนน A ถึง E

“โดย A หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืนมากที่สุด ในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถตรวจสอบได้บนหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ในเครือลอรีอัล เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถรับทราบข้อมูลด้านความยั่งยืนสำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยระดับคะแนนดังกล่าวได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และรับรองข้อมูลจากหน่วยงานด้านการตรวจสอบอิสระระดับโลก Bureau Veritas Certificationโดยเครื่องมือชนิดนี้จะเริ่มจากแบรนด์การ์นิเย่”

ซึ่งเป้าหมายภายใต้หลักการข้อ 2 ประกอบด้วย

2.1 ภายในปี 2025 โรงงาน และศูนย์กระจายสินค้าของลอรีอัลทุกแห่ง ต้องไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (carbon neutral) ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้พลังงานทดแทน 100%

2.2 ภายในปี 2030 พลาสติกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ลอรีอัลทั้งหมด 100% จะมาจากพลาสติกรีไซเคิล หรือจากแหล่งวัสดุชีวภาพ ที่สำคัญ ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละผลิตภัณฑ์สำเร็จลง 50% เมื่อเทียบกับปี 2016

สาม แก้ไขปัญหาเร่งด่วนระดับโลกด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม จึงมีการจัดสรรงบประมาณ 150 ล้านยูโร(ประมาณ 5.2 พันล้านบาท) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ 100 ล้านยูโร (ประมาณ 3.5 พันล้านบาท) นำไปฟื้นฟูระบบนิเวศ และการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน และอีก 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1.7 พันล้านบาท)

นำเข้ากองทุนการกุศลเพื่อสนับสนุนสตรีผู้ด้อยโอกาสให้สามารถประสบความสำเร็จในสังคมและวิชาชีพ ทั้งยังให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัย และผู้พิการสตรี รวมถึงการป้องกันความรุนแรงต่อสตรี และช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบด้านต่าง ๆ

“อินเนส คาลไดรา” อธิบายต่อว่าพันธสัญญาความยั่งยืน 2030L”Oreal for The Future ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เพราะตั้งแต่แรกเริ่มลอรีอัลกรุ๊ป ตระหนักถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยก้าวแรกในการเริ่มแก้ไขปัญหาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ จากโรงงาน และศูนย์กระจายสินค้า

“โดยนับตั้งแต่ปี 2005 ลอรีอัล กรุ๊ป ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงาน และศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทได้ 78% ซึ่งลดได้มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 60% ภายในปี 2020ในขณะที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 37% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกัน และในปลายปี 2019 สถานประกอบการของบริษัททั้งหมด 35 แห่ง มีการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ซึ่งหมายถึงการใช้พลังงานทดแทน100% โดยในจำนวนนี้เป็นโรงงานถึง14 แห่ง”

“นอกจากนั้น ในปี 2013 ลอรีอัล กรุ๊ป เปิดตัววิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนระดับโลกปี 2020 Sharing Beauty With All โดยมี SPOT เป็นแกนหลักของวิสัยทัศน์ ที่ย่อมาจาก S-sustainable, P-product, O-optimization และ T-tool ในการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมของผลิตภัณฑ์ในทุกแบรนด์ โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนถูกควบรวมเข้ากับกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ตั้งแต่เริ่มต้นคิดค้นผลิตภัณฑ์”

“ถัดมาในปลายปี 2019 จำนวน 85% ของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่ปรับสูตรใหม่ จะได้รับการพัฒนาและมีผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม หรือสังคมดีขึ้น นอกจากนั้นในปีเดียวกันลอรีอัลยังช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสจำนวน 90,635 คน ให้มีโอกาสในการทำงานผ่านโครงการจัดหาอย่างมีจริยธรรม ทั้งนี้ลอรีอัลเป็นบริษัทเดียวในโลกที่ได้รับผลการประเมินเกรด A จากการจัดอันดับCDP องค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวม3 ด้าน คือ การปกป้องสภาพภูมิอากาศ, การจัดการน้ำ และการอนุรักษ์ป่าไม้ต่อเนื่องกันถึง 4 ปีซ้อน”

ในทางเดียวกัน เมื่อถามถึงความยั่งยืนในประเทศไทย “อินเนส คาลไดรา”บอกว่า ผ่านมาเราทำหลายด้าน อย่างในปี 2017 ลอรีอัล ประเทศไทย เปิดศูนย์กระจายสินค้าสีเขียวของลอรีอัลแห่งแรกในเอเชีย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน LEED ระดับซิลเวอร์ เพราะเป็นศูนย์ที่ลดการใช้พลังงาน และน้ำทั้งยังมีการพัฒนาระบบขนส่ง โดยมีการริเริ่มโครงการรีไซเคิล และดำเนินการพัฒนาศูนย์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการสร้างผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

“ส่วนด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ลอรีอัล ประเทศไทย ดำเนินโครงการSolidarity Sourcing ช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีโอกาสได้รับการจ้างงานผ่านโครงการ Beauty For a Better Life สอนทักษะอาชีพเสริมสวยแก่ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ลอรีอัล กรุ๊ป จัดซื้อน้ำมันรำข้าวข้าวหอมมะลิจากเกษตรกรในประเทศไทยมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และผิวหนัง โดยทำงานร่วมกับ 4 สหกรณ์ในภาคอีสานที่เกษตรกรรายย่อยกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการค้าอย่างเป็นธรรม สนับสนุนขีดความสามารถของคนในชุมชนและพัฒนาระบบวนเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบที่ช่วยสร้างสมดุลคาร์บอนอีกด้วย โดยจากทุกโครงการที่กล่าวมามีผู้ได้รับการช่วยเหลือในประเทศไทยราว 1,200 คน”

“นอกจากนี้ ในส่วนของผู้บริโภคในไทยยังมีโอกาสในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ความงามที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ของลอรีอัลที่นำมาจัดจำหน่ายในประเทศไทย ล้วนได้รับการพัฒนาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนผสมทางชีวภาพ, บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล หรือวัสดุชีวภาพ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ของผู้บริโภค”

จึงนับว่าลอรีอัลมีการเปลี่ยนแปลง และนำความยั่งยืนมาเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจ ด้วยพันธสัญญาความยั่งยืนในปี 2030 ที่ไม่เพียงเป็นการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หากยังมุ่งหวังที่จะช่วยลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำงานให้มากยิ่งขึ้นด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0