โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

รู้หรือไม่ ผัดกะเพรา อย่างไร ให้มีสีสวย ไม่เหี่ยว แถมกลิ่นหอม

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 09 ต.ค. 2564 เวลา 13.33 น. • เผยแพร่ 26 มี.ค. 2564 เวลา 17.26 น.
62447679_605207266630786_2860444108852297728_n

รู้หรือไม่ ผัดกะเพรา อย่างไร ให้มีสีสวย ไม่เหี่ยว แถมกลิ่นหอม

กะเพรา ผักสวนครัวอีกชนิดที่พ่อครัวแม่ครัวทั้งหลายนิยมนำมาทำอาหาร ด้วยมีกลิ่นหอม ช่วยให้อาหารดูน่าทาน โดยอาหารที่นิยมใส่ใบกะเพรา คงหนีไม่พ้น ผัดกะเพรา เมนูโปรดที่ทุกคนทำกินกันบ่อยๆ นั่นเอง

แต่รู้หรือไม่ ว่าการจะผัดใบกะเพราให้คงสีเขียวสดเหมือนเด็ดมาจากต้นใหม่ๆ ไม่เหี่ยว แถมมีกลิ่นหอมนั้นทำอย่างไร

เพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ที่มีผู้ติดตามกว่าแสนคน ได้เผยแพร่ข้อมูลน่าสนใจเชิงวิทยาศาสตร์ ถึงการจะผัดกะเพราให้ได้สีสันสวยงาม ไม่เหี่ยว แถมมีกลิ่นหอมเตะจมูกนั้น พ่อครัวแม่ครัวควรใช้วิธีการ “โฮม” คือเอาฝาปิดครอบกระทะหลังผัดจนสลดสักประมาณ 10 วินาทีก่อน แล้วจึงค่อยตักขึ้น เพราะถ้าใบกะเพราไม่สุกดีจะทำให้เกิด “ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลโดยเอนไซม์” (enzymatic browning reaction) จากการที่ Polyphenolic oxidase (PPO Enzymes) นั้นเร่งให้สารประกอบฟีนอลนั้นเป็นสารประกอบควิโนนที่มีสีเข้มได้ ส่งผลทำให้ใบกะเพรานั้น “ดำต่อ” อย่างรวดเร็ว

และทำให้มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รสชาติที่ไม่สามารถบรรยายได้ เนื่องจากเอนไซม์ลิพอกซีจิเนส (Lipoxygenase enzymes) นั้นถูกทำลายไม่หมด จึงสามารถเร่งให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวบางส่วน (unsaturated fatty acid) ในใบกะเพรานั้นเกิดเป็นสารประกอบอัลดีไฮด์และคีโตนที่มีกลิ่นเหม็นเขียวได้ด้วย

นอกจากนี้การปิดครอบจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผัดกะเพราและทำให้กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพรานั้นคงอยู่แบบสมบูรณ์ด้วย

ดังนั้น แม้ใบกะเพราจะสุกง่าย แต่เอนไซม์ทั้ง PPO Enzymes และ Lipoxygenase enzymes นั้นควรต้องถูกทำลายไปหมดสิ้นก่อนเพื่อที่จะทำให้ผัดกะเพรามีสี รสชาติดี และกลิ่นหอม

**ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0