โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ระวัง!! เงินในกระเป๋า ถ้าเงินฝืด จะเกิดอะไรขึ้น ?

ทันข่าว Today

อัพเดต 21 ส.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั่วโลกนั้นหนักหนาสาหัสแค่ไหน มาวันนี้ทุกคนคงรู้ซึ้งทั้งที่โดนผลกระทบโดยตรง หรือแบบทางอ้อม

สิ่งที่แน่นอน ก็คือ คนส่วนใหญ่มองว่า แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง แต่ร่องรอยความเสียหายในอุตสาหกรรมหลักๆ อาจและต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้า กว่าจะเห็นมูลค่าเศรษฐกิจกลับมา ณ จุดที่เคยเป็นเมื่อปี 2019 และผลกระทบระยะยาวของวิกฤตนี้คือภาวะเงินฝืด?

เงินฝืด คืออะไร?

เงินฝืด (Deflation) หมายถึงภาวะที่เงินหมุนเวียนในระบบมีจำนวนที่น้อย

ทำให้ประชากรไม่มีกำลังในการซื้อ ซึ่งมีผลต่ออุปสงค์โดยรวมลดลง ทำให้ผู้ผลิตต่างพากันลดราคาสินค้า เพื่อให้ขายสินค้าได้
ภาวะเงินฝืดจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่คือ เมื่อภาคการผลิตขายสินค้าได้น้อย >> ลดกำลังการผลิต >>ทำให้การจ้างงานต่ำลง >>ประชาชนว่างงานมากขึ้นทำให้ระบบเศรษฐกิจตกต่ำ มากขึ้นอีกถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข

สาเหตุของเงินฝืด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน เนื่องจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เช่น ภัยธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ เช่น เงินตราไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เป็นต้น

ถ้าเงินฝืด จะเกิดอะไรขึ้น

▪️ ผู้ประกอบการ
ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะหากผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว

▪️ ประชาชน
อัตราการว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนขายสินค้าและบริการได้น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตทำให้ไม่เกิดการจ้างงานเพิ่ม แต่บางกิจการอาจมีผลกระทบมากจนต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษากิจการให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเงินฝืด จึงจะต้องลดพนักงานทำให้ประชาชนตกงานเพิ่มขึ้น

ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมากก็คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากการหาเช้ากินค่ำ จากการหากำไรและลูกหนี้

▪️ สภาพเศรษฐกิจของประเทศ
เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและ ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อย ทุกภาคการเงินระมัดระวังตัวเองในการปล่อยสินเชื่อ ภาคธุรกิจไม่สามารถหาเงินมาหมุน เวียนจนต้องปิดตัวลง ประชาชนจึงว่างงานส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ทั้งระบบ

แนวทางการแก้ไขปัญหาเงินฝืด … ที่อาจเริ่มเห็นบางประเทศนำเอามาใช้

▪️ เพิ่มการลงทุนของภาครัฐ
เมื่อรัฐบาลมีการลงทุนในโครงการใหญ่ จะมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไหลเข้าสู่ระบบทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อได้ เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น

▪️ ลดอัตราดอกเบี้ย
การลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ นักลงทุนมีความสนใจที่จะกู้เงินเพื่อนำไปลงทุน เพราะต้นทุนในการกู้ยืมเงินถูก และมีผลกำไรมากขึ้น ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมาก

▪️ ลดอัตราภาษี
จะมีผลทำให้ประชาชนมีเงินเหลือ และนำไปใช้จ่ายมากขึ้น สามารถลดภาวะเงินฝืดได้

▪️ ซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล
การซื้อคืนพันฐบัตรรัฐบาลจะเป็นการนำเงินจากรัฐบาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

Credit ข้อมูล
https://forbesthailand.com/commentaries/economic-outlook/ปรับตัวรับภาวะเงินฝืดห.html
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0