โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รอลุ้น! 9 เดือนความหวังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19  

PPTV HD 36

อัพเดต 28 ก.พ. 2563 เวลา 10.08 น. • เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 10.01 น.
รอลุ้น! 9 เดือนความหวังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19  
 “11 หน่วยงาน”  พัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19  คาดเร็วสุด 9 เดือน  ส่วนวัตถุดิบไร้ห่วง เหตุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  มีเซลล์เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสโคโรนารองจากจีน

วันที่ 28 ก.พ.  2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีการลงนามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 และการวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ร่วมกับผู้แทน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม(อภ.) และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ทำความรู้จักการแบ่งระยะการระบาด “โควิด-19” ไม่เกี่ยวความรุนแรงของโรค

สธ.ย้ำไทยระบาดโควิด-19 ‘ระยะ 2’  ยังไม่ถึงขั้นแพร่เชื้อระหว่างคนไทย

 นพ.สุขุม กล่าวว่า ที่ผ่านมานักวิจัยนักวิชาการจะแยกกันพัฒนาวัคซีน ต่างคนต่างมีความรู้เฉพาะด้านของตัวเอง ทำให้เกิดการประสานงานยาก แต่วันนี้ประชาคมด้านวัคซีนมาร่วมกันลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันพัฒนาและแบ่งปันความรู้เพื่อสร้างวัคซีนต่อต้านโรคอุบัติใหม่ คือ โรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ซึ่งเป็นตัวแบบพัฒนาให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกัน คิดว่าเป็นตัวสำคัญให้ประเทศไทยมีความมั่นใจ ว่าหากมีการระบาดจริง การพึ่งพาคนอื่นอาจจะยาก แต่วันนี้เราสามารถพึ่งพาตนเองด้วยความรู้ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญก็คิดว่าจะมีความสำเร็จ

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถือว่าเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเซลล์เพาะเลี้ยง เป็นครั้งแรกของโลกได้รองจากจีน ทำให้เรามีวัตถุดิบให้หน่วยงานต่างๆ ไปพัฒนาวิจัยวัคซีน และเราสามารถเลี้ยงเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสและวัดปริมาณได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการศึกษาต่างๆ เช่น ทดลองให้ยา ภูมิคุ้มกัน หรือวัคซีน แล้วเชื้อในเซลล์ลดลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ เรามีมาตรฐานศูนย์ทดลองสูงสุดระดับโลก ทำให้สามารถทดลองวัคซีนต่างๆ ในสัตว์ทดลอง และวัดภูมิคุ้มกันได้ เพื่อต่อไปจะไปวัดในคนได้ และหาวิธีวัดภูมิคุ้มกันในคนหลังรับวัคซีน

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  กล่าวว่า  การพัฒนาวัคซีนต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างต่างชาติที่เริ่มก่อนเราหรือพร้อมมากกว่าเรา ยังพูดว่าต้องใช้ระยะเวลา 9-12 เดือน ซึ่งของเราไม่ใช่เพิ่งเริ่ม ก็เริ่มพอสมควร และมีพื้นฐานอยู่เดิม การจะบอกว่าได้วัคซีนเมื่อไรนั้นตอบยาก เพราะวัคซีนที่ได้คือต้องได้ผล ซึ่งกว่าจะผ่านการทดลองจากทั้งในสัตว์ทดลองก็ใช้เวลา 9-12 เดือน ถึงได้คำตอบ ซึ่งขึ้นกับรูปแบบและวิธีการพัฒนาวัคซีน ซึ่งแต่ละตัวใช้เวลาไม่เท่ากัน

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีกำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า ในสหรัฐฯ ที่ให้ทุนบริษัทเอกชนทำวัคซีนประเภท mRNA ใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือนก็เสร็จแล้ว ส่งไปที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เพื่อทดสอบก็ใช้เวลา 2-3 เดือน ตอนนี้เทคโนโลยีไปเร็วมาก คาดว่าภายใน 6 เดือนน่าไปทดลองในคนได้ ส่วนของประเทศไทยก็อยู่ที่ความเร็วในการดำเนินการ รอบนี้เป็นวิกฤตที่ประเทศต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเรามีศักยภาพจะทำความเร็วภายใน 9 เดือน เพื่อให้วัคซีนถึงในคนได้หรือไม่ แต่ยุคที่การระบาดกว้างขวางจะไม่รอถึงขึ้นทะเบียน หากทดลองเฟส 1 ปลอดภัย และผลเลือดของคนและสัตว์ทดลอง ทดสอบแล้วว่าสามารถจัดการเชื้อได้ไม่ให้ติด  อาจขยายผลไปใช้ในคนเสี่ยงสูงได้เลย แต่ถ้ามาตรฐานปกติของวัคซีนใช้เวลาเกิน 2 ปี

เตือน! คนไทยกลับจากประเทศเสี่ยงตรวจหา “โควิด-19”  ทันที ไม่ช่วยอะไร เหตุเชื้อฟักตัว 14 วัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0