โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ภาษีการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ (2)

Businesstoday

เผยแพร่ 09 ส.ค. 2563 เวลา 03.30 น. • Businesstoday
ภาษีการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ (2)

ปุจฉา: กรณีนาย ข ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่ได้รับโอนหุ้นมาจากบิดา ได้ทำการขายหุ้นที่ตนได้ถือไว้ทั้งหมด (50,000 หุ้น) ให้กับ นาย ค บุคคลภายนอกไปในราคาหุ้นละ 15 บาท  ผลต่างของราคาขายกับราคาซื้อจำนวนหุ้นละ 5 บาท

มีความเข้าใจว่า กรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (Capital gain)  ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร - กรณีดังกล่าว ถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร อันเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

ซึ่งตามแนวคำตอบข้อหารือเลขที่ กค 0702/11070 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2558 กรมสรรพากรได้วินิจฉัยว่า “…หากต่อมาบุตรโอนขายหุ้นที่ได้รับมาโดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะผู้ถือหุ้นย่อมหวังที่จะได้รับประโยชน์จากเงินปันผลหรือกำไรจากการโอนเป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น จึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุตร ทั้งนี้ ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริง เมื่อบุตรไม่มีต้นทุนในการได้มาซึ่งหุ้น บุตรจึงต้องนำผลประโยชน์ที่ได้จากการขายหุ้นทั้งจำนวนมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” นั้น

วิสัชนา: ผมมีความเห็นแยังกับแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากรดังกล่าว เป็นอย่างยิ่งดังนี้

  • การที่บุตรได้รับเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นที่รับโอนจากบิดาดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร บุตรย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นผลได้จากทุนที่งอกเงยขึ้นมา
  • แต่สำหรับหุ้นที่บุตรถือไว้นั้น ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “หุ้น” เป็น “สังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา อันเป็นการได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร” การวินิจฉัยว่า “การขายหุ้นที่ได้รับมาโดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะผู้ถือหุ้นย่อมหวังที่จะได้รับประโยชน์จากเงินปันผลหรือกำไรจากการโอนเป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร” โดยไม่มีข้อกฎหมายมาอ้างอิง ด้วยเกรงว่า จะเกิดช่องโหว่ของกฎหมาย โดยใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายหุ้นนั้น การวินิจฉัยเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อผู้สุจริตที่มีการโอนหุ้นให้แก่บุตรอย่างแท้จริง ซึ่งพลอยถูกหางเลขไปด้วย เข้าลักษณะเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะ ใช้บังคับได้แต่เพียงผู้ที่ได้รับคำตอบข้อหารือ ไม่อาจนำไปปรับใช้เป็นการทั่วไปกับบุคคลอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันได้ ตามธรรมชาติของแนวคำตอบข้อหารือที่เป็นประเด็นรายกรณี (Case by case) เท่านั้น ยิ่งไม่มีกฎหมายรองรับเช่นนี้ หากขึ้นสู่ศาลก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร

ดังนั้น ในขณะที่รัฐยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตามข้อ 2 (23) แห่งกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509 หากไม่แก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนว่า การมีเงินได้ในกรณีนี้ จะไม่ได้รับยกเว้น ผู้มีเงินได้ย่อมได้รับการคุ้มคร้องให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักกฎหมายทั่วไป ที่ไม่มีกฎหมายพิเศษบัญญัติรองรับว่าไม่ได้รับยกเว้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0