โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

'ปภ.'เตือน14จว.เหนือ-อีสาน รับมือน้ำป่าซัดแรง-ล้นตลิ่ง

เดลินิวส์

อัพเดต 08 ส.ค. 2563 เวลา 06.30 น. • เผยแพร่ 08 ส.ค. 2563 เวลา 06.11 น. • Dailynews
'ปภ.'เตือน14จว.เหนือ-อีสาน รับมือน้ำป่าซัดแรง-ล้นตลิ่ง
“ปภ.“เตือน 14 จังหวัด ภาคเหนือ-อีสาน เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในวันที่ 8 ส.ค. นี้

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง(กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนสะสมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.)

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) จึงได้ประสาน 14 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 8 ส.ค.63 โดยแยกเป็น พื้นที่เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.น่าน (อ.สองแคว อ.ปัว อ.บ่อเกลือ อ.เมืองน่าน อ.เชียงกลาง อ.เวียงสา อ.เฉลิมพระเกียรติ และอ.บ่อหลวง) จ.พะเยา (อ.ภูซาง และอ.เชียงคำ) จ.เชียงราย (อ.เชียงของ) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน) จ.เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว อ.ฝาง และอ.แม่อาย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ คือ อ.เมืองชัยภูมิ 

อธิบดี ปภ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำน่าน จ.น่าน (อ.ท่าวังผา อ.เมืองน่าน อ.เวียงสา และอ.สองแคว แม่น้ำ แม่ลาว) จ.เชียงราย แม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก แม่น้ำโขง จ.เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมถึงสั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าวโดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสถานการณ์ภัยต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกล สาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที

อีกทั้งประสานหน่วยงานในพื้นที่ อำเภอ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสร้างการรับรู้และแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบสถานการณ์ภัยและแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยผ่านทุกช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0