โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก

PostToday

อัพเดต 04 ส.ค. 2563 เวลา 01.35 น. • เผยแพร่ 04 ส.ค. 2563 เวลา 01.44 น. • webmaster@posttoday.com
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บริโภคโซเดียมอย่างไร ไม่ให้ไตทำงานหนัก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือนการบริโภคโซเดียมในปริมาณมากเกินกว่า 2,400 มิลลิกรัม หรือมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้ไตทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงและยิ่งมีโอกาสพบบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น พร้อมแนะวิธีลดปริมาณโซเดียมเพื่อการทำงานที่ดีของไต

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ 400 มิลลิกรัม โดยร่างกายมีความต้องการโซเดียมประมาณ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าได้รับมากร่างกายจะขับออกทางไตจะทำให้ไตทำงานหนัก ดังนั้น การที่ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่พอเพียงไม่มากไม่น้อยจนเกินไปจะเกิดผลดีต่อการทำงานของไต ส่วนเกลือโซเดียม หรือเกลือแกงเป็นตัวหลักของสารที่ให้ความเค็มในเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้ คือ น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เต้าเจี้ยว ฯลฯ และยังใช้ในการถนอมอาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาร้า ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เป็นต้น]

นอกจากนี้ เกลือโซเดียมยังแฝงมากับอาหารอื่นๆ เช่น ขนมอบกรอบ ผงชูรส หากรับประทานอาหารที่เค็มจัดที่มีเกลือโซเดียม หรือเกลือแกงมากกว่า 6 กรัมต่อวัน หรือมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบบริโภค ผัก ผลไม้

ทางด้าน นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งวิธีที่จะช่วยลดปริมาณการบริโภคโซเดียมมีหลายวิธี เช่น

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด และอาหารหมักดอง
  • ชิมอาหารทุกครั้งก่อนเติมเครื่องปรุง
  • เลือกบริโภคอาหารสด หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวที่มีเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
  • ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงน้ำจิ้ม และลดปริมาณน้ำจิ้มที่บริโภค
  • ทดลองปรุงอาหารโดยใช้ปริมาณเกลือ น้ำปลา ตลอดจนเครื่องปรุงรสอื่นๆ เพียงครึ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ในสูตรปรุงอาหาร ถ้ารสชาติไม่อร่อยจริงๆ จึงค่อยเพิ่มปริมาณของเครื่องปรุงรส
  • ควรปลูกฝังนิสัยให้บุตรหลานรับประทานอาหารรสจืด โดยไม่เติมเกลือ ซีอิ๊วขาว น้ำปลา ตลอดจนซอสปรุงรสในอาหารเด็กและทารก
  • ควรบริโภคอาหารที่มีปริมาณโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวและผลไม้ จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0