โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

'ทนายสุกิจ'ซัดพฐ.กลับคำคดี'บอส' ลั่นเชื่อถือไม่ได้ไม่อยู่กับร่องกับรอย

แนวหน้า

เผยแพร่ 10 ส.ค. 2563 เวลา 04.12 น.

ผลของพยานกลับคำให้การต่อสื่อ"ในคดี"นายบอส"หลังจากอัยการสั่งไม่ฟ้องไปแล้วเป็นพยานหลักฐานที่จะใช้เป็นการดำเนินคดีใหม่นั้น กฏหมายไม่เปิดช่องให้ทำได้ ต้องดำเนินคดีกับพยานให้รับโทษเสียก่อน

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความชื่อดัง เจ้าของฉายา "ทนายมาเฟีย" และ "ทนายเทวดา" ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว โดยมีประเด็นสำคัญทางคดี กรณี "บอส" วรยุทธ อยู่วิทยา ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่จับตามองของสังคมในเวลานี้ว่า "หลังจากที่ สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด สังคมได้เคลือบแคลงสงสัยว่า คุกมีไว้ขังคนจน" ข่าวนี้ดังไปทั่วโลกเป็นเหตุให้ต่างประเทศนั่งหัวเราะ ข้าราชการไทยมีแต่ที่จะจ้องจับผิดกันเอง เพื่อความดังและต้องการออกสื่อ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายในระบบของกฏหมายบ้านเรา

อย่างกรณี พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น นักวิทยาศาสตร์ สบ.4 กลุ่มงานตรวจเคมีฟิสิกส์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ผู้ตรวจสอบความเร็วของรถยนต์ให้การยืนยันว่า ความเร็วของรถยนต์ นายบอส ขณะขับเป็นเหตุให้ตำรวจชึ่งเป็นผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ให้การตามหลักวิชาการว่าความเร็วนั้น คำนวนได้ 177 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง 

หลักจากนั้นได้ให้การใหม่ว่า คำนวนผิดแท้จริงแล้วความเร็วไม่เกินกว่ากฏหมายกำหนด อันนี้ตำรวจไม่ได้เชื่อถือพยานปากนี้เท่าที่ควร ก็พยายามหาพยานหลักฐานคนกลางซึ่งสอดคล้องต้องกัน จึงทำให้พยานปาก พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น มีน้ำหนักรับฟ้องประกอบเท่านั้น แต่ก็ยังชื่อถือไม่ได้ 

ทั้งนี้ หลังจากคดี นายบอส ตกเป็นข่าวพยาน ปากนี้ไปออกสื่อ และไปให้การต่อหน่วยงานต่างๆ ว่า ความเร็วคดี นายบอส นั้นแท้จริงแล้วความเร็ว 177 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง ที่ให้การเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวนไปว่า ความเร็วที่รถยนต์ นายบอส ขับขี่นั้น ไม่เกินกว่ากฏหมายกำหนด นั้นเพราะเกิดจากความสับสน

พยานให้การเช่นนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัยว่า เชื่อถือไม่ได้ให้การกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอย และยังให้การแตกต่างกับพยานอื่นเป็นข้อพิรุธ นายบอส ที่ตกเป็นข่าว ก็ให้การปฏิเสธตลอดมา ย่อมมีเหตุสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิอาญามาตรา 227 วรรคสองคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2536 

แม้ตำรวจจะไม่ได้แจ้งข้อหา ตำรวจและอัยการสูงสุดมีอำนาจตามกฏหมายใด ที่จะสั่งให้ดำเนินคดีกับ นายบอส ตามกระแสสังคมและความรู้สึกของประชาชน ที่บริโภคข่าวอันนี้เป็นอันตรายต่อกระบวนการยุติธรรม ถ้ากฏหมายไม่เป็นกฏหมาย ความศักดิ์สิทธิของกฏหมายตกอยู่ในความรู้สึกของของมวลชน ในการกดดันผู้รักษากฏหมายให้ทำตาม ความรู้สึกของประชาชนนั้นยอมทำไม่ได้ 

ตำรวจและอัยการย่อมไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับ นายบอส ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ให้เป็นแนวทางไว้ตอนหนึ่งว่า แม้พนักงานสอบสวนจะเคยมีความเห็นว่า ไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง และควรสั่งฟ้องอีกข้อหาหนึ่ง แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวน ยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี เมื่อสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นเด็ดขาดไม่ฟ้องทุกข้อหา ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก และก็ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ด้วย ไปตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544

หากพยานที่กลับคำให้การต่อสื่อนั่น ในขณะเกิดเหตุท่านเป็นตำรวจ และในขณะกลับคำให้การครั้งสุดท่านเป็นผู้แทนราษฎร์ หากเห็นตำรวจและอัยการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำไม่ถึงไม่ดำเนินคดีผู้เกี่ยวขีองต่อศาล เพื่อเอาผลคำพิพากษามารื้อฟื้นคดีใหม่ ที่ท่านให้สัมภาษต่อสื่อมวลชนนั้น ต้องมีกฏหมายรองรับหากไม่มีกฏหมายรองรับก็ไม่ตัดสิทธิ ซึ่งสิทธิพลเมืองที่จะกล่าวโทษท่านได้.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0