โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ถึงเวลาหรือยัง? ยกระดับวินัยการเงินคนไทย ดัน “ค่ามือถือ-ค่าน้ำ-ค่าไฟ-เงินกู้ กยศ.” เข้าเครดิตบูโร

Manager Online

เผยแพร่ 15 ส.ค. 2563 เวลา 12.51 น. • MGR Online

ยกระดับวินัยทางการเงินของคนไทย ดัน กสทช. ส่งข้อมูลคนเบี้ยวค่ามือถือ เชื่อมเครดิตบูโร รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ และข้อมูลกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรส่งผลพิจารณาเครดิตลูกหนี้

เครดิตบูโร หรือ รายงานข้อมูลเครดิต เปรียบเสมือน “ถังข้อมูลพฤติกรรมหนี้” ที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย และอีกนัยหนึ่งก็ยังเป็น “สัญญาณเตือนภัยเศรษฐกิจ”…หากเพราะ เครดิตบูโร สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ระบบการเงิน รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอ่านสัญญาณเศรษฐกิจของสถาบันต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดความล่มสลายได้อีกด้วย ในขณะที่วงการโทรคมนาคม ก็ประสบปัญหาการเบี้ยวหนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งพฤติกรรมหนี้ แบบตั้งใจไม่จ่ายนั้น สะสมมากขึ้นทุกปี ปีละหลายพันล้านบาท สร้างความเสียหายให้ระบบเศรษฐกิจ และสะท้อนถึงเครดิตส่วนบุคคล ที่ถึงยุคเชื่อมโยงข้อมูลกับเครดิตบูโร ดังนั้น หากคุณคิดจะทำบัตรเครดิต ซื้อบ้าน ออกรถ ขอสินเชื่อ ทำบัตรกดเงินสด ซื้อมือถือแบบผ่อนชำระ เบี้ยวค่าน้ำ ค่าไฟ ข้อมูลจะเชื่อมโยงกันหมด

ทั้งนี้ถือเป็นการเข้าสู่ยุคบิ๊กดาต้า ที่ข้อมูลเชื่อมโยงกันทั้งหมด โดยผลักดันการตั้งบริษัทกลาง ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลาย ๆ แห่งที่มีสมาชิก โดยนำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมของเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิต ก็จะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต เพื่อยกระดับความมีวินัยทางการเงินของคนไทย ทั้งนี้ในอดีต เครดิตบูโรไม่มีการจัดเก็บข้อมูลการชำระ หรือค้างชำระเกี่ยวกับสาธารณูปโภคทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทรศัพท์ รายการบัญชีเงินฝาก ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือข้อมูลทรัพย์สินเงินฝากแต่อย่างใด เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ดำเนินการจัดเก็บ ใครฝ่าฝืนจะมีโทษในทางอาญา และปัจจุบันยังไม่มีการนำส่งข้อมูลจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิตอีกด้วย ทำให้คนใช้ช่องโหว่นี้ในการเบี้ยวหนี้ ทำให้เกิดหนี้เสียมหาศาลในแต่ละปี จะเห็นได้จากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่คนไทยมักคิดว่า ไม่จ่าย ก็ไม่เป็นไร จึงเกิดคำถามว่า หากไม่เชื่อมโยงข้อมูลเครดิตบูโร คนเบี้ยวหนี้เหล่านี้ ยังสมควรไปสร้างหนี้ใหม่ แล้วไม่จ่ายอีกหรือไม่ ดังนั้น การเชื่อมโยงข้อมูลเครดิตของลูกหนี้ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะทำให้เห็นพฤติกรรมหากใช้การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ทำให้เห็นประวัติและพฤติกรรมอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ปัจจุบัน กยศ.ระบุว่ามีนักเรียนเบี้ยวหนี้กว่า 2.2 ล้านราย มูลค่ากว่า 7.4 หมื่นล้านบาท

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่าสาเหตุที่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนจบแล้วแต่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ ไม่ยอมจ่ายหนี้คืน กยศ.แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

กลุ่มที่ 1นักเรียนนักศึกษาที่ยากจนจริงๆ เมื่อจบการศึกษาไปแล้วยังไม่มีงานทำ หรือ ไปทำงานอยู่ในภาคเกษตรแต่อาจประสบปัญหาสภาพคล่องด้านเงินทุนและเป็นหนี้ภาคเกษตรจึงไม่อาจชำระหนี้ได้ นักเรียนนักศึกษาประเภทนี้จำนวนน้อยมากๆ

กลุ่มที่ 2 "ขาดจิตสำนึก" แม้มีงานทำและมีรายได้แต่ไม่ยอมจ่ายหนี้คืน กยศ.

และ กลุ่มที่ 3 "ขาดวินัยการเงิน" หลังจากเรียนจบและมีงานทำแล้ว แต่ไม่ยอมใช้หนี้คืน กยศ. เพราะขาดวินัยทางการเงิน

ดังนั้น หากมีการเชื่อมโยงข้อมูลจะทำให้ลูกหนี้ มีการพิจารณาการสร้างหนี้อย่างรอบคอบ และลดปัญหาหนี้เสีย ให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมที่ดีในอนาคตอีกด้วย

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0