โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คดีบอส ทำพิษ สนั่นทุ่งปทุมวัน “บิ๊กแป๊ะ” โดดคุมงานกฎหมาย ดูการสั่งคดีเอง

ไทยรัฐออนไลน์ - อาชญากรรม

อัพเดต 14 ส.ค. 2563 เวลา 00.18 น. • เผยแพร่ 13 ส.ค. 2563 เวลา 17.53 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ออกคำสั่งดึงงานกฎหมายและคดี มาดูแลเอง โดยเฉพาะการสั่งคดี ทำความเห็นแย้งพนักงานอัยการ หลังเกิดปัญหาคดี “บอส อยู่วิทยา”

ประชาชนทั้งประเทศและตำรวจชั้นผู้น้อยยังคงจับตาว่าคดีจะจบอย่างไร หลังอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ขับรถสปอร์ตเฟอร์รารี่ ชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เสียชีวิตบนถนนสุขุมวิท เมื่อเช้ามืดวันที่ 3 ก.ย.2555 ตำรวจหลายหน่วยที่เกี่ยวข้องไม่ว่าท้องที่หรือ ตม.ต่างถอนหมายจับรวมทั้งประสานตำรวจสากล ถอนหมายแดง “อินเตอร์โพล” เป็นเหตุให้นายวรยุทธที่หลบหนีอยู่นอกประเทศพ้นผิด สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้แบบไร้มลทิน

เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2563 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. กล่าวว่า เนื่องจากงานกฎหมายและคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเห็นแย้งในคดีอาญาเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม และมีความสำคัญส่งผลต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ซึ่งต้องควบคุม กำกับดูแล และติดตามผลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ดังนั้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. จึงได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 416/2563 ลงวันที่ 13 ส.ค. โดย ผบ.ตร.เป็นผู้กำกับดูแลการบริหารราชการในงานกฎหมายและคดีด้วยตนเอง โดยมีผู้ช่วย ผบ.ตร. อีก 5 ท่าน ช่วยกำกับดูแล ทั้งนี้สำหรับงานที่มีความสำคัญหรือประชาชนและสังคมให้ความสนใจ ให้ผู้ช่วย ผบ.ตร. เสนอให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาสั่งการ

นอกจากนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยังได้มีหนังสือกำชับการสอบสวนและการทำความเห็นในคดีอาญาไปยังทุกหน่วยทั่วประเทศ ให้ ผบช.ภ.1-9 ควบคุม ตรวจสอบ ติดตาม กำกับดูแล รวมทั้งสนับสนุน ให้ทำปรึกษาการทำความเห็นชอบหรือความเห็นแย้งในคดีอาญาในอำนาจหน้าที่ของผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ หรือหากเห็นว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญหรือได้รับความสนใจจากประชาชนในวงกว้าง ผบช.ภ.อาจพิจารณามีความเห็นทางคดีด้วยตนเองตามที่เห็นสมควร

“นอกจากนั้น ในกรณีการมอบอำนาจให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่า ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่แนะนำกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และในกรณีที่เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจปฏิบัติราชการในเรื่องใดไม่สมควร ให้มีอำนาจแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจนั้นได้ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 40 และตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 74” โฆษกกล่าว

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0