โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรมชลฯ เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตรียมรับมืออิทธิพลจากพายุ 'มังคุด'

JS100 - Post&Share

เผยแพร่ 16 ก.ย 2561 เวลา 05.30 น. • JS100:จส.100
กรมชลฯ เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตรียมรับมืออิทธิพลจากพายุ 'มังคุด'
กรมชลฯ เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตรียมรับมืออิทธิพลจากพายุ 'มังคุด'

     กรมชลประทานเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักและน้ำไหลเข้าเขื่อนเป็นปริมาณมาก เร่งพร่องน้ำรองรับฝนจากอิทธิพลของพายุมังคุด ที่จะทำให้ฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ 16 - 18 กันยายนนี้      ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุบารีจัตและพายุมังคุด ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ ส่งผลให้มีปริมาณไหลลงสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา วันละประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างฯเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 507 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม

     ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักชลประทานที่ 10 บริหารจัดการน้ำ โดยเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นขั้นบันไดจากเวลา 12.00 น. ของวานนี้ (15 กันยายน) ระบาย 420 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้วปรับเพิ่มขึ้นเป็น 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนเวลา 06.00 น.ของวันนี้(16 กันยายน) ระบายอยู่ที่ 451 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดระดับน้ำหน้าเขื่อนป่าสักฯ ให้มีพื้นที่รองรับน้ำจากฝนที่จะตกลงมาต่อเนื่องตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ยังจะมีฝนชุกต่อเนื่องระหว่างวันที่ 16-18 กันยายนนี้จากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งจะเคลื่อนที่สู่จีนตอนใต้ค่ำวันนี้

     อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะไหลมายังเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้บริหารจัดการโดยรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ 51.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แล้วระบายผ่านเขื่อนพระรามหก 490 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนพระราม6 โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอท่าเรือ

     ดร.ทองเปลวฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะมีฝนตกลงมาเพิ่ม แต่กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในเขื่อน โดยได้วางมาตรการรับน้ำเข้าระบบรับน้ำและระบายน้ำของชลประทาน จากนั้นจะใช้เขื่อนพระราม 6 เป็นเครื่องมือหน่วงน้ำ ซึ่งจะควบคุมอัตราการระบายไม่ให้เกินกว่า 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ สำนักชลประทานที่ 10 ยังรายงานว่า พื้นที่แก้มลิงรวม 290,130 ไร่ ในความรับผิดชอบของสำนักฯ  เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้ว พร้อมใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งในลุ่มน้ำป่าสักและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0