โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“หม่อมเต่า” ถก 30 บริษัทใหญ่ ขอขยายชดเชยว่างงานถึงสิ้นปี ชง ครม. 21 ก.ค.

ไทยรัฐออนไลน์ - Politics

อัพเดต 10 ก.ค. 2563 เวลา 12.59 น. • เผยแพร่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 12.55 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ก.แรงงาน เปิดเวทีรับฟังผลกระทบโควิด 30 บริษัทใหญ่ร่วมถกปัญหา เรียกร้องขยายเวลาชดเชยว่างงาน 62% ถึงสิ้นปี 63 “หม่อมเต่า” เตรียมเสนอ ครม. 21 ก.ค.

วันที่ 10 ก.ค. 2563 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังประชุมรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขผลกระทบจากโคโรนาไวรัส (โควิด-19) ระหว่างผู้บริหารกระทรวงแรงงานและผู้บริหาร บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ใน กทม. และปริมณฑล 30 แห่ง ว่า 3 เดือนที่ผ่านมา ประกันสังคมได้จ่ายชดเชยว่างงานจากโคโรนาไวรัส 62% ไปแล้วกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่มากเป็นแสนล้านแบบที่วิตกกัน ทำให้รู้ได้ว่าอีก 3 เดือนต่อจากนี้จะทำอย่างไรต่อไป จึงเชิญนายจ้างมาพูดคุยว่ายังต้องใช้ชดเชย 62% อีกหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่าต้องใช้ต่อไปอีก 3 เดือน รวมทั้งต้องประเมินสถานการณ์ไปถึง ธ.ค. จะมีคนตกงานกี่คน ต้องใช้เงินชดเชยอีกแค่ไหน โดยใช้ฐานจาก 3 เดือนที่ผ่านมา คาดว่าจะอยู่ที่จำนวนไม่เกิน 2-3 ล้านคน ซึ่งการพูดคุยกับนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าอกเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปใช้ โดยจะรวบรวมเข้าสู่การพิจารณาในระบบไตรภาคีในเรื่องของการขยายสิทธิประโยชน์ต่างๆ คาดว่าจะเสนอ ครม. ได้ในวันที่ 21 ก.ค. 2563

ทางด้าน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า นายจ้างทั้ง 30 บริษัท มีปัญหาต่างกัน บริษัทขนาดใหญ่แม้จะกระทบแต่ก็สามารถจ่ายชดเชยหยุดงานให้ลูกจ้างค่อนข้างมาก หลายแห่งจ่ายด้วยตัวเองร้อยละ 85 ทั้งที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ว่างงาน 62% จากประกันสังคมได้ แต่เพราะเห็นใจลูกจ้างจึงจ่ายในอัตราสูงกว่า โดยจ่ายมาแล้วตั้งแต่เดือน เม.ย. - มิ.ย. 2563 แต่กังวลว่าถ้าต้องจ่ายในอัตรานี้ต่อไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค. - ก.ย. จะไม่ไหว เพราะสถานการณ์อาจยืดเยื้อไปถึงสิ้นปี อาจต้องทบทวนพูดคุยกับพนักงานขอเปลี่ยนแปลงการจ่าย ขึ้นอยู่แต่ละบริษัทจะไปตกลงกันตามระบบแรงงานสัมพันธ์ โดยนายจ้างอยากให้กระทรวงแรงงานไปกำหนดมาตรฐานกลางว่าอะไรที่จะลดสภาพการจ้างลงได้บ้าง เป็นการยืดหยุ่นระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

“การพูดคุยของนายจ้างกับลูกจ้างจะเป็นกระบวนการเจรจาต่อรองภายในสถานประกอบการโดยไม่ได้ใช้กฎหมายเป็นตัวนำ นอกจากนี้ ยังได้เสนอถึงการลดการอบรมทักษะฝีมือพนักงานเพื่อรับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีของนายจ้าง ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ลดเงื่อนไขลงจากร้อยละ 50 เหลือ 10 ส่วนประกันสังคมกำหนดให้ลดเงินสมทบลงอีก ตลอดจนการจ่ายชดเชยหยุดงานจากโควิด-19 ร้อยละ 62 เป็นเวลา 90 วัน เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ปกติจะให้ขยายเวลาไม่ถึงสิ้นปี แต่ต้องไปพิจารณาดูว่าเป็นไปได้แค่ไหน เพราะเดิมกลัวว่าจะต้องใช้เงินกองทุนว่างงานจำนวนมากแต่ถึงวันนี้ยังใช้ไปไม่มากแบบที่พี่ตก จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขยายไปถึงสิ้นปี แต่ยังต้องรอให้บอร์ดประกันสังคมพิจารณา”.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0