โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โพลชี้ คนไทยส่วนใหญ่มองม็อบ 'เยาวชนปลดแอก' เป็น 'สิทธิเสรีภาพ'

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 02 ส.ค. 2563 เวลา 07.50 น. • เผยแพร่ 02 ส.ค. 2563 เวลา 08.00 น.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ม็อบเยาวชนปลดแอก ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29–31 ก.ค. 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุมของ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในอีกหลายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากปราศจากอาวุธและความรุนแรง รองลงมา ร้อยละ 26.16 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม หากไม่กระทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 18.24 ระบุว่า เป็นการชุมนุมของพลังบริสุทธิ์ของนักศึกษา ร้อยละ 17.12 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่ออนาคตของประเทศ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการ ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกและสถานการณ์ความวุ่นวายในอนาคต ร้อยละ 8.88 ระบุว่า เป็นการจัดการชุมนุมเพื่อต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม ร้อยละ 7.04 ระบุว่า เบื่อการชุมนุมบนท้องถนน ร้อยละ 6.48 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 6.08 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 5.68 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมที่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ร้อยละ 4.64 ระบุว่า เป็นแค่แฟชั่นการชุมนุม ทำตามกระแสตาม social media/ คำชักชวนของเพื่อน ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีหน่วยงานต่างประเทศอยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่มีการกระทำผิดกฎหมาย และร้อยละ 2.72 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านการเห็นด้วยของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและในอีกหลายจังหวัด พบว่า ร้อยละ 34.72 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกการชุมนุมของกลุ่มเยาวชน และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ ร้อยละ 19.28 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิของกลุ่มเยาวชนที่จะเรียกร้องความถูกต้อง และอยากให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวสถานการณ์จะเกิดความรุนแรง วุ่นวาย และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ยังไม่หมดไป 100% เกรงว่าจะกลับมาเเพร่ระบาดรอบ 2 ร้อยละ 23.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ทำให้เกิดความวุ่นวาย เหตุผลยังไม่เพียงพอในการออกมาชุมนุม และยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 อยู่ และร้อยละ 4.16 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความกังวลว่าประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนในอดีต จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า ร้อยละ 11.20 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง มากกว่าในอดีต เพราะ กลุ่มเยาวชนในปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเองมากเกินไป หัวรุนแรง และสื่อนำเสนอข่าวในเชิงการปลุกระดม ร้อยละ 16.72 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง พอ ๆ กับในอดีต เพราะ อาจมีการสร้างสถานการณ์เหมือนในอดีต ร้อยละ 29.76 ระบุว่า กังวลว่าจะมีความขัดแย้งทางการเมือง แต่คงไม่เท่าในอดีต เพราะ รูปแบบการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนมีความแตกต่างจากในอดีต และคาดว่ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ร้อยละ 16.88 ระบุว่า  ไม่ค่อยกังวล เพราะ เป็นการแสดงพลังของกลุ่มเยาวชนในการเรียกร้องให้รัฐบาลรับทราบถึงเหตุผลในการชุมนุมเท่านั้น และเป็นการชุมนุมเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ร้อยละ 23.68 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะ เป็นสิทธิในการแสดงเหตุผลของกลุ่มเยาวชน เป็นการชุมนุมอย่างสงบ และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำเนินการกับการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ควรรับฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษาด้วยตนเอง รองลงมา ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ควรยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ทันที ร้อยละ 13.68 ระบุว่า ควรรีบแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 6.56 ระบุว่า ควรอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร ร้อยละ 5.36 ระบุว่า ควรใช้กลไกรัฐสภาในการฟังปัญหาจากกลุ่มนักศึกษา ร้อยละ 4.72 ระบุว่า ควรใช้กลไกราชการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ร้อยละ 2.88 ระบุว่า ควรใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำผิด และร้อยละ 3.68 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ 

159635456759
159635456759

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0