โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ยอดผู้เสียชีวิตโคลนถล่มเหมืองหยกเมียนมา เพิ่มเป็นอย่างน้อย 162 เร่งหาผู้สูญหาย

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 03 ก.ค. 2563 เวลา 04.15 น. • เผยแพร่ 03 ก.ค. 2563 เวลา 00.50 น.

 

ความคืบหน้าโศกนาฏกรรมคลื่นโคลนถล่มเหมืองหยก ที่เมืองผะกัน  ( Hpakant )  รัฐคะฉิ่น ทางเหนือของเมียนมา หลังจากฝนตกหนักเช้าวันที่  2 ก.ค. สำนักงานดับเพลิงเมียนมา เปิดเผยว่า ทีมกู้ภัยทำงานตลอดวัน พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่าง 162  ราย ( ณ เวลา 19.45 น. วันเดียวกัน ) บาดเจ็บ 54 รายถูกนำส่งรพ. คาดว่ายอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีกจากผู้สูญหายไม่ทราบจำนวน แต่ฝนตกไม่หยุด เป็นอุปสรรคความพยายามกู้ภัยอย่างมาก 

ภาพจากเพจเฟซบุ๊กของสำนักงานดับเพลิงเมียนมา แสดงให้เห็นทีมกู้ภัยลำเลียงศพจากกองโคลน หามขึ้นที่สูงชัน ขณะที่บนเฟซบุ๊ก มีคลิปนาทีคลื่นโคลนและน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง Dashi La Seng รัฐมนตรีกิจการสังคม รัฐคะฉิ่น บอกสำนักข่าวบีบีซี ภาคภาษาพม่าว่า"คลื่นโคลนมหาศาลพร้อมกับน้ำฝันไหลทะลักเข้าท่วมเหมืองกะทันหัน เหมือนกับสึนามิ" ขณะตำรวจกล่าวว่า ชาวบ้านบางคนไม่สนใจคำเตือนที่แนะว่าไม่ควรออกไปทำงานในพื้นที่ดังกล่าวหลังฝนตกหนัก แต่ขณะเดียวกัน คำแนะนำนั้นก็อาจช่วยชีวิตคนงานไว้ได้ไม่น้อย 

หม่อง ขิ่น คนงานเหมือง วัย 38 บอกสำนักข่าวรอยเตอร์ ว่า  ผู้คนตะโกนบอกให้ "วิ่ง วิ่ง" นาทีเดียวเท่านั้น
คนทั้งหมดที่ด้านล่างของเนินเขาก็หายไปหมด ใจผมวูบโหวง คนติดอยู่ในโคลน ตะโกนขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครช่วยได้ 

ขณะเกิดเหตุ ชาวบ้านหลายร้อยกำลังคุ้ยหากองก้อนหินที่รถบรรทุกนำมาเทไว้ หวังว่าจะเจอหยกบ้าง 

 

 

เมียนมาร์เป็นแหล่งผลิตหยก 70% ของโลก และเมืองผะกัน เป็นแหล่งผลิตหยกใหญ่ที่สุดของโลก เชื่อกันว่าหยกเป็นสินค้าส่งออกทำเงินให้กับเมียนมามากที่สุด หลักหลายพันล้านดอลลาร์ โดยความต้องการส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านจีน ด้าน โกลบอล วิตเนส องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มุ่งเปิดโปงการทุจริตและการทำลายสิ่งแวดล้อม ประเมินว่าอุตสาหกรรมหยกเมียนมา มีมูลค่า 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2557 เกือบครึ่งของจีดีพีเมียนมาร์เลยทีเดียว แต่คนงานและชาวบ้านในพื้นที่กลับเสี่ยงอันตรายจากดินถล่มและอุบัติเหตุมรณะบ่อยครั้งในเหมืองอัญมณีเมียนมา ที่มักตั้งอยู่ในป่าทึบและห่างไกล และจำนวนมากเป็นเหมืองที่ไม่มีการกำกับดูแล คนงานเก็บหินหยกทำงานในสภาพอันตราย ปีนขึ้นลงเนินเขาลาดชันเสี่ยงพลาดจากสภาพดินตลอดเวลา ไม่รวมภัยธรรมชาติ 

ปีที่แล้ว คนงาน 50 ชีวิตถูกฝังทั้งเป็นใต้ดินถล่มที่เหมืองหยกในเมืองเดียวกัน ก่อนหน้านั้นในปี 2558 ภูเขากากแร่จากเหมืองหยกพังถล่มใส่บ้านพักคนงานที่กำลังนอนหลับ เสียชีวิตอย่างน้อย 113 ราย 

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0