โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เนื้อหมูแพงลิ่ว แตะ 180/กก. เหตุหมูไทยเนื้อหอมเพื่อนบ้านจอง ส.สุกร แนะกินอย่างอื่น

PPTV HD 36

อัพเดต 16 ก.ค. 2563 เวลา 11.39 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563 เวลา 11.20 น.
เนื้อหมูแพงลิ่ว แตะ 180/กก. เหตุหมูไทยเนื้อหอมเพื่อนบ้านจอง ส.สุกร แนะกินอย่างอื่น
พีพีทีวีสำรวจตลาดในกรุงเทพฯ หลังรับข้อมูลจากประชาชน ว่า ราคาเนื้อหมูสดในตลาดพุ่งสูง “เนื้อหมู” ราคาพุ่ง!! กก. 170-175 บาท

จับตาทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ “ ปรีดี – ไพรินทร์ ”

วัยรุ่นมองโกเลียเสียชีวิตจากกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หลังกินกระรอกมาร์มอต

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2563 ประชาชนเดินทางมาซื้อเนื้อหมู เพื่อนำไปประกอบอาหารที่ตลาดสดห้วยขวาง พบว่าราคาเนื้อหมูแพงขึ้น  หมูเนื้อแดงสูงสุดราคากิโลกรัมละ​ 170 บาท ขณะที่เนื้อสันราคาสูงสุดที่ 180 บาท โดย กระทรวงพาณิชย์​ ระบุราคาหมูเนื้อ​ ณ​ วันที่​ 16​ กรกฎาคม​ 63​ เนื้อหมู​ เนื้อแดงตัดแต่ง​  กิโลกรมละ​  165-170บาท​  เนื้อสันกิโลกรัมละ​ 170-175 บาท​ เช่นเดียวกับหมู​สามชั้น​ กิโลกรัมละ​ 170-175​ บาท เช่นกัน

ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน​ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ราคาขายปลีก​ หมูเนื้อแดง​ ในเดือนกรกฎาคม ​62 กิโลกรัมละ​ 140.75บาท​ ขณะที่ในเดือนมิถุนายน63​ ที่ผ่านมา​ ราคากิโลกรัมละ​ 142.02 บาท​ ขณะที่เข้าเดือนกรกฎาคม​63​ ในระหว่างวันที่​ 6-10 กรกฎาคม.ที่ผ่านมา​ ราคาอยู่ที่ ​150-155 บาท​ และขยับราคาขึ้นในสัปดาห์นี้​  สูงถึงกิโลกรัมละ​ 160 บาท​ และกระทรวงพาณิชย์รายงานราคาสูงสุดที่ กิโลกรัมละ​ 170 บาท สำหรับหมูเนื้อแดง

ขณะที่ ผู้ค้าเนื้อหมูรายหนึ่ง บอกว่า ราคาเนื้อหมูสูงขึ้นในรอบหลายปี ทำให้ผู้บริโภคลดปริมาณการซื้อน้อยลง ร้านของตนต้องลดปริมาณเนื้อหมูที่นำมาขายในแต่ละวัน ผู้ค้ารายนี้ บอกอีกว่า ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ อาทิ เนื้อหมูสามชั้น สัปดาห์ที่แล้ว ขายกิโลกรัมละ 169 บาท ปรับราคาเป็น 176 บาท คอหมูจากราคา 218 บาท ปรับราคาเป็น 222 บาท

ทั้งนี้ ผู้ค้ารายเดิม เผยว่า ตั้งแต่สัปดาห์นี้ถึงสิ้นเดือน ทางโรงงานมีแผนปรับลดปริมาณหมู จากเดิม 300 ตัว เป็น 200 ตัว ซึ่งจะทำให้ร้านของตนและร้านอื่น ๆ มีเนื้อหมูที่นำมาจำหน่ายลดลงด้วย

กรมการค้าภายใน ระบุสถานการณ์ว่า ​ราคาสุกร หรือหมูชำแหละ​ หมูเนื้อแดง​ราคาสูงขึ้น​ เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น​ อีกทั้งโรงเรียนเปิดภาคเรียน​ ผู้ประกอบการร้านอาหารดำเนินกิจการได้ตามปกติ​ รวมทั้งการจ้างงานเพิ่มขึ้น​ ส่งผลให้ภาวะการค้าคล่องตัวระดับหนึ่ง​ ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการสุกรมีชีวิตสูง​ ส่งผลให้ส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อตรวจสอบร้านอาหารที่มีเนื้อหมูเป็นวัตถุดิบหลัก​ หลายร้านแสดงความคิดเห็นถึงกรณีนี้​ บางร้านประกาศขึ้นราคา​เมนูหมู​ แต่บางร้านยังคงกัดฟันสู้ราคาขายในราคาเดิม​

 

ร้านหมูทอดBun Bun ย่านรามคำแหง​ ประกาศยังราคาเดิม

"เจ็บแต่ยังไม่จบ

 #สู้ก่อน #ยังไม่ปรับนะจ้ะ

ลูกค้าช่วยด้วยจ้าาาาา"

 

 

ขณะที่ร้านหมูทอดดัง​ "หมูทอดเจ๊จง" ประกาศปรับขึ้นราคา

"ต้องขออภัยลูกค้าทุกท่าน ที่ต้องแจ้งปรับราคาเนื่องจากราคาหมูตอนนี้สูงมาก แต่สินค้าอื่นๆยังคงราคาเดิม ขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่ไว้

วางใจ เลือกหมูทอดเจ๊จง ช่วยเติมเต็มความหิว

ขอบคุณค่ะ"

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาสุกรหน้าฟาร์มอยู่ที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับราคาที่เกษตรกรทั่วประเทศยืนหยัดให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน ดูแลราคาหน้าฟาร์มไม่เกิน 80 บาท ทำให้ราคาขายหมูหน้าเขียงไม่เกิน 160 บาทต่อกิโลกรัม เป็นการดูแลค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยราคาเป็นไปตามกลไกตลาด จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เหมือนกับทุกประเทศในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตามราคาหมูไทยยังคงถูกที่สุดในภูมิภาคนี้ ที่สำคัญเกษตรกรวอนขอความเห็นใจ เพราะมีอาชีพเดียวไม่สามารถเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นได้ ขณะที่ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับประทานโปรตีนอื่น ๆ ทดแทนได้ ทั้งไก่ ไข่ ปลา รวมถึงอาหารธรรมชาติที่ออกมามากในช่วงนี้ 

“การปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ หลังจากหลายกิจการเริ่มกลับมาดำเนินการ ประกอบกับโรงเรียนเปิดภาคเรียน แต่เกษตรกรยังคงราคา 78-79 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้เกษตรกรพออยู่ได้ โดยเพิ่งจะขายได้ราคานี้ หลังจากแบกรับภาระขาดทุนสะสมมาถึง 3 ปี จากภาวะหมูล้นตลาดและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น เกษตรกรยืนราคานี้ไว้ไม่กระทบกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคจนเกินไป ยืนยันว่าปริมาณหมูมีเพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ผู้บริโภคไม่ต้องกังวล การปรับราคานี้สะท้อนกลไกตลาดที่แท้จริง นับว่าเป็นราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ สมาคมฯได้ผนึกกำลังกับสมาชิก จัดกิจกรรมจำหน่ายหมูสดลดค่าครองชีพประชาชนทั่วไทย ส่งตรงจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นำร่องที่จังหวัดชลบุรีก่อนเป็นที่แรก ในวันที่ 21 กรกฎาคม และขายพร้อมกันทุกภูมิภาค วันที่ 7 สิงหาคม” นายสุรชัยกล่าว 

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีความวิตกกังวลเรื่องโรค ASF ในสุกร ที่ระบาดในหลายประเทศ เกษตรกรทุกคนต่างเข้าเลี้ยงสุกรอย่างระมัดระวัง พบว่าสุกรในระบบของไทยหายไปกว่า 20% จากเดิมในปี 2562 ไทยที่มีสุกรในระบบประมาณ 20,000,000 ตัว ที่สำคัญเกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น จากการเฝ้าระวังและป้องกัน ASF อย่างเข้มงวด ทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึงตัวละ 100 บาท แต่ทุกคนยินดีดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้มาทำลายอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร และเกษตรกรผู้เพาะปลูกในห่วงโซ่การผลิต ทั้งยังเป็นการปกป้องผู้บริโภคไม่ให้ต้องได้รับความเดือดร้อนเหมือนกับประเทศอื่นในภูมิภาค

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0