โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เทียบ “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” กับ กฎหมาย “คู่สมรส” ต่างกันอย่างไร เช็กได้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 09 ก.ค. 2563 เวลา 04.55 น. • เผยแพร่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 18.00 น. • Thansettakij

ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปหมาดๆเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2563 ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี แต่ก็มีความเห็นจากหลายฝ่ายที่ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส ยังมีสาระสำคัญที่ เหมือน และ แตกต่าง กันอยู่อีกหลายเรื่อง

สำหรับเรื่องนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ระบุถึงเรื่องนี้ว่า จากกรณีที่โลกโซเชียลทักท้วงว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. … ยังถือว่าไม่เท่าเทียมเพียงพอนั้นก็ลองแสดงความคิดเห็นกันมา ไม่เป็นอะไรซึ่งเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมร่างกฎหมายขึ้นมาหลายปี และรับฟังความคิดเห็นมาหลายครั้งแล้ว สามารถเสนอแนะมาได้โดยส่งไปที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด "ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต" สาระคัญ 4 หมวด ที่ควรรู้ 

#สมรสเท่าเทียม กระหึ่มโซเชียล ก่อนดัน "พ.ร.บ. การรับรองเพศ" เข้าสภา

ถล่มยับ "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ไม่ตอบโจทย์ "สมรสเท่าเทียม"

จากนั้นนำเข้าไปปรับแก้ไขในสภาฯเพราะเรายังไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และมาตรฐานก็มีอยู่หลายประเทศ หนักเบามากน้อยอาจจะแตกต่างกัน

“ผมไม่ทราบว่ามีประเด็นอะไรที่ไม่เท่าเทียมกันแต่เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ตนเองนั้นได้ทักท้วงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ให้กระทรวงการคลังไปดูเรื่อง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำเหน็จบำนาญว่า หากเป็นคู่ชีวิตของเดิมจะตกแก่คู่สมรส หรือ ถ้ายังเขียนอย่างนั้นอยู่แล้วเราไม่แก้ คู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่จะยังไม่ได้บำนาญ ซึ่งทางกระทรวงการคลังรับว่า จะไปแก้ไขในส่วนนี้ และอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายอีกฉบับหนึ่ง”

พาไปเปิดดูรายละเอียดของเรื่องนี้เมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่า"ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต" กับ "กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส" นั้น มีหลักการ 6 ประการที่ “เหมือนกัน” ดังนี้

1.ไม่ว่าจะเป็นชายและหญิง หรือ หญิงและหญิง หรือ ชายและชาย ต่างมีสิทธิหมั้นและสมรสกันได้

2.การหมั้นหมายหากมีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง

3.มีข้อห้ามในการจดทะเบียน คือ ห้ามสมรสซ้อน ห้ามสมรสกับบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และห้ามสมรสกับญาติตามสายโลหิต

4.การจัดการสินสมรสนั้นบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

5.รับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

6.รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  

ส่วนหลักการที่ยัง “แตกต่าง” กัน มี 4 ประการ คือ

1.สำหรับชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสกันได้กรณีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยามจากพ่อแม่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้บุคคลทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะหญิง-หญิง หรือ ชาย-ชาย มีอายุ 18 ปีแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน

2.การมอบของหมั้น สำหรับคู่สมรสชายหญิง กำหนดให้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่าย “ผู้หมั้น” มอบให้แก่ “ผู้รับหมั้น” หรือ สามารถแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้

3.การมอบสินสอดให้ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง ใน ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือ สามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้

4.การเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐได้ตามกฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส และ สามี-ภริยา ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตนั้น กำหนดให้ได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส เช่น สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ การรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม   

ข้อมูลiLaw

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0