โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รับวิกฤตตกงานระลอกสอง

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 10 ก.ค. 2563 เวลา 04.03 น. • เผยแพร่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 09.05 น.
IMG_20200708131139000000

บทบรรณาธิการ

สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศดีขึ้นตามลำดับ ทำให้ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน คลายความวิตกกังวลลงมาก แม้หลายประเทศทั่วโลกการแพร่ระบาดยังรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง

ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มว่าจะหดตัวลงกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ เศรษฐกิจไทยซึ่งพึ่งพารายได้หลักจากการส่งออก และการท่องเที่ยวสองเซ็กเตอร์ที่สำคัญที่นำเงินตราเข้าประเทศสูงสุดช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

เท่ากับเจอแจ็กพอตสองต่อ นอกจากสูญเสียโอกาสและรายได้แล้ว ประชากรแรงงานในภาคท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมากยังขาดรายได้จากการถูกเลิกจ้าง ลดเวลาทำงาน

สัญญาณอันตรายภาพรวมเศรษฐกิจโลกทรุดตัวดิ่งลงกว่าที่คาด ย้ำเตือนให้ภาครัฐและเอกชนไทยต้องหาทางตั้งรับ เพราะหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะงัก เศรษฐกิจ ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่คงหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ยาก

ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารโลก ประจำประเทศไทยประเมินว่า โควิด-19 ที่ยังกระทบเศรษฐกิจต่อเนื่องจะส่งผลให้เกิดการเลิกจ้าง ลดคน ทำให้พนักงาน ลูกจ้างว่างงานเพิ่มอีก 8.3 ล้านคน ใกล้เคียงกับตัวเลขของกระทรวงแรงงานที่ห่วงว่าช่วงครึ่งปีหลังจะมีคนตกงานระลอกสองอีก 7-8 ล้านคน

หากเป็นจริงจะซ้ำเติมปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ถ่างความเหลื่อมล้ำให้วิกฤตรุนแรงขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ห่วงว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่ยืดเยื้อ จะฉุดการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวกว่าที่ประเมินไว้

ส่วนหนึ่งมาจากผลพวงจากโควิดที่ทำให้ทั่วโลกรวมทั้งไทยต้องออกมาตรการคุมเข้มป้องกันความเสี่ยง กระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้า ทำให้การจ้างงาน รายได้ภาคแรงงานมีแนวโน้มลดลง แม้เริ่มเห็นสัญญาณบวกหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์ ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ธุรกิจกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศยังมีสูง

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องตั้งการ์ดรับ เร่งสร้างอาชีพ รายได้ให้กลุ่มคนที่เดือดร้อน พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานที่มีปัญหาทั้งในระบบ และนอกระบบประกันสังคม

ขณะเดียวกันต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจพลิกจากที่ติดลบให้กลับมาเติบโตขยายตัว ธุรกิจ การค้า การลงทุนสามารถเดินหน้า เพิ่มการจ้างงาน นำมาซึ่งรายได้และการจับจ่าย วิกฤตถึงจะคลี่คลาย ทำให้เศรษฐกิจ สังคมไทยมีแรงขับเคลื่อนก้าวต่อได้

"สึนามิว่างงาน" รอซัดเอเชีย

สึนามิว่างงานรอซัดเอเชีย .✔ อัตราการว่างงานในหลายประเทศของเอเชียอยู่ในระดับไม่สูงมากนักในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าที่ผ่านมา.✔ เนื่องจากหลายประเทศในเอเชียสามารถรับมือกับสถานการณ์ไวรัสได้เป็นอย่างดี ทำให้ภาคธุรกิจจำนวนมากสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ และเลิกจ้างพนักงานไม่มากนัก.✔ ขณะเดียวกัน กฎหมายคุ้มครองการจ้างงานของหลายประเทศในเอเชียก็มีขั้นตอนดำเนินการค่อนข้างมาก รวมถึงภาระของบริษัทที่ต้องชดเชยให้กับพนักงานในกรณีที่ต้องการเลิกจ้าง .✔ ทำให้ช่วงโควิด-19 หลายบริษัทเลือกการรักษาพนักงานไว้ และใช้วิธีการลดเวลาทำงานและลดค่าจ้างแทนที่จะเลิกจ้าง .✔ แต่หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน อย่างการแพร่ระบาดของไวรัสระลอกใหม่ หรือความไม่แน่นอนจากระยะเวลาในการฟื้นตัวของภาคบริการและการส่งออก อาจทำให้ภาคธุรกิจไม่มีความสามารถพยุงกิจการต่อไปได้.✔ กิจการห้างร้านต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเลือกระหว่าง “ปลดพนักงาน” หรือ “ล้มละลาย” ซึ่งทั้งสองทางเลือกล้วนไม่เป็นผลดีต่อตลาดแรงงาน และเมื่อถึงเวลานั้นจะเกิดสภาวะ “สึนามิการว่างงาน”.✔ อ่านข่าว สัญญาณอันตรายเอเชีย ‘สึนามิว่างงาน’ รอปะทุhttps://www.prachachat.net/world-news/news-486495

โพสต์โดย Prachachat – ประชาชาติ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2020

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0