โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบบอลลูน ทำง่ายๆ ใช้ต้นทุนต่ำ

รักบ้านเกิด

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 07.22 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 07.22 น. • รักบ้านเกิด.คอม

เป็นที่ทราบกันดีว่า มูลสัตว์ และ ขยะเปียก ไม่ได้เป็นสิ่งของหรือวัตถุดิบที่ไร้ค่าหมดประโยชน์อีกต่อไปแล้ว เพราะนอกจากจะนำวตถุดิบเหล่านี้กลับมาหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นดีมีคุณภาพสูงเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้แล้ว ยังสามารถนำกลับมาหมักใช้เป็น ก๊าซชีวภาพ สำหรับการหุงต้ม(แทนLPG)ใช้ในครัวเรือนได้อีกด้วย เป็นการช่วยกำจัดขยะของเสีย ประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และ สามารถเพิ่มรายได้ไปพร้อมๆ กันเสียอีก

Plant/6362_1.jpg
Plant/6362_1.jpg

ผู้ใหญ่สุภีร์ ดาหาร เกษตรกรหัวห้าวหน้า ที่เริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเพาะเห็ดเป็นหลัก ครบทั้งกระบวนการตั้งแต่การเปิดดอกเห็ดไปจนถึงการทำก้อนเชื้อเห็ดขาย โดยจะมีเห็ดนานาชนิดทั้งเห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า นางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และ อื่นๆ นอกจากนั้นแล้วยังแบ่งพื้นที่ภายใน 5 ไร่ ทำเป็นไร่นาสวนผสมผสมปลูกชะอม มะม่วง มะละกอ เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และ เลี้ยงกบ ในบ่อซีเมนต์ เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี

 

ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร โดยการสนับสนุนของ กศน.ตำบลท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น สำหรับใช้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานอยู่ตลอด จนเกิดเป็นฐานการเรียนรู้มากมาย หนึ่งในนั้นมี บ่อก๊าซชีวภาพ แบบบอลลูน ที่สร้างขึ้นมาใช้งานจริงเพื่อการลดต้นทุน และใช้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจด้วย

 

ผู้ใหญ่สุภีร์ เล่าให้ฟังว่า ในการจัดการศึกษาอบรมนี้ จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดแทบไม่ว่างเว้น มีผู้สนใจเข้ามาศึกษากันอยู่เป็นจำนวนมาก และใช้เวลาอยู่ทีศูนย์แห่งนี้ตลอดวัน จึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมประกอบอาหารเกิดขึ้น ซึ่งในแต่ละเดือนจำเป็นต้องใช้แก๊สหุงต้มในกิจกรรมนี้อย่างน้อยเดือนละ 1 ถัง และนอกจากนั้นยังต้องการนแก๊สหุงต้มไปใช้ในการอบฆ่าเชื้อก้อนเห็ดอีกด้วย เดือนละประมาณ 7-8 ถัง สรุปในแต่ละเดือนจะต้องใช้แก๊สหุวต้มราวๆ 8-9 ถังต่อเดือน คิดเป็นเงินคร่าวๆ กว่า 2,700 - 3,000 บาทต่อเดือนทีเดียว

 

"จากปัญหาดังกล่าว ผมจึงเริ่มคิดต้นทุนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพหรือก๊าซหุงต้ม ขึ้นมาใช้เอง โดยใช้บ่อหมักแบบบอลลูน เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย และมีราคาประหยัด คิดเป็นมูลค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแล้วก็ตกประมาณ 5,500 บาท เท่านั้น ซึ่งตัวเลขค่าใช้จ่ายนี้ในบางที่ก็อาจจะใช้ไม่เท่ากัน" ผู้ใหญ่สุภีร์ ให้ข้อมูล

Plant/6362_2.jpg
Plant/6362_2.jpg

++ การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างบ่อหมัก แบบบอลลูน ++
 

ผู้ใหญ่สุภีร์ ยังบอกด้วยว่า ในการสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพ จะใช้บ่อหมักแบบบอลลูนขนาด 2.3 ลูกบาศก์เมตร และ ความยาว 6 เมตร พร้อมมุงหลังคาด้วยซาแรนยกสูง 2 เมตร จากนั้นให้ขุดหลุมกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และ ลึก 0.5 เมตร ในพื้นที่ แล้วนำดินี่ขุดออกมาถมทับให้เป็นคันดินรอบขอบบ่อ โดยอาจจะเหลือพื้นที่ประมาณ 1 เมตร ไว้ใช้สำหรับวางท่อซีเมนต์วงกลมในด้านท้าย เสร็จแล้วนำพลาสติกสีดำที่เตรียมไว้มาวางในหลุมตามความยาวของหลุมในลักษณะแนวนอน กำหนดด้านหน้าให้เป็นช่องใส่มูลสัตว์ หรือ ขยะเปียก โดยวางท่อซีเมนต์วงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 0.5 เมตร เชื่อต่อเข้ากับท่อพีวีซีขนาด 4-5 นิ้ว ให้อยู่บนขอบบ่อและจับมัดพลาสติกต่อกับท่อพีวีซี ให้แน่นสนิท จากนั้นนำท่อซีเมนต์ วงกลมขนาดเท่ากันอีก 1 ท่อ มาวางในพื้นที่ที่เหลือไว้ในด้านท้าย โดยใช้วิธีการทำเหมือนกัน แต่วางในตำแหน่งที่ต่ำกว่าท่อด้านหน้า เพื่อใช้รองรับมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว

 

Plant/6362_3.jpg
Plant/6362_3.jpg

"เมื่อวางพลาสติกสีดำแบบบอลลูนเรียบร้อยแล้วจะสามารถสังเกตเห็นพลาสติกสีดำโผล่นูนขึ้นพ้นดินขึ้นมาประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ด้านบนของบ่อ ให้ทำการเจาะรู ใส่ท่อสายยาง ใส่ข้อต่อพีวีซี เชื่อมต่อติดกันให้แน่น เพื่อใช้ลำเลียงก๊าซหุงต้มที่ได้นำไปยังครัวเรือนหรือสถานที่ที่ต้องการใช้ ในระหว่างนี้ จะมีการปฏิบัติและการใช้งานโดยเติมมูลสัตว์ครั้งแรกประมาณ 500-1,000 กก. ผสมกับน้ำเปล่าในอัตราเท่ากัน ใส่ลงในซีเมนต์ด้านหน้า และล้างให้สะอาด ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะไหลลงสู่บ่อหมัก ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จะเกิดก๊าซสามารถนำไปใช้หุงต้มได้ หลังจากนั้นหมั่นเติมมูสัตว์หรือชขยยะเปียกทุกวันหรือวันเว้นวัน ครั้งละ 10-20 กก. โดยผามกับน้ำเปล่าในอัตราเท่ากัน" ผู้ใหญ่สุภีร์ กล่าว

 

สำหรับการนำก๊าซหุงต้ม จากบ่อหมักมาใช้ หากใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละวันจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างเพียงพอ หรือว่าอาจจะเหลือ อีกด้วยซ้ำไป โดยส่วนเหลือใช้จะนำมาประยุกต์ใช้ในการนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเชื้อเห็ดด้วย วึ่งปกติในการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดจะใช้เวลาประมาณ 3 ชม. โดยชั่วโมงแรกจะใช้ก๊าซหุงต้มจากถังที่ใช้กันทั่วๆ ไปก่อย เนื่องจากต้องใช้กำลังไฟค่อนข้างสูง แต่หลังจากอุณหภูมิได้ที่แล้วประมาณ 90-100 องศาเซลเซียส จึงปรับเปบี่ยนมาใช้ก๊าซชีวภาพจากบ่อหมักนี้แทน ซึ่งถ้าคิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนแล้ว จะทำการใช้แก๊สหุงต้มจากถังเหลือเพียง 3-5 ถังต่อเดือน ช่วยประหยัดเงินไปได้ ถึง 1,200 ? 1,800 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

 

สำหรับท่านใดที่สนใจหรือมีข้อสงสัยสามารถติดต่อไปได้ที่ผู้ใหญ่สุภีร์ ดาหาร บ้านเลขที่ 175 หมู่ 19 ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทร.081-975-2612

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0