โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ธุรกิจ Food Delivery เตรียมจัดส่งอาหารแบบไร้ขยะพลาสติก หลังโควิด-19 คลี่คลาย

BLT BANGKOK

เผยแพร่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 04.13 น. • BLT Bangkok
ธุรกิจ Food Delivery เตรียมจัดส่งอาหารแบบไร้ขยะพลาสติก หลังโควิด-19 คลี่คลาย

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกลุ่มธุรกิจFood Delivery ลดขยะพลาสติกจากบริการรับ-ส่งอาหาร หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

เตรียมจัดทำมาตรการจัดการขยะพลาสติกจากFood Delivery ในระยะเร่งด่วน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมาย กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) ให้จัดทำ(ร่าง) มาตรการการจัดการขยะพลาสติกจากการใช้บริการส่งอาหาร(Food Delivery) ในระยะเร่งด่วนเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติ และเมื่อรัฐบาลได้ประกาศการเตรียมการผ่อนคลายมาตรการระยะ5 ตั้งแต่1 กรกฎาคม2563 เนื่องจากการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกจำเป็นต้องมีการเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามโรดแมพการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573

คพ. ดึงFood Delivery ทำMOU สร้างความต่างด้วยบริการรับ-ส่งอาหารแบบไร้ขยะ

นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า กรมควบคุมมลพิษได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มบริการส่งอาหารเพื่อหาแนวทางความร่วมมือการจัดการขยะพลาสติก จำนวน2 ครั้ง โดยเสนอให้มีการจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU) ระหว่างภาครัฐและเอกชน อาทิGrab Food, Line Man, GET Food, Food Panda, Lalamove, Pizza Hut

เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือขับเคลื่อนการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว สร้างความต่างด้วยบริการรับส่งอาหารแบบไร้ขยะ แต่ยังคงรักษาความพอใจต่อลูกค้า ด้วยการใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ให้ลูกค้าเลือกใช้บริการ โดยการเก็บค่ามัดจำกล่องอาหารที่สามารถใช้ซ้ำ โดยเงินมัดจำจะถูกคืนให้เมื่อมีการส่งคืนกล่องใส่อาหารภายในเวลาที่กำหนด หรือเลิกการคิดค่ากล่องอาหารเมื่อสั่งอาหารครบจำนวนครั้งที่กำหนด

ภาชนะบรรจุต้องมีความปลอดภัยต่อสุขอนามัย และใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

ทั้งนี้ภาชนะบรรจุอาหารที่เลือกใช้จะต้องมีความปลอดภัยต่อสุขอนามัยสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งหลังจากนั้นจะถูกนำไปรีไซเคิลซึ่งจะเป็นการลดการใช้ทรัพยากร

อย่างไรก็ตาม นายประลอง ดำรงค์ไทย กล่าวว่า การสร้างทางเลือกการใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ แม้ทางเลือกนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูกค้าอย่างทันทีทันใด หรืออาจไม่ได้ความสมบูรณ์แบบที่นำไปสู่การสร้างขยะเป็นศูนย์ แต่เป็นแนวทางหนึ่งที่จะรองรับธุรกิจบริการอาหารส่งถึงบ้าน หรือฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่จะเติบโตยิ่งขึ้นทั้งในอนาคต แต่ไม่ก่อปัญหาขยะพลาสติกและทำลายสิ่งแวดล้อม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0