โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ชวนมองฟ้า ดูดาวหาง ‘NEOWISE’ ที่กำลังโคจรใกล้โลก และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

The MATTER

อัพเดต 14 ก.ค. 2563 เวลา 07.05 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2563 เวลา 08.01 น. • Brief

หลังจากที่เดือนก่อน เราเห็นปรากฎการณ์ของสุริยุปราคากันไปแล้ว ในช่วงเดือนนี้ ก็มีปรากฏการณ์ของดวงดาว และอวกาศอีกครั้ง กับดาวหางที่กำลังจะพุ่งผ่านโลก เกิดเป็นแสงในตอนกลางคืนหรือเช้ามืด ซึ่งสามารถมองได้ด้วยตาเปล่า แม้แต่ในประเทศไทย

ดาวหางที่ถูกค้นพบใหม่นี้ ถูกขนานนามว่า ‘NEOWISE’ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ C / 2020 F3 ที่ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรดของ NASA ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และผ่านพ้นรอบวงโคจรดวงอาทิตย์ และในสัปดาห์หน้า จะเป็นเวลาที่มันไปถึงจุดที่วงโคจรอยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด ก่อนที่จะออกจากระบบสุริยะไปในเดือนสิงหาคม

นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในภารกิจกล่าวว่า นิวเคลียสของมันถูกปกคลุมด้วยวัสดุที่เป็นเขม่าสีดำ ซึ่งย้อนหลังไปถึงที่มาของระบบสุริยะของเราเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน และจะใช้เวลาประมาณ 7,000 ปี ก่อนที่ดาวหางจะกลับมาอีกครั้ง ดังนั้น โจ มาซิเอโอ รองหัวหน้านักสำรวจกล้องโทรทรรศน์อวกาศของ NASA จึงแนะนำว่าเป็นโอกาสที่ควรดู และไม่ควรรออีกต่อไป ทั้งเขายังเสริมว่า มันเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 สำหรับนักดูดาวในซีกโลกเหนือด้วย

บ็อบ เบนเคลน นักบินอวกาศ ในภารกิจส่งมนุษย์อวกาศของ NASA และ SpaceX ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ ก็ได้แชร์ว่า เขาได้เห็นดาวหางนี้แล้วจากนอกโลก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา เขาได้ถ่ายรูปดาวหางนี้ และทวีตลงทวิตเตอร์ รวมถึงนักบินอวกาศของรัสเซีย อีวาน แวกเนอร์ ซึ่งก็ได้โพสภาพของดาวหางนี้เช่นกัน

ขณะที่พวกเราที่อยู่บนโลกเอง NASA ก็บอกว่า เราสามารถเห็นดาวหางบนเส้นของฟ้าได้ โดยจะมองเห็นได้ทั่วซีกโลกเหนือจนถึงกลางเดือนสิงหาคม ส่วนในประเทศไทยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ออกมาระบุว่า เราจะสังเกตได้ในวันที่ 1 - 16 กรกฎาคม ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และหลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม จะเห็นได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดในการสังเกตการณ์คือ 20-23 กรกฎาคมนี้

อ้างอิงจาก

https://time.com/5865725/comet-neowise/

https://edition.cnn.com/2020/07/07/weather/comet-neowise-2020-scn-trnd/index.html?utm_medium=social&utm_term=link&utm_content=2020-07-11T07%3A07%3A15&utm_source=twCNN

https://www.facebook.com/NARITpage/photos/pb.148300028566953.-2207520000../3299131640150427/?type=3&theater

#Brief #TheMATTER

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0