โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"ก้าวไกล" เคียงข้าง "เกมเมอร์" จี้รัฐทบทวนออกกม.คุมเกมส์-อีสปอร์ต หวั่นลิดรอนสิทธิ-ปิดโอกาส

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 09 ก.ค. 2563 เวลา 06.42 น. • เผยแพร่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 06.42 น.
3097

วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่อาคารรัฐสภา จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.เขต4 จ.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. เขต22 พรรคก้าวไกล ธีรัจชัย พันธุมาศ ,ปริญญา ช่วยเกตุคีรีรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมออกกฎหมายเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมเกมส์ – อีสปอร์ต ว่า จากการมีข้อร้องเรียนไปยัง คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม สภาผู้แทนราษฎร ขององค์กร 85 องค์กร เพื่อให้นำไปสู่การออกกฎหมายควบคุมเกมส์และอีสปอร์ต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา

นายจิรัฏฐ์ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วยในการควบคุม เป็นการฝืนธรรมชาติ ทุกท่านทราบไหมว่า เด็กไทยสามารถสร้างความสามารถในวงการอีสปอร์ต ในเวทีระกับโลกโดยเขาสร้างมาเอง ปราศจากรัฐสนับสนุน อคติจากรัฐนั้นมองว่าเกมส์คือผู้ร้ายมาโดยตลอด แต่ที่พวกเขาประสบความสำเร็จ เพราะมองว่าเกมส์เป็นกีฬา ที่ไม่ต้องใช้เส้นสาย แต่ใช้ความสามารถเฉพาะตัว เป็นพื้นที่ที่พวกเขาได้เเสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยในวันที่ 13 ก.ค. 63 ตนจะนำบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้เเจงต่อ กมธ.สื่อสารคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และขอฝากไปยัง น.ส. กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะกรรมาธิการ ให้ทำหน้าที่ประธานอย่างเป็นกลาง ไม่ตัดตอนปิดประชุม เปิดโอกาสรับฟังด้วยความคิดเห็น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

เท่าพิภพ กล่าวว่าในฐานะที่ตนเล่นเกมส์เเละในสมัยอดีตเคยเป็นเด็กเฝ้าร้านเกมส์ ถ้าทุกคนพูดถึงอุตสาหกรรมเกมส์เบื้องต้น คือ ของที่เด็กเล่นกัน แต่หากเรามองเบื้องลึก อุตสาหกรรมเกมส์สามารถทำรายได้ 24,000 ล้านบาท ให้แก่ประเทศ โดยประกอบด้วย เกมส์เมอร์ โปรเเกรมเมอร์ นักออกแบบ หลากหลายสาขาอาชีพในด้านนี้ หากรัฐออกกฎหมายเพื่อควบคุมพวกเขาเหล่านี้ เปรียบเสมือนการตั้งด่านปิดถนน โดยถนนนี้ หากมีการตั้งด่าน คนที่โดนกระทำ คือเกมส์เมอร์ โปรเเกรมเมอร์ เป็นการตัดตอนโอกาส ตัดตอนความฝัน เเละจำกัดพื้นที่พวกเขา ที่จะสามารถสร้างรายได้อันมหาศาลให้แก่ประเทศ

“อยากขอให้รัฐบาลคิดว่า การเล่นเกมส์เป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ พัฒนาสมอง พัฒนาเกมส์ ให้เขาเกิดความสงสัยใครรู้ในการพัฒนาเกมส์ พรรคก้าวไกล เรายังมีการตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับอีสปอร์ต โดยมี นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ เป็นผู้ดูเเล เเละพรรคก้าวไกล จะเสนอ พ.ร.บ.เกี่ยวกับอีสปอร์ตและดิจิทัลเซอร์วิส เพื่อสุดท้ายจะสร้างความเท่าเทียมในโลกออนไลน์ต่อสากลมากขึ้น “ เท่าพิภพ กล่าว

ด้าน ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ กล่าวในฐานะพ่อของลูกที่ติดเกมส์ ว่า ลูกของตนติดเกมส์ แต่สามารถเรียนจบเข้ามหาวิทยาลัย ในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ อายุ18 ปี เเละต่อระดับปริญญาโท ปัจจุบันเป็นโปรเกมส์เมอร์สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยตนอยากให้รัฐมองอีกมุมว่า เราสามารถดูเเลบริหารจัดการเกมส์ได้อย่างสร้างสรรค์ เกมส์คือพื้นที่ให้เด็กได้เเสดงออกในโลกของเขา ซึ่งในความเป็นจริงเด็กทุกคนไม่สามารถเป็นฮีโร่ได้ แต่ในเกมส์ทุกเกมส์ ที่เป็นการเเข่งขันในเชิงต่อสู้ ซึ่งเด็กที่ไม่มีความสามารถ ไม่เเข็งเเรง นั้นสามารถสร้างตัวเองให้เป็นฮีโร่ได้ นี่คือสิ่งที่สามารถเป็นเวทีให้ได้เเสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยตนขอให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ซึ่งหมายความว่า เด็กที่พ่อแม่กลุ้มใจ สามารถเป็นโปรเพลย์เยอร์สร้างรายได้ให้ประเทศ สมาคมต่างๆก็จะได้รับการสนับสนุน เเละสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล สิ่งที่สำคัญ คือ ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ในการสนใจให้ความสำคัญกับบุตรหลาน เเละยกตัวอย่างกรณีที่ตนได้ไปร่วมเปิดการจัดเเข่งขันอีสปอร์ต พบว่า มีกลุ่มคนผู้พิการ เข้าร่วมในการแข่งขัน แสดงให้เห็นว่า เกมส์มีความสำคัญ และไม่ได้เเบ่งแยก มีความเท่าเท่าเทียมกับคนทุกคน” ธีรัจชัย กล่าว.

ขณะที่ ปริญญา ช่วยเกตุคีรีรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะกลุ่มผู้พิการ กล่าวว่า เกมส์ กีฬาอีสปอร์ตสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ เเละสร้างรายได้ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีข้อจำกัด ลดความเหลื่อล้ำ ของประชาชนเเละคนพิการ ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ ในการให้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้มีโอกาส ไม่ปิดกั้นต่อสังคม การกีฬาจะสร้างคน เเละคนพิการอย่างตนก็จะมี อีสปอร์ตสร้างชาติได้ ทั้งนี้ จุดยืนของเราคือ เราขอยืนอยู่ข้างเกมสิเมอร์ทุกท่าน เราไม่เห็นด้วยในการควบคุมอย่างไม่เป็นเหตุผล ขอให้รัฐบาลอย่าเร่งรีบ ด่วนสรุป โดยไม่รับฟังจากทุกฝ่าย ทั้งนี้เราได้ยื่นญัตติด่วนเพื่อให้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0