โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กินยาอย่างไรให้ไตไม่พัง? คุณหมอมีคำตอบ

THE STANDARD

อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 15.38 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 15.20 น. • thestandard.co
กินยาอย่างไรให้ไตไม่พัง? คุณหมอมีคำตอบ
กินยาอย่างไรให้ไตไม่พัง? คุณหมอมีคำตอบ

“กินเค็มมากๆ ระวังจะเป็นโรคไต” 

 

เราคงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ และกระทรวงสาธารณสุขก็เพ่งเก็บภาษีของหวาน เค็ม มันอยู่เร็วๆ นี้ แต่โรคไตที่ว่านั้นเกิดได้หลากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน ความดัน หรือจากการกินอาหารรสจัด ทั้งเค็มจัด หวานจัด หรือแม้แต่การรับประทานยาเอง โดยไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ 

 

แต่ก่อนอื่นเรามาลองเช็กตัวเองเสียก่อนว่าคุณเริ่มอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า อาทิ เหนื่อยง่าย ร่างกายบวม ปวดสีข้างด้านหลัง ปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีฟองมากผิดปกติ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคไตกันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองก่อนที่จะสายเกินแก้

 

กินยา โรคไต
กินยา โรคไต

 

จากข้อมูลของกรมการแพทย์บอกว่า โรคไตถือว่าเป็นโรคที่คนไทยเป็นกันค่อนข้างเยอะและจำนวนก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ถึง 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องมากกว่า 100,000 คน 

 

เภสัชกรหญิงแพรพิไล สรรพกิจจานนท์ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า “โรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการที่คุมโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้ ซึ่งเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตเป็นโรคที่สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนหรือจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้ง่าย และส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์” คุณหมอยังกล่าวเสริมอีกว่า “ความเชื่อที่ว่ากินยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ายาทุกชนิดที่ทานไปจะมีผลต่อการทำงานของไต”

 

นอกจากนี้ปัญหายังอยู่ที่การซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งตัวยาที่เป็นอันตรายต่อไตมากที่สุดคือ กลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ซึ่งเป็นยาที่คนไทยนิยมใช้เป็นจำนวนมาก เพราะหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาในฐานะยาลดไข้ ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน หรือยาแก้อาการปวดฟัน อาทิ แอสไพริน, ไอบูโพรเฟน, นาโปรเซน, ไดโคลฟีแนค เป็นต้น เนื่องจากยากลุ่มนี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้การทำงานของไตแย่ลง หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือรับประทานยาในกลุ่มเอ็นเสดซ้ำซ้อนก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ 

 

กินยา โรคไต
กินยา โรคไต

 

แต่ที่อันตรายกว่านั้นคือการรับประทานยาชุด ยาสมุนไพร ยาบำรุง และอาหารเสริม ที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ไม่ระบุตัวยาหรือส่วนประกอบที่ชัดเจน และอาจมีการลักลอบใส่สารที่เป็นอันตรายและเป็นพิษต่อไต ทำให้เนื้อไตอักเสบเฉียบพลันหรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

 

ความเชื่อที่ว่าสมุนไพรรักษาโรคให้หายได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทุกโรคจะรักษาหายด้วยสมุนไพร และสมาคมโรคไตฯ ก็ยังไม่มีการรับรองว่ามีสมุนไพรตัวไหนที่สามารถรักษาโรคไตให้หายได้ แล้วนอกจากนี้มีการใช้สมุนไพรคู่กันกับยาที่แพทย์สั่ง นั่นอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้อีกด้วย

 

กินยาอย่างไรไตไม่พัง

คุณหมอเผยอีกว่า เราควรใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยอย่างแรกคือลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ว่าซ้ำซ้อนกันหรือมีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ก่อนซื้อยามารับประทานเอง และไม่ควรซื้อยามารับประทานเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำ

 

ภาพ: Shutterstock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0