โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

การปรับปรุงดินเปรี้ยวสำหรับการปลูกพืชผักในเขตชลประทาน

รักบ้านเกิด

อัพเดต 15 ก.ค. 2563 เวลา 06.34 น. • เผยแพร่ 15 ก.ค. 2563 เวลา 06.34 น. • รักบ้านเกิด.คอม

พืชผักส่วนใหญ่มีระบบรากตื้น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง และมีความเป็นกรดเป็นด่างเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ฉะนั้นการใช้ดินเปรี้ยวจัดเพื่อการปลูกพืชผัก จำเป็นต้องมีการจัดการในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน และการจัดการน้ำไปพร้อมๆ กัน ควรมีวิธีการดำเนินการเป็นขั้นตอนดังนี้

Plant/676_1_539_1.jpg
Plant/676_1_539_1.jpg

1. ยกร่องสวนให้สันร่องมีความกว้างประมาณ 6-7 เมตร มีคูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึกประมาณ 80 เซนติเมตร หรือลึกพอถึงระดับชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์มาก
2. ไถพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน
3. ทำแปลงย่อยบนสันร่อง โดยยกแปลงให้สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะเมื่อรดน้ำหรือมีฝนตก
4. ใส่วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดิน คือ ใช้หินปูนฝุ่นหรือปูนมาร์ลอัตราประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ หรือประมาณ 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยการคลุกเคล้าปูนให้เข้ากับดิน แล้วทิ้งไว้ 15 วันก่อนปลูก โดยทั่วไปการใส่ปูนครั้งหนึ่งมีอายุการใช้งานของปูนประมาณ 5 ปี
5. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 5 ตันต่อไร่หรือประมาณ 3 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย มีโครงสร้างดี
6.การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อการปลูกพืชเป็นเวลานาน จะช่วยชะล้างความเป็นกรดและสารพิษอื่นๆออกจากดิน ทำให้ดินดีขึ้น ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วจะใช้วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นหินปูนฝุ่นหรือปูนมาร์ลเพียง 1 ครั้งในรอบ 10 ปี หรือนานกว่านั้น
7. การใช้ปุ๋ยเคมีและการดูแลรักษาพืชผักที่ปลูกเพื่อรับประทานต้นและใบ
ผักคะน้า
การปลูก - ย้ายกล้าปลูกเมื่ออายุ 30-40 วัน
ระยะปลูก - 25x30 เซนติเมตร หลุมละ 1 ต้น
การใช้ปุ๋ยเคมี - ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน หลังปลูก 25 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
การดูแลรักษา - พ่นยากำจัดศัตรูพืชทุก 7 วัน
ผักกาดขาว
การปลูก - ย้ายกล้าปลูกเมื่ออายุ 25 วัน
ระยะปลูก - 25x30 เซนติเมตร หลุมละ 1 ต้น
การใช้ปุ๋ยเคมี - ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน หลังปลูก 25 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
8. การใช้ปุ๋ยเคมี และการดูแลรักษาพืชผักที่ปลูกเพื่อรับประทานผล
พืชผักในกลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงต่างๆ ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยไม่แตกต่างกันมากนัก ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆกัน ครั้งแรกใส่หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว 5-7 วัน ครั้งที่ 2 เมื่อเริ่มออกดอก หรือหลังจากย้ายกล้าปลูกแล้วประมาณ 30 วัน โดยใส่สองข้างแล้วกลบดิน สำหรับถั่วฝักยาวใช้ปุ๋ยสูตร 10-30-10 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆกัน คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก กลบดิน แล้วหยอดเมล็ด ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อเริ่มออกดอก โดยโรยสองข้างแล้วกลบดิน
9. การใช้ปุ๋ยเคมีและการดูแลรักษาพืชผักที่ปลูกเพื่อรับประทานหัว
พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ หอมแดง กระเทียม และหอมหัวใหญ่ โดยใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆกัน ครั้งแรกใส่ก่อนปลูกโดยหว่านทั่วแปลง ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกแล้ว 30 วัน โดยวิธีหว่านให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำทันที
กระเจี๊ยบเขียว
การเตรียมดิน - ควรยกร่องต่ำ (low raised bed) เพื่อสะดวกในการให้น้ำ เช่นเดียวกับการปลูกผักชนิดอื่นๆ
การปรับปรุงดิน - ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่มีความรุนแรงของกรดสูง (pH< 4.0) ด้วยการใช้ปูนมาร์ล2 ตัน/ไร่
การใช้ปุ๋ยเคมี - ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 75 กก./ไร่
ผลผลิตที่ได้รับ - 1,399.8 กก./ไร่
ผลตอบแทนที่ได้รับ - 10,523.6 บาท/ไร่/ปี
รองลงมา คือ การใส่ปูนมาร์ล 2 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กก./ไร่ ให้ผลผลิตตอบแทนเฉลี่ย 8,845.3 บาท/ไร่/ปี หรือการใส่ปูนมาร์ล 2 ตัน/ไร่ โดยใส่ปุ๋ยคอกรองพื้น 2 ตัน/ไร่ ทุกปี โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ก็ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง เช่นกัน คือ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7,600 - 8,065 บาท/ไร่/ปี ซึ่งเป็นทางเลือกให้เกษตรกรเลือกใช้ได้ ตามเงินทุนที่มี
- การใช้ปูนมาร์ลนอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตกระเจี๊ยบเขียวแล้ว ยังมีผลต่อเปอร์เซ็นต์การเข้าเกรด (คุณภาพ) ของฝักกระเจี๊ยบเขียวสูงกว่าการไม่ใส่ปูนมาร์ล
- การใช้ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว อัตรา 2 ตัน/ไร่ ร่วมกับปูนมาร์ลโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มของเปอร์เซ็นต์เข้าเกรดสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ
พืชผัก
พริกขี้หนูพันธุ์ห้วยสีทน
การเตรียมดิน - ควรยกร่อง เพื่อสะดวกในการให้น้ำ
การปรับปรุงดิน - หลังจากยกร่องแล้วต้องปรับโครงสร้างดินก่อนโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วใส่ลงในดินในอัตราไร่ละ 2-4 ตัน ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่มีความรุนแรงของกรดสูง (pH< 4.0) ด้วยการใช้ปูนมาร์ลอัตรา 1.5 ตัน/ไร่
การใช้ปุ๋ยเคมี - ปุ๋ยเคมี อัตรา 20-18-12 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ (คิดเป็นปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 43 กก./ไร่ ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (46-0-0) 39 กก./ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์(0-0-60) จำนวน 20 กก./ไร่) หรือใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 14-14-8 (คิดเป็นปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 30 กก./ไร่ ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (46-0-0) 30 กก./ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์(0-0-60) จำนวน 13 กก./ไร่
ผลผลิตที่ได้รับ - 777-785 กก./ไร่
ผลตอบแทนที่ได้รับ - 10,585- 10,627 บาท/ไร่
การเตรียมดิน - ควรยกร่องต่ำ (low raised bed) เพื่อสะดวกในการให้น้ำ
การปรับปรุงดิน - ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่มีความรุนแรงของกรดปานกลาง (pH 4.0 -4.5) ด้วยการใช้ปูนมาร์ล 1.5 ตัน/ไร่
การใช้ปุ๋ยเคมี - ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่
ผลผลิตที่ได้รับ - 1,779 - 2,428 กก./ไร่ ในปีที่ 1 และ 2
ผลตอบแทนที่ได้รับ - 3,200 บาท/ไร่/ฤดูกาลปลูก
- ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชที่ต้องการกำมะถันสูงกว่าพืชอื่นๆ จึงเหมาะสมที่จะนำมาปลูกในดินเปรี้ยวจัด
- ผักกาดเขียวปลี เป็นผักอายุสั้น ประมาณ 3 เดือน ถ้ามีการวางแผนการปลูกที่ดี และพื้นที่นั้นๆ มีระบบการให้น้ำชลประทาน มีน้ำใช้ตลอดปี สามารถปลูกได้ปีละ 3 ครั้ง สามารถขายได้ทั้งรูปผักสด และส่งโรงงานแปรรูป
พืชผัก
หน่อไม้ฝรั่ง
การเตรียมดิน - ควรยกร่องต่ำ (low raised bed)เพื่อป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำสูง สะดวกในการให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง แล้วระบายออกอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
การปรับปรุงดิน - ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่มีความรุนแรงของกรดสูง (pH< 4.0) ใช้ปูนมาร์ล 1.5 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 8 ตัน/ไร่ รองพื้นในปีแรกเพื่อปรับกายภาพดิน ให้มีเนื้อดินร่วนซุยง่ายต่อการแทงหน่อ และใส่ปุ๋ยหมักเพิ่มทุกปีอัตรา 2 ตัน/ไร่ในปีถัดๆไป
การใช้ปุ๋ยเคมี - ปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 125 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก.ต่อไร่ทุกเดือน ในช่วงให้ผลผลิต
พันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง - แคลิฟอร์เนีย 309 แบบหน่อเขียว
ผลผลิตที่ได้รับ - 16,035 บาท/ไร่(ปีที่ 2)
อื่นๆ - ผลผลิตและผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้น ในปีที่ 2 และปีต่อๆไป ถ้ามีการดูแลรักษา การให้น้ำสม่ำเสมอ
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0