โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กมธ.วิสามัญ CPTPP เตรียมขอเวลาอีก 60 วัน หลังยังไม่เคลียร์หลายประเด็น

ไทยรัฐออนไลน์ - Politics

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 13.16 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 13.16 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

กมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบ CPTPP เตรียมขอสภาฯ ขยายเวลาพิจารณาเพิ่มอีก 60 วัน หลังหลายประเด็นยังไม่ได้คำตอบ มอบหมายหน่วยงานกลับไปศึกษาเพิ่ม
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวีระกร คำประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) จะรายงานความคืบหน้าการพิจารณาต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 10 ก.ค. 2563 และขออนุมัติการขยายเวลาพิจารณาออกไปอีก 60 วัน จากเดิมที่สภาฯ ให้เวลาพิจารณา 30 วัน โดยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการ ที่ประกอบไปด้วย ด้านเกษตร, ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ ได้รายงานต่อที่ประชุมใหญ่คณะกรรมาธิการวิสามัญสรุปโดยรวมดังนี้

นายวีระกร คำประกอบ
นายวีระกร คำประกอบ

นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานคณะอนุกรรมาธิการเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รายงานว่า มีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง เริ่มต้นด้วยนำการศึกษา CPTPP ของบริษัท โบลลิเกอร์ ที่ว่าจ้างโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาพิจารณา พบว่าในภาพรวมผลการศึกษาที่ชี้ว่า ถ้าไทยเข้าร่วม CPTPP แล้วจะเพิ่ม GDP 0.12% นั้น เป็นผลประโยชน์ที่มาจากการค้าสินค้าที่จะได้เพิ่มขึ้นโดยสมมุติฐานที่ว่า การค้านั้นจะเกิดขึ้นทันที 100% ซึ่งในความเป็นจริงควรใส่สมมติฐานเข้าไปว่า กว่าการค้าจะเต็ม 100% ต้องใช้เวลากี่ปี จะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนประโยชน์ที่ได้ที่เป็นตัวเลขจากการค้าภาคบริการและการลงทุนไม่ได้มีการใส่เป็นตัวเลขเข้ามา และไม่ได้มีการปรับฐานเพื่อให้เห็นการกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่มีสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ประเมินเบื้องต้นพบว่า น้ำหนักการค้าและการลงทุนมาจากสงครามการค้าและโควิด-19 โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ต้องมีการย้ายฐานการลงทุนจากจีนมายังประเทศในภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยด้วย ถ้าอุตสาหกรรมเอื้อ เวียดนามอาจเป็นคู่แข่งในการดึงดูด แต่ไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรม

ในส่วนการค้าสินค้า สิ่งที่สำคัญเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนรับความตกลงใดๆ ภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตในประเทศแข่งสินค้านำเข้าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการลดกำแพงภาษีในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเป็นหลัก พบว่าผู้ศึกษาและกระทรวงต่างๆ ยังไม่ได้ไปคุยกับสมาคม SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ฉะนั้น ผลกระทบใส่ส่วนนี้ทางคณะอนุกรรมาธิการขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติม พร้อมตั้งคำถามไปที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่ามีการศึกษาตรงนี้ไว้หรือไม่ โดยคำตอบที่ได้ไม่ใช่การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การวิจัยศึกษาที่จะสามารถอ้างอิงอย่างมีน้ำหนัก จึงแนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการคำนวนถิ่นกำเนิดสินค้า, การเปิดตลาด, ภาคบริการและการลงทุน, สิทธิแรงงาน รวมถึง E-Commerce ด้วย

นายเกียรติ สิทธีอมร
นายเกียรติ สิทธีอมร

ทางด้าน นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการการแพทย์และสาธารณสุข ได้มีการพิจารณารายประเด็น โดยขั้นตอนเป็นการรับทราบข้อห่วงกังวล คำชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอหรือหนทางแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น และต่อไปจะพิจารณาผลกระทบกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด พร้อมกล่าวสรุปว่า การประชุม 5 ครั้งที่ผ่านมา ยังมีข้อจำกัดที่พิจารณารายประเด็นอย่างแยกส่วน ยังไม่ได้นำรายประเด็นมาประกอบเป็นภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดว่าจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรหรือไม่ แม้รายประเด็นดูเหมือนอาจจะแก้ปัญหาได้ เนื่องจาก CPTPP ที่เน้นประโยชน์ทางธุรกิจเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ทำอย่างไรให้ภาคสาธารณสุขได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และยังต้องพิจารณาถึงภาระที่จะเกิดกับประชาชน ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นเท่าไร และจะเป็นภาระกับภาครัฐเพิ่มขึ้นเท่าไร ใครได้ใครเสีย คนเสียจะเยียวยาอย่างไร การปรับตัวของหน่วยงานต่างๆ ทำได้หรือไม่ ต้องใช้เวลาเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางยาหรือไม่อย่างไร ต้องศึกษาต่อไป

นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง
นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง

ขณะที่ นายวรภพ วิริยะโรจน์ เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการการเกษตร รายงานว่า ประเด็นอนุสัญญาคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์ที่เรียกว่า UPOV1991 มีข้อห่วงกังวลมากที่สุด คือ ประเทศไทยยังสามารถกำหนดให้แจ้งแหล่งที่มาของสารพันธุกรรมได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์และป้องกันการผูกขาดพันธุ์ดั้งเดิม/พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในคำถามที่คณะกรรมาธิการขอให้กรมเจรจาฯ ส่งคำถามนี้ไปยังสำนักงาน UPOV เพื่อขอคำอธิบาย

สำหรับการเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อเพื่อขายผลผลิตนั้น กฎหมายไทยปัจจุบันเกษตรกรสามารถทำได้ แต่หากเข้า UPOV1991 เกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ขึ้นทะเบียนไม่ได้ถ้ากฎหมายไม่ได้อนุญาตไว้ จึงเป็นคำถามที่จะส่งไปขอคำอธิบายและยืนยันจากทาง UPOV ว่า ไทยสามารถเขียนกฎหมายคุ้มครองเกษตรกรรายย่อยให้เก็บเมล็ดพันธุ์ผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ซึ่งวิธีชีวิตดั้งเดิมเก็บอยู่แล้วได้ต่อไปหรือไม่, สามารถนิยามเกษตกรรายย่อยตามพื้นที่ถือครอง 50% ของสถิติจริงตามพันธุ์พืชได้หรือไม่ และสามารถนิยามพื้นที่ที่เกษตรกรถือครองและเก็บเมล็ดพันธุ์ขึ้นทะเบียนมาปลูกต่อเป็นที่ดินทุกกรรมสิทธิ พื้นที่เช่า พื้นที่ สปก. ได้หรือไม่

นายวรภพ วิริยะโรจน์
นายวรภพ วิริยะโรจน์

ทั้งนี้ ประเด็นลักษณะสำคัญของพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครอง (EDVs) เป็นประเด็นที่ยาก ซับซ้อน และจะส่งผลกระทบทางลบมากที่สุด UPOV กำหนดขึ้นมาเพื่อคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์ แต่เป็นข้อห่วงกังวลของเกษตรกร เพราะพืชมีโอกาสผสมพันธุ์ข้ามแปลง เป็นความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องเป็นคดีความ กรณีนี้จะเกี่ยวเนื่องกับ 2 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร ผู้ใช้ดุลพินิจในการจดทะเบียนคุ้มครอง และศาลทรัพย์สินทางปัญญา ที่ใช้อำนาจชี้ขาด ทำให้ต้องตั้งคำถามว่าการเข้า UPOV1991 จะทำให้มีความเป็นไปได้จะมีคำวินิจฉัยต่างประเทศมาบังคับใช้เหนือคดีในประเทศหรือไม่ ไทยสามารถกำหนดคุ้มครองเกษตรกรจาก EDVs ที่ผสมพันธุ์หรือปนเปื้อนทางธรรมชาติได้เลยหรือไม่ เพื่อคลายกังวลของเกษตรกร.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0