โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เมื่อ LINE ขอ Redesign เครื่องมือธุรกิจ-นักการตลาดสู่ ‘Life Marketing Platform’

LINE ประเทศไทย

เผยแพร่ 24 ก.ค. 2562 เวลา 08.05 น.

ทุกวันนี้ LINE กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน พร้อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้มากที่สุด บ่อยที่สุด สร้างการมีส่วนร่วมได้ดีที่สุด ทำให้ปัจจุบันหลากหลายธุรกิจต่างต้องการเข้ามามีส่วนร่วม ในการใช้ LINE เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทางการตลาด นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสู่ผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้น

ตามปกติแล้ว เมื่อผู้บริโภคใช้งานอยู่กับสื่อ หรือแพลตฟอร์มใด นักการตลาดก็จะเข้าหาแพลตฟอร์มนั้น ดังนั้นการที่ LINE เป็นแพลตฟอร์มที่คนใช้เวลาด้วยมากที่สุด ทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ยิ่งคนไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับ LINE มากเท่าใด ภาคธุรกิจยิ่งมีความสนใจ ต้องการใช้มากเท่านั้น โดยในทางกลับกัน ภาคธุรกิจสมควรต้องบาลานซ์การสื่อสารผ่าน LINE ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย เริ่มนำเสนอแนวคิดใหม่ในการทำตลาดผ่าน LINE หรือ LINE for Business ที่ปัจจุบันมีแบรนด์ร้านค้า องค์กรธุรกิจ ไปจนถึง SMEs เข้ามาใช้งานกว่า 3 ล้านราย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการส่งข้อมูลที่มากเกินไป (Over broadcasting) ทำให้ LINE ต้องคิดใหม่

ด้วยเหตุนี้ LINE ประเทศไทย จึงเดินหน้าแผนงาน “Redesign” ที่จะทำให้บริการของ LINE ดียิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีมากกว่าที่เคย พร้อมเข้าไปแก้ปัญหา Blind Broadcast ที่ข้อความไม่เข้าถึงผู้ใช้งาน หรือ มีการส่งข้อความสแปมแก่ผู้ใช้งานจำนวนมากเกินไปจนลูกค้าเกิดความรำคาญ

“LINE ต้องการทำให้รูปแบบการสื่อสารเป็นไปอย่างสมดุล มีคุณภาพ สามารถสร้าง Effective Communication ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ไม่ถูกคุกคามมากจนเกินไป”

เพื่อให้ในระยะยาวลูกค้า LINE Official Account (LINE OA) ที่มีจำนวนกว่า 3 ล้านราย และผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาใช้บริการในอนาคต จะได้ใช้แพลตฟอร์มอย่างชาญฉลาด สามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ไม่มองแค่เรื่องการค้าขายเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า ที่อาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์ทางตรงหรือส่งผลเชิงตัวเงินควบคู่กัน 

สำหรับราคาการให้บริการ LINE OA นั้นทาง LINE จะมีการปรับใหม่ พิจารณาตามการเข้ามามีส่วนร่วมของ followers รวมถึงจำนวนข้อความที่ส่งโดยเฉลี่ย ในจุดที่เหมาะสมมากที่สุด ประกอบกับด้วยเสียงจากผู้ใช้ LINE OA ในช่วงที่ผ่านมาหลังมีการประกาศรวม LINE@ และ LINE OA ทำให้มีการพิจารณาราคาใหม่ขึ้น จากเดิมที่ลูกค้า LINE OA ต้องจ่าย 20 สตางค์ ต่อข้อความ ลดลงมาเริ่มต้นเพียง 4 สตางค์ต่อข้อความ และยิ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้าถึงผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคน จะลดลงมาเหลือข้อความละ 1 สตางค์ โดยราคานี้จะเริ่มใช้งานในช่วงเดือนสิงหาคม

และก่อนหน้านี้ทาง LINE ประเทศไทยก็มี LINE Protection plan ซึ่งเป็นแผนสำหรับองค์กรใหญ่ซึ่งมีมาตั้งแต่เปิดตัว Redesign เพื่อปกป้องลูกค้าองค์กรจากการเปลี่ยนแปลงให้มีเวลาปรับตัว ซึ่งแผนนี้เดิมหมดปลายปี แต่ตอนนี้ขยายมากขึ้นจนถึงกลางปีหน้า 

ความพิเศษอย่างหนึ่งของ LINE OA เวอร์ชันใหม่นี้คือจะเปิดกว้างให้นักพัฒนาสามารถนำ API ของ LINE OA ไปพัฒนาต่อเนื่องได้ในรูปแบบของ Open API ดังนั้นถ้าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีนักพัฒนาอยู่แล้วก็สามารถดึงไปใช้งานได้ทันที หรือถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ LINE ก็จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเข้ากับบริษัทนักพัฒนาที่ทำงานร่วมกับ LINE ต่อไป

นอกจากนี้ LINE ประเทศไทย ยังได้เปิดตัวบริการใหม่ “OA Plus” ที่จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ด้วยไฮไลท์เด็ดทั้ง “LINE OA Plus E-Commerce” ด้วยการเข้าไปจับมือกับ aCommerce และ Akita มาเป็นโซลูชั่นครบวงจร เพื่อให้การค้าขายบนโลกโซเชียลเป็นเรื่องที่ง่ายดาย ผู้ค้าสามารถติดตามผล ความเคลื่อนไหวคำสั่งซื้อ รวมถึงจัดหมวดหมู่ลูกค้าตามสถานะคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์

พร้อมเสริมความแกร่งให้กับธุรกิจด้วย “LINE MAN Plug-in” ฟีเจอร์ในการ นำเอาโลจิสติกส์ของ LINE MAN เข้ามาเชื่อมต่อกับ OA เพื่อช่วยตอบโจทย์ เติมเต็มบริการของธุรกิจ โดยเฉพาะในแง่ของธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร เพื่อให้ LINE OA กลายเป็นช่องทางสื่อสาร และร้านค้าแบบครบวงจร

นอกจากนี้ ยังมีการนำ LINE ไปใช้งานในภาคธุรกิจอื่น เช่น ในภาคการศึกษา (LINE for Education) ภาครัฐ (LINE for Public service) และในรูปแบบของเครื่องมือภายในองค์กร (LINE for Enterprise) เป็นต้น

ส่วนในอนาคต LINE มีแผนที่จะขยายช่องทางในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคสำหรับนักการตลาด ผ่านช่องทางใหม่อย่าง Smart Channel ที่อยู่บนหน้าแชตที่เข้าถึงผู้ใช้งานได้กว่า 44 ล้านคน โดยมีความพิเศษคือรองรับวิดีโอคอนเทนต์และโฆษณา ทำให้ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้มากขึ้น และเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบโฆษณากับ Slide ad ใน LINE TODAY

สุดท้ายคือการเพิ่มหมวดหมู่ของ LINE Idol จากเดิมที่มีเพียงแค่ Celebrity, Blogger ด้วยหมวดหมู่ Business ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารด้านธุรกิจ และหมวดหมู่ Sport ซึ่งเปิดตัวความร่วมมือเพิ่มกับ Mailman Global Sport Agency โดยมี Laliga League จากสเปนมาเพิ่ม นอกเหนือจาก Global OA ที่มีอยู่แล้วอย่าง Manchester United.

ทั้งหมดนี้คือเครื่องมือทางการตลาดที่ LINE พัฒนามาเพิ่มเติมเพื่อให้นักการตลาดได้สามารถใช้ tool ต่างๆ ที่มีบนแพลตฟอร์ม LINE อย่างชาญฉลาด ภายใต้แนวคิด Redesign ในการเข้าถึงผู้บริโภคให้ยั่งยืนขึ้น ผ่านคอนเทนต์และการสื่อสารที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในทุกๆ ฝ่าย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0