โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คลอดกม.ให้สิทธิ 'ลูกจ้าง' กรณีป่วยทำงานหน้าที่เดิมไม่ได้

PPTV HD 36

อัพเดต 30 ต.ค. 2562 เวลา 05.22 น. • เผยแพร่ 30 ต.ค. 2562 เวลา 05.10 น.
คลอดกม.ให้สิทธิ 'ลูกจ้าง'  กรณีป่วยทำงานหน้าที่เดิมไม่ได้
ครม. เห็นชอบผ่านร่างกฎกระทรวงคุ้มครองดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง เตรียมบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

วันที่ 30 ต.ค.2562 นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ครม. ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกภายใน 30 วัน นับแต่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงาน 3 วันทำงานติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยให้นายจ้างขอความเห็นจากแพทย์ หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ก.แรงงานชี้ สถานการณ์ว่างงาน ไร้กังวล!

นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กฎกระทรวงยังได้กำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้าง และให้บันทึกผลการตรวจสุขภาพ พร้อมแจ้งผลการตรวจให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน แต่หากพบว่าผลการตรวจสุขภาพผิดปกติให้แจ้งลูกจ้างภายใน 3 วัน และเมื่อสิ้นสุดการจ้างให้มอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้าง ทั้งนี้ สำหรับลูกจ้างที่มีหลักฐานทางการแพทย์แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้ตามสมควรโดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างด้วย ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 กด 3

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> สภาแรงงานฯ ดันกฎหมายช่วย ‘ลูกจ้างเหมาบริการ’ 4 แสนคน หลังไร้สิทธิ ไร้ความมั่นคงในอาชีพ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0