หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลดค่าไฟฟ้าลงอีก 3% ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ตั้งแต่ เม.ย. – มิ.ย. 63 รวม 3 เดือน เพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน และ ลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจ ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
หลายคนพากันเบาใจลงบ้างเมื่อเห็นมาตรการนี้ เพราะเกรงว่าการกักตัวและทำงานจากบ้านตามคำขอของรัฐบาล จะทำให้ค่าไฟพุ่ง เพราะช่วงนี้ตรงกับหน้าร้อนพอดี
แต่สุดท้าย สิ่งที่กลัวก็เกิดขึ้นจริงๆ
หลายคนเปิดใบแจ้งค่าใช้ไฟฟ้ารอบเดือนนี้แล้วถึงกับหนาวจนต้องรีบไปปิดแอร์ และ ต้องเข้าไปเช็กในโลกออนไลน์ว่าใครเจอ “ค่าไฟแพง” เหมือนกันบ้าง ถึงขั้นทำให้แฮชแท็ก #ค่าไฟแพง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ไป เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา
ชาวเน็ตจำนวนมากต่างพากันมาโอดครวญเรื่อง “ค่าไฟแพง” บางคนยืนยันว่าใช้ไฟน้อยลง แต่ค่าไฟเดือนนี้กลับพุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว
นอกจากประชาชนทั่วไป ยังมีนักแสดงบางคนที่ออกมาพูดเรื่อง “ค่าไฟแพง” ผ่านทางออนไลน์เช่นกัน ได้แก่ “ตอง ภัครมัย” และ “มิค บรมวุฒิ”
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก“โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า” มีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องค่าไฟแพง ดังนี้
สนับสนุนให้คนไทยอ่านเกิน 8 บรรทัด
ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้น ❓❓
มาดูคำตอบแบบเปิดใจกันหน่อย‼️
1. การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด ใช้เยอะจ่ายเยอะ ประโยคนี้คือ ความจริง
(จะอ้างไม่รู้ไม่ได้นะคะ หรือจะบอกว่าสุดท้ายไฟฟ้าก็เอาเปรียบอยู่ดีไม่ได้ ไฟฟ้าไม่ได้ไปใช้ไฟกับคุณ )
2. ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พูดง่าย ๆ ก็ คือ คุณใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเลยทำให้ราคามันก้าวกระโดด
3. หลายคนคงสงสัย ทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้าถึงขึ้นได้มากขนาดนี้ ?
ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์รึเปล่า ?
คำตอบ คือ ไฟฟ้าไม่มีใครไปทำอะไรกับมิเตอร์ลูกค้าหรอกค่ะ เอาจริง ๆ นะ พนักงานแผนกมิเตอร์จำนวน 7 คน ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหลักแสนราย
ทีนี้เราต้องมาดูพฤติกรรมของตัวเองและคนในบ้าน
ที่บอกว่าฉันใช้ไฟเท่าเดิม
ลองคิดนะ
เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 – 12.00 คุณเย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพลสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้นเพราะคอมเพลสเซอร์คุณทำงานหนัก ยิ่งถ้าเปิดแอร์พร้อมกันนะ เสียงคอมดังนานแค่ไหนนั่นแหละคือ ทำใจไว้เลย มิเตอร์กำลังหมุนอย่างแรง และ นั่นคือ เงินที่คุณต้องจ่ายไป
เครื่องฟอกอากาศอีก แทบทุกยี่ห่อกินไฟ ลองดูนะที่บอกประหยัดไฟคือไม่ประหยัดเลย ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ คูณกำลัง 2 ไปเลย
ตู้เย็น เห็นตั้งนิ่ง ๆ แบบนั้น กินไฟเราแบบเงียบ ๆ นะค่ะ หน้าที่ของตู้เย็นคือต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณภูมิที่เรากำหนด เช่น เราตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานของมันคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา นั่นก็ คอมเพลสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน
– เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เปลืองไฟจริง เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณภูมิตอนเปิด
– แช่ของแบบไม่คิด ยัด ๆ เข้าไปก็เปลืองไฟจริง ต้องจัดระเบียบตู้เย็นกันบ้าง
บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
- แอร์ พร้อม คอมเพลสเซอร์
- เครื่องฟอกอากาศ
- พัดลมไอน้ำ
- ตู้เย็น ยิ่งอัดของเยอะ คอมเพลสเซอร์ตู้เย็นที่ดังตลอดเวลานั่นแหละคือ กำลังกินไฟคุณ
ตู้เย็นที่ประหยัดไฟคือตู้เย็นที่แช่แค่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น ถึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามที่ร้านโฆษณา
สรุปคือ ไฟฟ้าไม่ได้ปรับ หรือ ทำอะไรทั้งนั้น ไม่ได้คิดจะทำอะไรด้วย ไม่ฉวยโอกาสอะไรทั้งนั้น
ไฟฟ้าการรันตีราคาให้แบบนี้
– ใช้ไปหน่วยที่ 0- 150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 151 – 400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท
ยกตัวอย่างการคิดแบบคร่าว ๆ
ตัวอย่างที่ 1
ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท
รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 2
ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 3
ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท
รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 4
ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
600 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 2,653.02 บาท
รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
พอจะเห็นภาพชัดเจนกันขึ้นไหมคะ ว่าทำไมค่าไฟถึงได้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวทวิตเตอร์บางคนที่ตั้งข้อสงสัยว่า อากาศในเดือนเมษายน ไม่ได้ร้อนมากนัก ถ้าเทียบกับเดือนอื่น ๆ
แต่ก่อนที่ดราม่านี้จะลุกลามบานปลาย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ได้ทวิตข้อความว่า พรุ่งนี้จะเชิญคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหาแนวทางมาตรการเรื่องค่าไฟฟ้า เพิ่มเติมจากที่ได้มีหลายมาตรการออกไปแล้ว เรื่องนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจครับ
กระทรวงพลังงานจะมีคำตอบอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ และ จะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมหรือไม่ รอติดตามหลังการประชุมพรุ่งนี้
ความเห็น 309
wasu224
โดนเหมือนกันหรือครับ..นึกว่าผมโดนคนเดียวเมื่อวานเมียด่าว่าใช้ไฟฟ้าเปลือง ก็แค่เปิดพัดลมเหมือนทุกวันอ้อที่แท้บิลค่าไฟฟ้า พันกว่าบาทนี่เอง
20 เม.ย. 2563 เวลา 07.20 น.
2489
เอาทุนคืน
20 เม.ย. 2563 เวลา 03.45 น.
F
2020 = มีฤดูร้อน ?????
2019 =
2018 =
2017 =
2016 =
ประเทศกูมี กบ ปีศาจ ถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สอพลอ หนักแผ่นดิน2019
20 เม.ย. 2563 เวลา 03.29 น.
F
รู้จัก 'หลี่ เวินเหลียง' หมอคนแรกที่ออกมาเตือนเรื่องไวรัสโคโรนา แต่ตร.สั่งปิดปาก
www.thebangkokinsight.com/286650/
2/4/63
ข้อมูลข่าวกรองสหรัฐแฉจีนจงใจรายงานตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ต่ำเกินจริง
www.ryt9.com/s/iq29/3111383
เปิดไทม์ไลน์“หมอหลี่”คนแรกเตือนเรื่องไวรัสโคโรน่า ก่อนสิ้นใจ
https://today.line.me/TH/article/1NKzG9?
18/4/63
WHOออกโรงป้องจีนหลังเพิ่มยอดคนติดโควิด50%ทรัมป์ตั้งข้อสงสัยปกปิดข้อมูล
https://today.line.me/TH/article/WjMm9v?
ประเทศกูมี กบ ปีศาจ ถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
20 เม.ย. 2563 เวลา 03.22 น.
ko
มะไหร่ไอพวกหน้าเลือดเอาเปรียบประชาชนจะหมดไปจากแผ่นดินนี้ซักที น้ำมันโลกลดลงหลาย100% แต่ไฟฟ้าแพงขึ้นอ้างต้นทุนสูงขึ้น หยุดเถอะ แก้ตัวไม่ขึ้นอ้างหลักก้าวหน้า ไร้สาระ ทฤษฏี คิดเอง เออเอง ไม่เทียบกับสถานการณ์จริง
20 เม.ย. 2563 เวลา 03.22 น.
ดูทั้งหมด