โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เมื่อไม่ควรเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ประเทศเหล่านี้จัดการกับ “ภาษีผ้าอนามัย” อย่างไร ? - ลัดเลาะรอบโลก

LINE TODAY

เผยแพร่ 17 ธ.ค. 2562 เวลา 00.57 น. • Pannaput J.

กลายมาเป็นประเด็นถกเถียงในโลกโซเชียลอีกครั้ง สำหรับ “ผ้าอนามัย” คราวนี้เป็นการสื่อสารผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่อง“ภาษี” ของสินค้าชนิดนี้ เพราะล่าสุดได้มีการตีความไปว่าสรรสามิตจะเพิ่มภาษี “ผ้าอนามัย” เพราะว่าเป็น “สินค้าฟุ่มเฟือย” จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและคำวิพากษ์วิจารณ์จากหลายความเห็น

สินค้าฟุ่มเฟือย คือ สินค้าที่ไม่มีความจำเป็นกับชีวิต ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หากนิยามของสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นเช่นนั้น ผ้าอนามัยจะต้องไม่อยู่ในจำพวกสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างแน่นอน เพราะคนกว่าครึ่งหนึ่งบนโลกนั้นต้องใช้ผ้าอนามัยทุกเดือน รวมไปถึงเป็นระยะเวลาเฉลี่ยกว่า 30 ปีเลยทีเดียว

เนื่องจากประเด็นเรื่องภาษีผ้าอนามัยได้รับความสนใจอย่างมาก วันนี้ #ลัดเลาะรอบโลก เลยขอพาไปดูนโยบายเกี่ยวกับผ้าอนามัยจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ว่าพวกเขาจัดการกับของจำเป็นนี้อย่างไรกันบ้าง

เริ่มต้นที่ สกอตแลนด์ ที่มีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีแก่นักเรียนนักศึกษา เพราะว่าถือเป็นแนวคิดจากรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ประชาชนนั้นลำบากในการต้องซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และแน่นอนว่าสิ่งนี้มีต้นทุกอย่างแน่นอน แต่รัฐบาลก็เลือกที่จะเลือกจ่ายเงินลงทุนราว 5 ล้านยูโรเพื่อที่ว่า นักเรียนนักศึกษานั้นต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี พวกเขาจะได้สนใจและทำหน้าที่ในการเรียนของเขาได้ดีที่สุด

มาที่ฝั่ง สหราชอาณาจักร กันบ้าง ที่เรื่องนี้ก็เป็นที่ถกเถียงเช่นเดียวกัน เพราะว่ากฎหมายดันระบุว่า “ผ้าอนามัย” เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ก็มีการต่อสู้มาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ลดภาษีสินค้าชนิดนี้ แต่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ให้เหตุผลว่าที่ไม่สามารถทำอะไรได้เป็นอิสระ ก็เพราะว่าอยู่ใต้กฎหมายของสหภาพยุโรป แต่ล่าสุดเมื่อมีกระแส Brexit จึงมีการกลับมาพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง จนท้ายสุดแล้วมีแผนการว่าจะมีการยกเว้นภาษีสินค้าชนิดนี้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลืออีกด้วย

สำหรับประเทศไอร์แลนด์ ที่ตอนนี้ลดภาษีผ้าอนามัยเป็น 0 เปอร์เซ็น ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราการเก็ฐภาษีต่ำที่สุดตามกฎหมายของสหภาพยุโรปด้วย

เมื่อปีที่ผ่านมา มาเลเซีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ออกมาประกาศละเว้นภาษีผ้าอนามัย และถูกนำออกจากรายการของสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะก่อนหน้านี้ ผ้าอนามัย ในประเทศมาเลเซียเป็นสินค้าที่อยู่ในหมวดสินค้าความงามและสุขภาพ ทำให้ต้องจ่ายภาษีถึง 6%

สำหรับ สหรัฐอเมริกา ก็มีหลายรัฐออกมาจัดการกับเรื่องภาษีผ้าอนามัยเช่นเดียวกัน มีการเสนอเข้าสภาในหลาย ๆ รัฐ และรัฐล่าสุดที่เพิ่งจะยกเว้นภาษีสินค้านี้ไปก็คือ เนวาดา ซึ่งเป็นรัฐที่ 10 ของสหรัฐอเมริกา

อินเดีย เป็นหนึ่งประเทศที่มีการเรียกร้องถึงการลดภาษีสินค้านี้ มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Blood Tax หรือภาษีเลือดขึ้นมา เพื่อชูประเด็นว่าไม่ว่าจะเป็นภาษีจำนวนเท่าไหร่ ผ้าอนามัยและสินค้าจำเป็นสำหรับผู้หญิงนี้ควรจะต้องได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งการเรียกร้องเกิดขึ้นในช่วงที่อินเดียมีภาษี GST และต้องการจะเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้าที่อยู่ในรายการถึง 12% แต่ในที่สุดการเรียกร้องนี้ก็เกิดชัยชนะ รวมไปถึงยังมีการเสนอต่อไปให้มีการแจกฟรีอีกด้วย เนื่องจากรายได้ต่อหัวของประชากรในอินเดียนั้น ทำให้มีปัญหาเรื่องความสามารถในการเข้าถึงสินค้าชนิดนี้ด้วย หลังจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษี นี่ก็ถือว่าเป็นอีกสิ่งที่ต้องรอดูต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้อีกบ้าง

จากบทเรียนในประเทศต่าง ๆ แล้ว สุดท้ายต้องรอดูกันว่านอกจากการออกมายืนยันว่าจะไม่มีการขึ้นภาษีของผ้าอนามัยในประเทศไทยแล้ว รัฐบาลจะมีความคิดเห็นอย่างไรกับสินค้าจำเป็นชนิดนี้ เพราะเหนือการไม่ขึ้นภาษี คือการจัดการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้านี้ได้อย่างไม่ยากลำบากด้วย ถือเป็นอีกความท้าทายหนึ่งเพื่อที่จะสร้างความยุติธรรมในสังคม

*ขอบคุณข้อมูลจาก *

https://www.theguardian.com/uk-news/2018/aug/24/scotland-to-offer-free-sanitary-products-to-all-students-in-world-first

https://www.mirror.co.uk/money/what-tampon-tax-5-charge-14389476

https://irishtatler.com/lifestyle/highest-tampon-tax-countries

https://www.globalcitizen.org/en/content/malaysia-lifts-tampon-tax-menstrual-hygiene/

https://www.nytimes.com/2019/07/12/us/tampon-tax.html

https://www.bbc.com/news/world-asia-india-44912742

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0