โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“บุพเพสันนิวาส” สะท้อนชีวิตริมน้ำชาวกรุงศรี สมฉายา “เวนิสตะวันออก”

new18

อัพเดต 13 มี.ค. 2561 เวลา 10.19 น. • เผยแพร่ 13 มี.ค. 2561 เวลา 10.05 น. • new18
“บุพเพสันนิวาส” สะท้อนชีวิตริมน้ำชาวกรุงศรี สมฉายา “เวนิสตะวันออก”
ละครบุพเพสันนิวาสได้ย้อนเวลากลับไปชมวิถีชีวิตของผู้คนยุคนั้นอย่างแจ่มแจ้ง โดยทุกฉากทุกตอน ล้วนกล่าวถึง “วิถีชีวิตริมน้ำ” ของชาวอยุธยา มาดูกันว่า ในอดีตนั้น “แม่น้ำ” มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง …

เรื่องราวชีวิตของ “เกศสุรางค์ ” สาวยุคปัจจุบันที่อยู่ๆ ก็ไปโผลกลางกรุงศรีอยุธยา ในนามว่า “แม่การะเกด” แต่ทว่าเป็นโลกอดีต ในละคร “บุพเพสันนิวาส” ทำให้พวกเราได้ย้อนเวลากลับไปชมวิถีชีวิตของผู้คนยุคนั้นอย่างแจ่มแจ้ง โดยทุกฉากทุกตอน ล้วนกล่าวถึง “วิถีชีวิตริมน้ำ” ของชาวอยุธยา มาดูกันว่า ในอดีตนั้น “แม่น้ำ” มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง 

กรุงศรีอยุธยา ขึ้นชื่อว่าเป็น “เวนิสแห่งตะวันออก”

417 ปีแห่งการเป็นราชธานีเก่าแก่ของสยามประเทศ ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปกครอง ทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมี ปฐมกษัตริย์ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ตลอดจนเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษยชาติ
กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำ 3 สายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น
"เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิด ที่ถูกทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม ซึ่งเห็นได้จากฉากต่างๆ ในละครบุพเพสันนิวาส มีการถ่ายทำ“ตลาด” หรือ“ป่า” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการสื่อขายสินค้าต่างๆ ระหว่างชาวไทยและชาวต่างประเทศ อาทิฮอลันดา โปรตุเกส และจีน **เป็นต้น

แผนผังกรุงศรีอยุธยาจากแผนที่โบราณ

ชีวิตอยู่กับสายน้ำ “เรือ” คือยานพาหนะนำพาไปทุกที่

เมื่อแม่น้ำเป็นเส้นทางการคมนาคมหลัก เรือจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นค้าขายและเปลี่ยนสินค้า การเดินทาง ของเจ้าขุนมูลนาย ไพร่ฟ้าประชาชน ก็ล้วนแต่ใช้เรือกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศรุ่งเรืองมาก ทำให้มีเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เช่น เรือสำเภาและเรือกำปั่น มาจอดที่ปากอ่าว มีอู่ต่อเรือหลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนต่างอาศัยเรือเล็กเรือน้อยสัญจรไปมาหนาตา ถึงขนาดที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า “ในแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนมาไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัดไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ชำนาญ ทั้งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง” และจากบันทึกของชาวเปอร์เซีย เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า ชะห์รินาว ซึ่งแปลว่าเมืองเรือ หรือ นาวานคร

พี่หมื่นเดินทางไปทำงานตอนเช้า ก็นั่งเรือ

ศิลปวัฒนธรรมที่เกิดจาก “ชีวิตริมน้ำ”
ปัจจุบันยังคงเห็นวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับทางน้ำอยู่บ้าง เช่น“การตักบาตรทางเรือ” แต่ก็ใกล้เลือนหายไปทุกที นอกจากนี้ยังมีประเพณีอื่นๆ อีก เช่น การเล่นเพลงเรือ การแห่กฐินทางน้ำ ประเพณีการแข่งเรือ หรือการทอดผ้าป่าทางเรือ ก็ยังมีให้เห็นอยู่ในบางจังหวัด ตลอดจนการซื้อขายสินค้าของ“ตลาดน้ำ” ที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักขาวต่างชาติชื่นชอบมาก
วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทยแต่กาลก่อนมีสิ่งดีสิ่งงามสืบมาอย่างยาวนาน อย่างเช่น ยุคกรุงศรีอยุธยา สืบต่อมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ จวบถึงยุคปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแฝงขนบวัฒนธรรมามากมายที่พวกเราชาวไทยรุ่นหลังควรสงวนหวงแหนให้คงไว้ เพื่อคงอยู่สืบทอดต่อๆ ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานตราบนานเท่านาน
มาชมความสวยงามของชีวิตริมน้ำ ที่ละคร "บุพเพสันนิวาส" ได้จำลองตามคำบอกเล่าของพงศาวดาร และเกร็ดประวัติศาสตร์ต่างๆ ให้คนยุคปัจจุบันได้ชมกัน 

***ความยิ่งใหญ่ตระการตาของกรุงศรีอยุธยา 

 

 ตื่นเช้ามาตักบาตรกันจ้ะออเจ้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0