โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เอาให้ชัด! อธิบายความจริงเรื่อง Bank Agent ตกลง 7-11 ตั้งแบงก์หรือเปล่า

Brandbuffet

อัพเดต 21 ก.พ. 2561 เวลา 09.21 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2561 เวลา 13.26 น. • Rassarin

กลายเป็นข่าวครึกโครม เมื่อมีกระแสว่าร้านค้าสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ "เซเว่น อีเลฟเว่น" เปิดให้บริการเป็นธนาคาร หลังจากนั้นก็ มีการปฏิเสธจากธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกิดเป็นความสับสนในกลุ่มผู้ที่เสพข่าว BrandBuffet ขอทำความเข้าใจชัดๆ "เซเว่นฯ ตั้งธนาคารจริงหรือเปล่า?" "ขอบเขตของ Bank Agent ทำได้แค่ไหนอย่างไร?"

Banking Agent ใครแต่งตั้ง?

Banking Agent เป็นบริการที่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง เปิดให้แบงก์ของตัวเองมีตัวแทนที่ทำหน้าที่เบิกเงินหรือรับฝากเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ธนาคารอาจจะไม่สะดวกตั้งสาขา และถึงแม้ว่าธนาคารนั้นๆ มีความต้องการให้บริษัท ร้านค้าใด เป็น Banking Agent ทั้งหมดก็ต้องผ่านการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีหลักเกณฑ์หลายอย่าง เช่น มีสถานประกอบการที่ชัดเจนเป็นหลักแหล่ง มีเครื่องมือและระบบรองรับบริการ ทั้งหมดนี้อิงกับ "ความปลอดภัย" และ "ข้อมูลส่วนตัว" ของผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะนั่นหมายถึงพนักงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับทราบชื่อ เลขที่บัญชี เงินฝาก-ถอน ในการทำธุรกรรมในครั้งนั้นของลูกค้าไปด้วย

ที่ผ่านมา มีเคสที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นตัวแทนรับฝากเงิน (Banking Agent) กับธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทิสโก้ และธนาคารยูโอบี ตั้งแต่ปี 2554 แต่เป็นเพียงการรับฝากเงินเท่านั้น ยังไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีได้

7-11 กับการตั้งธนาคาร?

ในส่วนของการที่มีข่าวลือเลยเถิดถึงขนาดว่า 7-11 จะตั้งธนาคารใหม่ "ธนาคารเซเว่นฯ" ต้องนับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้ให้ใบอนุญาตตั้งธนาคารใหม่ อีกทั้งทางฝั่งของเซเว่น อีเลฟเว่นเอง หากจะย้อนกลับไป พื้นที่สนามการเงินเป็นธุรกิจที่กลุ่ม CP เคยพยายามจะก้าวเข้ามาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปถือหุ้นในธนาคารแห่งหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งพยายามรุกเข้าสู่ธุรกิจประกัน ผ่านบริษัท Allianz CP ก่อนจะถอยทัพกลับมาโฟกัสในธุรกิจที่ตัวเองถนัด แล้วอาศัยการให้บริการทางการเงินแล้ว 7-11  หรือถ้าจะเจาะจงให้ชัดคือ "เคาน์เตอร์ เซอร์วิส" เก็บค่าบริการส่วนต่างของการทำธุรกรรม (Transaction Fee) เช่น การจ่ายบิล

รวมทั้งในระยะหลัง CP มุ่งเน้นไปที่การรุกข้าสู่บริการทางการเงินในรูปแบ Digital  เช่น True Money หรือ ร่วมมือกับ AliPay ซึ่งการทำธุรกรรมแบบ Digital Money มีความปลอดภัยในแง่ที่ว่าพนักงานไม่ต้องถือเงิน Physical บวกกับตอนนี้ในประเทศไทยยังไม่มีเจ้าตลาดที่ชัดเจนที่ครอบครองพื้นที่นี้ และการใช้จ่ายแบบนี้สอดคล้องกับเทรนด์ของผู้บริโภคในอนาคต การที่กลุ่ม CP จะลุยเรื่องนี้อย่างหนักจึงเป็นภาพที่เห็นได้ชัดในระยะหลัง

ดังนั้นถ้าหากว่าจะตั้งธนาคารเลยคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ส่วนการที่ 7-11 หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสจะรับเป็น Banking Agent หรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้แล้วแต่ดีลที่ธนาคารจะเจรจากัน

แหล่งข่าวของ BrandBuffet อธิบายทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า "ข่าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากทุกคนโฟกัสไปที่ เซเว่นฯ เพราะเขามีสาขาเยอะ  และเป็นกระแส รวมทั้งที่ต่างประเทศก็มีธนาคารชื่อ เซเว่นฯ แต่ความเป็นจริงแล้วบริการนี้มีมาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไปรษณีย์ไทย ก็เป็นพันธมิตรกับธนาคารในการทำธุรกรรมมานานแล้ว ก็แล้วแต่ที่ธนาคารแต่ละแห่งจะดีลกับพาร์ทเนอร์ที่จะรับบริการนี้อย่างไร ซึ่งดีลแบบนี้ Transaction Fee ไม่ใช่ถูก เช่น ถ้าหากว่ามีบริการถอนเงินนั่นแปลว่าพาร์ทเนอร์เหล่านี้เขาต้องสำรองเงินออกไปก่อน หลังจากนั้นถึงมาเคลียร์ลิ่งกัน ดังนั้นถ้าหากว่าเกิดขึ้นจริงทางแบงค์ที่ต้องการทำ Banking Agent ก็คงต้องประเมินความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นด้วย"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0