โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องเล่าจาก 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

MThai.com - Teen

อัพเดต 26 ต.ค. 2560 เวลา 06.14 น. • เผยแพร่ 25 ต.ค. 2560 เวลา 23.00 น.
เรื่องเล่าจาก 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ทีนเอ็มไทยได้มีโอกาสร่วมเสวนากับนักเรียนทุนของพ่อ ถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่๙ ที่ทรงพระราชทานทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาสาขาต่างๆ

ทีนเอ็มไทยได้มีโอกาสร่วมเสวนากับนักเรียนทุนของพ่อ ถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระราชทานทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาสาขาต่างๆ ไปศึกษาเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ เพื่อจะได้กลับมาทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตัวเองสนใจและได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง

โดยได้ตัวแทน 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดลมาเล่าเรื่องราวและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้อง นิสิต นักศึกษา โครงการ Learn & Earn ของ KTC ในการทำความดีต่อไป ดังนี้

ดร.เจน ชาญณรงค์ ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2532

ดร. กฤชชลัช ฐิติกมล ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2533

ผศ.ดร. วรภรรณ เรืองผกา ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541

ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2548

เรื่องเล่าจาก 4 รุ่นพี่ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ความยากง่ายกว่าจะมาเป็นนักเรียนทุนได้ มีวิธีการอย่างไรบ้าง

-จะต้องมีผลการเรียนที่ดี ประพฤติตนดี มีคุณธรรม และได้รับการคัดเลือกหรือเสนอชื่อจากกรรมการแผนกต่างๆ หลังจากนั้นเข้ารับการสัมภาษณ์ และรอผลประกาศรายชื่อ

ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

มูลนิธินี้ไม่มีการสอบคัดเลือก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขารวม 8 สาขา สรรหาผู้สมควรได้รับพระราชทานทุน นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชี้ขาด ปัจจุบัน มูลนิธิอานันทมหิดล ได้พระราชทานทุนการศึกษาครอบคลุมทั้งสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแยกเป็นแผนกต่างๆ จำนวน 8 แผนก ได้แก่

  • แผนกแพทยศาสตร์
  • แผนกวิทยาศาสตร์
  • แผนกวิศวกรรมศาสตร์
  • แผนกเกษตรศาสตร์
  • แผนกธรรมศาสตร์
  • แผนกอักษรศาสตร์
  • แผนกทันตแพทยศาสตร์
  • แผนกสัตวแพทยศาสตร์

ทุนนี้แม้ไม่ได้มีการผูกมัดใดๆ แต่หลังจากศึกษาจบแล้ว จะนำความรู้กลับมาต่อยอดอย่างไรหรือไม่

– การที่ได้รับทุนนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ฉะนั้นในฐานะที่ผมเป็นคนไทยคนนึง เป็นลูกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เราต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณ เมื่อเราได้โอกาสศึกษาต่อแล้ว เราต้องไม่ลืมนำความรู้ความสามารถของเรานั้นกลับมาทำให้ประเทศเราเจริญก้าวหน้าต่อไป ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม กล่าว

แนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ข้อไหนที่นำมาปรับใช้ในชีวิประจำวัน

-ดร. กฤชชลัช : ยึดหลักการทรงงาน บริหารงาน ความเพียรของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะหลักการ 23 ข้อสรุปโดยอาจารย์เกษม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างดี

-ผศ.ดร. วรภรรณ : ยึดหลักความพอเพียง การประหยัด และการทำงานช่วยเหลือครอบครัว ยืดหยัดด้วยตัวเอง เหมือนดั่งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเคยตรัสกับพระองค์ท่านว่า ถ้าอยากได้ของเล่นจะต้องเก็บเงินซื้อเอง และอีกหนึ่งข้อ คือ คุณธรรมจะต้องนำความรู้

-ดร. ปัญญา : ยึดหลักธรรมแบบอย่างในเรื่องของความเพียรพยายาม พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำริว่า คนเราถ้าอยากจะทำอะไรให้สำเร็จ ต้องมีความอดทน มีความเพียร ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเรายอมแพ้ เราก็จะหยุดอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราอดทนทำต่อไป เราก็จะสามารถถึงจุดหมายที่เราตั้งใจไว้ รวมไปถึงความสามัคคี ต่อให้เรามีความรู้ความสามารถเพียงใดก็ตาม แต่ถ้ามีแค่คนคนเดียวก็ไม่สามารถทำได้ และเมื่อได้ศึกษาต่อในระดับสูงแล้ว เราจะต้องมีความยืดยุ่นไม่ยึดหลักตำรามากเกินไป แต่ต้องเข้าใจความเป็นจริงด้วย เพื่อจะได้นำความรู้มาใช้ให้เหมาะสม

ฝากข้อคิดถึงเด็กๆ รุ่นใหม่

-ดร.เจน ชาญณรงค์ : จะต้องรู้จักเริ่มวางแผนชีวิต ไม่ใช่วางยาวไปถึงอายุ 50-60 ปี แต่ควรวางแผนในระยะ 3 ปีใกล้ๆ นี้ก่อนว่าเราจะทำอะไร และรู้จักหน้าที่ของตัวเองและทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด

-ดร. กฤชชลัช : ผมคิดว่าเรื่องการจัดการชีวิต ยังไม่มีใครสอน โดยเฉพาะนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ คุณจะต้องเผชิญสิ่งแรกเลยคือการทำงาน การมีระเบียบวินัยกับตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ และอย่าท้อถอย

-ผศ.ดร. วรภรรณ : สำหรับหน้าที่การเป็นนักศึกษา อยากให้เรียนด้วย ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อตัวเอง เพื่อพ่อแม่พี่น้อง และเพื่อพ่อหลวงของเรา แม้ว่าในชีวิตบทบาทเราจะเปลี่ยนไปเรื่อย แต่มีบทบาทหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปเลยก็คือ บทบาทการเป็นลูกของพ่อแม่ ของพ่อหลวง สิ่งนี้จะทำให้เรามีความกตัญญู มีคุณธรรม รู้คุณพ่อแม่ รู้คุณแผ่นดิน รู้คุณพระเจ้าแผ่นดิน และต้องมีความซื่อสัตย์ให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

-ดร. ปัญญา : ผมอยากเสริมเรื่องการเปลี่ยนความรักที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ให้เป็นการกระทำในทุกๆ ที่ที่เราทำได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำหน้าที่อะไร ขอให้ทำให้เต็มที่ ทำด้วยความตั้งใจ ทำด้วยความรัก ทำเพื่อส่วนรวม

ทั้งนี้ สำหรับโครงการ Learn & Earn ของ KTC ปัจจุบันมีนิสิตนักศึกษา จำนวน 110 คนและได้รับการบรรจุเป็นพนักงานเคทีซีแล้วกว่า 300 คน ที่ผ่านมามีนิสิตนักศึกษาสนใจสมัครเข้าร่วมในโครงการฯ ทั้งหมดกว่า 25,000 คน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0