โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เริ่มวิ่งมาพร้อมกัน แต่ทำไมสู้เพื่อนไม่ได้สักที?

THE STANDARD

อัพเดต 17 ก.พ. 2561 เวลา 07.16 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2561 เวลา 05.00 น. • thestandard.co
เริ่มวิ่งมาพร้อมกัน แต่ทำไมสู้เพื่อนไม่ได้สักที?
เริ่มวิ่งมาพร้อมกัน แต่ทำไมสู้เพื่อนไม่ได้สักที?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อนที่เริ่มซ้อมวิ่งมาด้วยกัน ฝึกโปรแกรมเดียวกัน ทำเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่กลับทำได้ดีกว่าเราเสมอ? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการทำงานของร่างกาย และวิธีเอาชนะพันธุกรรมยอดมนุษย์อย่าง ‘ความแตกต่างของกล้ามเนื้อ’ ได้

 

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าในร่างกายคนเรามีกล้ามเนื้อหลักๆ อยู่สองประเภท ได้แก่ กล้ามเนื้อกระตุกช้า (Slow Twitch Muscle) และกล้ามเนื้อกระตุกเร็ว (Fast Twitch Muscle) ซึ่งกล้ามเนื้อทั้งสองประเภทนี้แม้เป็นกล้ามเนื้อเหมือนกันแต่ทำงานกันคนละแบบ และมนุษย์ทุกคนไม่มีใครมีสัดส่วนกล้ามเนื้อทั้งสองประเภทนี้เท่ากันสักราย

Photo: giphy.com

 

*กล้ามเนื้อกระตุกช้า *

กล้ามเนื้อประเภทนี้หดตัวช้า เน้นการทำงานที่ออกแรงน้อยๆ แต่ทำได้นาน พวกงานที่ต้องอาศัยความอึดและความถึกจะทำได้ดี กล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้นด้วยการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ลักษณะของกล้ามเนื้อจะมีสีแดงเพราะประกอบด้วยไมโอโกลบินที่มีออกซิเจนหล่อเลี้ยง ใช้พลังงานจากออกซิเจนและไขมัน คนที่มีกล้ามเนื้อประเภทนี้สูงได้แก่กีฬาที่ต้องใช้เวลาเล่นนาน เช่น นักวิ่งมาราธอน นักปั่นหรือนักว่ายน้ำทางไกล สังเกตว่าหุ่นของนักกีฬาประเภทนี้จะเพรียวบาง ไม่ได้มีกล้ามเนื้อที่ใหญ่โต    

 

Photo: giphy.com

 

กล้ามเนื้อกระตุกเร็ว

กล้ามเนื้อชนิดนี้จะหดตัวเร็วและให้แรงมากกว่า มีสีขาวเพราะเติบโตจากโปรตีนและมีไฟเบอร์ขนาดใหญ่ อาศัยพลังงานจากกลูโคสที่ได้จากแป้งและน้ำตาล การเติบโตของกล้ามเนื้อประเภทนี้ได้แก่การฝึกด้วยแรงต้าน เช่น การยกเวต เหมาะสำหรับกิจกรรมที่ต้องการพละกำลังมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น และจบลงทันที เช่น การทุ่ม การเหวี่ยง วิ่งแซง กีฬาที่เหมาะกับกล้ามเนื้อประเภทนี้ได้แก่ นักยกน้ำหนักโอลิมปิกลิฟติ้ง นักกอล์ฟ นักวิ่งเร็ว นักกระโดดไกล หรือนักฟุตบอล

 

Photo: giphy.com

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีแบบไหนเยอะ

วิธีเช็กที่ใช้กันกว้างขวางที่สุดได้แก่การยกเวต เริ่มจากการหาน้ำหนักที่ยกได้มากที่สุด (One Rep Max) ในท่าสควอช (อันที่จริงท่าไหนก็ได้เหมือนกัน) จากนั้นให้ลดน้ำหนักลงเหลือ 80% แล้วนับว่าคุณยกได้กี่ครั้ง หากได้ต่ำกว่า 7 ครั้ง เป็นไปได้ว่าคุณจะมีกล้ามเนื้อหดเร็วมากกว่า หากอยู่ระหว่าง 10 ครั้งเรียกได้ว่ามีอย่างละครึ่งๆ แต่หากยกได้ 15-20 ครั้งถือว่าคุณเป็นประเภทกล้ามเนื้อหดช้า

 

การรู้ว่ามีกล้ามเนื้อประเภทไหนมาก สามารถบอกได้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเก่งทางด้านไหน หากมีกล้ามเนื้ออึดเยอะก็มีแววว่าจะเป็นนักวิ่งมาราธอนที่ดี ดีกว่าหันไปเอาดีกับการวิ่งสปรินต์หรือวิ่งเร็วๆ แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะทำไม่ได้เลยหรอกนะ เพียงแต่ทำได้ไม่ดีเท่ากับกลุ่มที่มีกล้ามเนื้อกระตุกเร็วมากกว่า ถ้าถามว่าหากอยากวิ่งให้เร็วขึ้นจะไม่ได้เลยหรือ? คำตอบคือ ‘ได้’ แต่คุณก็ต้องฝึกกล้ามเนื้อกระตุกเร็วให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

อันที่จริงผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำให้คุณฝึกกล้ามเนื้อทั้งสองประเภทนี้ควบคู่กัน เพราะร่างกายคนเราทำงานอย่างสอดประสาน ในหนึ่งกิจกรรมอาจใช้กล้ามเนื้อทั้งสองประเภท เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ ร่างกายควรสั่งการได้อย่างอัตโนมัติ ดังนั้นการที่คนจะเก่ง คุณต้องมีสัดส่วนกล้ามเนื้อทั้งสองประเภทในปริมาณที่เหมาะเจาะกับกิจกรรมนั้นๆ ด้วย

 

Photo: giphy.com

 

*พรแสวงคือพรสวรรค์อย่างหนึ่ง *

ทีนี้กลับมาที่คุณกับเพื่อน แน่นอนว่ากล้ามเนื้อที่ไม่เท่ากันย่อมส่งผลต่อสมรรถภาพ (performance) ในการทำกิจกรรม แต่ก็อย่าไปโทษว่าเป็นเพราะพันธุกรรมที่ทำให้คุณวิ่งหรือออกกำลังกายได้ไม่ดี เพราะดังที่บอกว่าถ้าเรารู้ว่าด้อยตรงจุดไหน เราก็เสริมส่วนนั้น เรื่องนี้ไม่ต้องรอให้ยอดโค้ชมาบอกก็ยืนยันได้ ว่านอกจากพันธุกรรมยอดมนุษย์แล้ว สิ่งที่เหนือกว่าคือวินัยและการหมั่นฝึกซ้อมนั่นเอง

 

เพราะพันธุกรรมเป็นเพียงแต้มต่อ พรแสวงต่างหากที่จะนำพาคุณไปสู่ความสำเร็จ เช่นเดียวกับสิ่งที่ คริสเตียโน โรนัลโด ทำตลอดชีวิตการเป็นนักฟุตบอล เขาเริ่มจากการเป็นนักเตะที่ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เท่านักเตะคนอื่นๆ ที่เกิดมาพร้อมพันธุกรรมและพรสวรรค์ชั้นเลิศ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครพีกสุดเท่าโรนัลโด เคล็ดลับของเขาง่ายมาก แค่ซ้อมบ่อยกว่าคนอื่นและก้าวออกจากสนามฝึกเป็นคนสุดท้ายเสมอ   

 

Cover Photo: Nisakorn Rittapai 

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0