โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เมื่อผู้ก่อตั้ง (ถูกสถานการณ์บังคับให้​) อำลาเวที

HealthyLiving

อัพเดต 17 ม.ค. 2561 เวลา 08.34 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 08.00 น. • Healthy Living
SMART???STA RT??? การกับคุณนว??_Thu mbnail​.jpg

เคยชมภาพยนตร์เรื่อง The Founder กันไหมคะ ชอบไหม

        ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอประเด็นชวนคิดหลายเรื่อง ทั้งในเรื่องการทำธุรกิจ การขยายกิจการ และเรื่องชีวิตครอบครัว ถ้ายังไม่ได้ชม ชมจบแล้วกลับมาอ่านต่อน่าจะได้รสมากขึ้น
        

        ใคร ๆ ก็บอกว่า เรื่อง The Founder เป็นเรื่องของกิจการแม็คโดนัลด์ แฮมเบอร์เกอร์ที่ผู้คนทั่วโลกรู้จัก แต่ชมภาพยนตร์จบแล้วต้องหวนคิดใหม่ว่า ในท้ายที่สุด ใครเป็นผู้ก่อตั้งกิจการกันแน่

        ชายคนหนึ่งมีความทะเยอทะยานแรงกล้า เมื่อพบกับสองพี่น้องที่มีร้านอาหารชื่อแม็คโดนัลด์ ในเมืองชนบทไกลลิบจากแสงสีของมหานคร เขาติดใจในจุดเด่นของกิจการนี้ คือการทำงานอย่างได้ประสิทธิผล ทำอาหารได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยระบบงาน จึงขอแฟรนไชส์ไปเปิดในย่านมิดเวสต์ที่เขาอยู่ โดยยอมตามเงื่อนไขคุณภาพของเจ้าของเดิมทุกประการ (และตอนท้าย ๆ เรื่องยังเผยด้วยว่า เรื่องอื่น ๆ เขาพอจะลอกเลียนได้ แต่ที่ชอบมากจริง ๆ และหยิบไปเฉย ๆ ไม่ได้คือชื่อ “แม็คโดนัลด์” จึงต้องมาขอฟรานไชส์)

 

        เรื่องนี้เน้นประเด็นหลัก 2 ประเด็นคือ (1) ความบากบั่น วิริยะ ขยันหมั่น ความเพียรไม่ยอมแพ้ เขาใช้คำว่า persevere กับ (2) เป้าหมายที่มุ่งไปให้ถึง

        ตัวละครสองกลุ่ม (3 คน) ในเรื่องมีเป้าที่แตกต่างกันอย่างยิ่ง สองคนพี่น้องป็นคนพื้นที่ ให้ความสำคัญกับคุณภาพ ส่วนอีกคนหนึ่งที่มาจากสายงานขาย เขาวาง positioning ของร้านอาหารโดยมีเป้าหมายทะเยอทะยานว่า จะทำให้ America great จะขยายกิจการไปทั่วประเทศ และทั่วทั้งโลก ในระหว่างที่เน้นปริมาณ ก็ลดหย่อนเรื่องคุณภาพของอาหารลง ใช้ของเทียมและของแทน เพื่อให้ทำงานได้เร็ว ถูก และขยายได้ง่าย

        ระหว่างสองพวกนี้ คุณคิดว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในธุรกิจการขายอาหารแบบ fast food

        เมื่อกิจการดำเนินต่อไปได้ระยะหนึ่ง กิจการของผู้รับแฟรนไชส์ก็ใหญ่กว่าของเจ้าของแฟรนไชส์ และยังต้องการทำอะไรอีกหลาย ๆ อย่างนอกเงื่อนไขอันรัดรึงของสัญญาว่าด้วยคุณภาพ ทั้งสองคุยกันแบบคู่คิดไม่ได้เพราะโลกทัศน์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างคนชนบท กับคนเมืองใหญ่ ระหว่างคนที่เน้นคุณภาพกับคนที่เน้นยอดขาย ระหว่างคนที่เน้นครอบครัวกับคนที่ไม่สนใจเรื่องความผูกพันของครอบครัว (เห็นว่าน่าเบื่อด้วยซ้ำ) ในตอนจบแม็คโดนัลด์ของพี่น้องแม็คโดนัลด์ก็ตกเป็นของผู้รับแฟรนไชส์
        

        เรื่องที่ชวนคิด ชวนตั้งข้อสังเกตและควรระวัง สำหรับผู้ก่อตั้งกิจการมีหลายประเด็น ที่ชัดเจนมากก็คือ

        1. ในเชิงธุรกิจ สัญญาสำคัญ แต่สัญญาไม่ว่าจะรัดกุมเพียงใด ในท้ายที่สุดเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน สัญญาก็เปลี่ยนไปได้แบบผกผัน ความได้เปรียบอยู่กับฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่า และรู้กฎหมายมากกว่า (เจ้าเล่ห์มากกว่าด้วยกระมัง)

        2. สไตล์การทำกิจการผสมผสานกับจุดยืนส่วนบุคคลที่มีความพอใจ เป้าหมาย และคุณค่า แตกต่างกัน ทำให้วัดความถูกผิดกันคนละฐาน ดูจบครั้งแรกก็ทำใจยากที่จะไม่เข้าข้างฝ่ายที่พ่ายแพ้ แต่ก็ต้องทำใจให้ได้ว่า โลกเป็นอย่างนี้ คนทำธุรกิจต้องเท่าทัน ไม่ให้พลาดพลั้ง เพราะไม่มีใครจะปกป้องคุณ นอกจากตัวคุณเอง

        3. ในด้านครอบครัว ระหว่างคู่พี่น้องที่รักกันทำงานร่วมกันจนถึงวันปิดกิจการ กับอีกคนหนึ่งที่ทุกอย่างเป็นธุรกิจ เขาทิ้งภรรยาที่เป็นแม่บ้าน มีวงสังคมแบบ country club ของตนเอง ที่อาจจะสนับสนุนกิจการของสามีได้เท่าที่เธอทำเป็น (ซึ่งจำกัด) ไปหาหญิงคนใหม่ที่มีคู่เป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว เพราะเธอเป็นคู่คิด คู่ท้าทาย การที่ชายคนหนึ่งทิ้งภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากไปหาสตรีคนใหม่เมื่อชีวิตเปลี่ยนไป มีให้ได้ยินสม่ำเสมอทั้งในชีวิตจริงและในนวนิยาย เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่คนนอกที่เฝ้าดู ยากที่จะทำตนเป็นผู้ตัดสินถูกผิดกับเรื่องของใจ

 


เพิ่มช่องทางการรับข่าวสารและข้อมูลดี ๆ ผ่าน Line Official AZAYfan ที่จะช่วยทำให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ได้ที่

 

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0