โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เพราะ 8 ข้อนี้เองหรอ ที่ทำให้เรา นอนกรน จนพักผ่อนไม่เพียงพอ

MThai.com - Health

เผยแพร่ 09 ต.ค. 2560 เวลา 01.00 น.
เพราะ 8 ข้อนี้เองหรอ ที่ทำให้เรา นอนกรน จนพักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการ นอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น วันนี้เราจะพามาดูกันว่าแท้จริงแล้ว มันเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่

อาการ นอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเจอ รวมถึงไม่อยากเป็นด้วย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอาการนอนกรนกันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร แล้วเราจะสามารถแก้ไขมันได้อย่างบ้าง?

เสียงกรน คือ เสียงการสั่นพลิ้วสะบัดของลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน และช่องคอส่วนบน เกิดเมื่อมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ในวัยกลางคน (30-60 ปี) พบภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจได้ ประมาณ 4% ในผู้ชาย และ 2% ในผู้หญิง

การนอนกรน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. การนอนกรนธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังรบกวนต่อคนรอบข้าง

  2. การนอนกรนร่วมกับภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีภาวะหยุดหายใจหรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย เสียงกรนในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอ มีเสียงกรนและหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งในช่วงที่มีภาวะหยุดหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือดแดงอาจจะต่ำลงกว่าปกติ ทำให้หัวใจ ปอด และสมองทำงานหนักมากขึ้น อาจมีสะดุ้งตื่นกลางดึก ทำให้การหลับพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อตื่นนอนผู้ป่วยจะรู้สึกว่านอนไม่พอ

อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น ได้แก่ มีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงกลางวัน สมาธิไม่ดี และมีปัญหานอนกรน ทั้งนี้อาจพบอาการอื่นได้ ได้แก่

  • ตื่นนอนด้วยความรู้สึกที่ไม่สดชื่น
  • มีอาการหายใจไม่ออกขณะหลับ
  • มีการหยุดหายใจขณะหลับและนอนกระสับกระส่าย (โดยได้ประวัติจากคนใกล้ชิด)
  • เจ็บคอ คอแห้งเมื่อตื่นนอน
  • หงุดหงิดง่าย บุคลิกภาพเปลี่ยน
  • ปัสสาวะรดที่นอน (มักจะพบในเด็ก)
  • ความต้องการทางเพศลดลง และมีผลต่อสุขภาพ เช่น
    – โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
    – ภาวะตีบตันของหลอดเลือดในสมอง
    – ความดันโลหิตสูงของหลอดเลือดในปอด

ปัจจัยที่ทำให้อาการกรนมากขึ้นและมีภาวะอุดตันทางเดินหายใจ

  1. น้ำหนักตัวมากขึ้น ทำให้ไขมันสะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น ช่องทางเดินหายใจจึงแคบลง

  2. เพศชาย เพราะเชื่อว่าฮอร์โมนเพศหญิงทำให้ช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวที่ดีกว่า ฉะนั้นเพศชายมีแนวโน้มจะมีอาการกรนและมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจมากกว่าเพศหญิง

  3. อายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบนจะตึงตัวน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น

  4. เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และยาบางชนิดกดการตอบสนองของร่างกายต่อภาวะขาดออกซิเจน และภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้กล้ามเนื้อของช่องทางเดินหายใจยุบตัวง่ายขึ้น

  5. การสูบบุหรี่ ทำให้ช่องทางเดินหายใจอักเสบ หนาตัวและมีเสมหะมากขึ้น

  6. โครงสร้างกระดูกใบหน้า เช่น กระดูกแก้มที่แบนหรือคางที่เล็กและยื่นไปข้างหลัง

  7. โรคทางช่องจมูก เช่น ภูมิแพ้อากาศ ริดสีดวงจมูก ผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกบวม

  8. ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

แนวทางการรักษา

  1. ปรับสุขภาพอนามัยการนอนหลับ นอนพักผ่อนเป็นเวลาทุกวัน ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนหลับ

  2. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย

  3. หลีกเลี่ยงในท่านอนหงาย

  4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บุหรี่ และยานอนหลับ หรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง

  5. ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะนอนหลับ CPAP (Continuous Posititve Airway Pressure) ซึ่งเครื่องจะอัดอากาศที่เหมาะสม ทำให้ช่องทางเดินหายใจกล้างขึ้น Oral applicances เป็นเครื่องมือทางทันตกรรม ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น

  6. การผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามตำแหน่งที่มีภาวะอุดตัน

  7. ช่องจมูกและหลังโพรงจมูก เช่น ผ่าตัดริดสีดวงจมูก ผ่าตัดผนังจมูกให้ตรง ลดขนาดของเยื่อบุจมูกบวมด้วยเครื่องซอมโนพลาสตี้ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction)

  8. ผ่าตัดทอนซิลและตกแต่งบริเวณลิ้นไก่เพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplarty (UPPP)

  9. ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น Maxillo-Mandibular Advancment (MMA)

ที่มา : www.praram9.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0