โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ประชุม7ชม.เคาะค่าจ้างขั้นต่ำทั่วปท.5-22บาท กทม.สูงสุด330บาท เริ่ม1เม.ย.นี้

JS100

เผยแพร่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 16.47 น. • JS100:จส.100
ประชุม7ชม.เคาะค่าจ้างขั้นต่ำทั่วปท.5-22บาท กทม.สูงสุด330บาท เริ่ม1เม.ย.นี้
ประชุม7ชม.เคาะค่าจ้างขั้นต่ำทั่วปท.5-22บาท กทม.สูงสุด330บาท เริ่ม1เม.ย.นี้

หลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) ที่มีวาระการหารือเรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศนานเกือบ 7 ชม. นาย จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการค่าจ้าง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างที่มีตัวแทนลูกจ้าง ตัวแทนนายจ้าง และตัวแทนรัฐบาล ได้ข้อสรุปว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด โดยแบ่งการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกเป็น 7 ระดับ โดยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 5-22 บาท จังหวัดที่มีค่าจ้างต่ำสุดคือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีค่าจ้างอยู่ที่ 308 บาท เเละเพิ่มไล่ระดับมาที่ 310, 315, 318, 320 และ 325 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีค่าจ้างอยู่ที่ และค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดที่ 330 บาท ในจ.ภูเก็ต จ.ชลบุรี และจ.ระยอง เฉลี่ยแล้วอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะอยู่ที่ 315.97 บาท โดยค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป สำหรับการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดนั้น นาย จรินทร์ ยืนยันว่า ใช้เกณฑ์วัดจากศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดเป็นตัวกำหนดหลัก และยืนยันว่าเป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบจากการเห็นพ้องต้องกันของทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง และจากนี้จะนำข้อสรุปเสนอให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานพิจารณาเห็นชอบ และนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าครม.ได้ภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้มีการเสนอแนวคิด 3 ประการ เพื่อหวังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในอนาคตที่อาจมีการนำมาปรับใช้จริงในไม่กี่ปีข้างหน้า ประการแรก คือ การเสนอให้มีค่าจ้างลอยตัวในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่นำร่อง ประการสอง คือ ให้บริษัทที่มีลูกจ้างมากกว่า 50 คนควรมีการประกาศโครงสร้างเงินเดือนและการปรับขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้างทราบ ประการสาม คือ เสนอให้ลดหย่อนภาษีผู้ประกอบการ 1.5 เท่าจากค่าจ้างแรงงานทั้งหมดในบริษัท ส่วนที่การประชุมในวันนี้ใช้เวลาพิจารณานานกว่า 7 ชม.นั้น เป็นเพราะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆให้รอบคอบและหาจุดที่ลงตัวที่สุดของทุกฝ่าย อีกทั้งยืนยันว่าค่าจ้างขั้นต่ำมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นเสมอ เนื่องจากเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป และเชื่อว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้กับทุกฝ่ายในการปรับตัวด้วย ธีรวัฒน์ สิทธิเกรียงไกร ผสข.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0