โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

aomMONEY

อัพเดต 04 ธ.ค. 2560 เวลา 04.53 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2560 เวลา 05.18 น. • TAXBugnoms
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

ในฐานะที่ทำงานด้านบัญชีและภาษีมานานเกิน 15 ปี (หรือพูดง่ายๆว่าแก่) พ่วงด้วยประสบการณ์ทำเพจ TAXBugnoms อีกเกือบๆ 10 ปี รู้ไหมครับว่าคำถามที่ผมได้รับจากคนสองกลุ่ม ระหว่าง “คนที่ไม่อยากเสียภาษี” กับ “คนที่อยากเสียภาษี” คนกลุ่มไหนมีจำนวนที่มากกว่า

แหม่.. ถามไม่คิด ที่นี่ประเทศไทย เมืองพุทธ คำถามก็ต้องมาจากคนที่ไม่อยากเสียภาษีมากกว่าอยู่แล้วสินะอีพรี่หนอม (ฮ่าๆ ถูกต้องนะครับ) เลยเป็นที่มาของบทความในตอนนี้ กับหัวข้อ อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้ นั่นแหละครับ

อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

ไม่อยากเสียภาษีไม่ใช่เรื่องผิด แต่ไม่ยอมเสียภาษีคือความผิด

สิ่งแรกที่ต้องแยกจากกันอย่างเด็ดขาด คือ “ความรู้สึก” กับ “กฎหมาย” ครับ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่อยากเสียภาษีด้วยเหตุผลส่วนตัวที่มีมากมาย ซึ่งความรู้สึกที่ว่านั้นมันไม่ใช่ความผิด แต่ในขณะเดียวกันการที่เราเลือกไม่เสียภาษีทั้งๆที่มีหน้าที่ต้องเสียนั้น ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายและอาจจะมีปัญหากับเราได้ครับ

โดยผลของความรู้สึกที่ว่านี้แหละครับ เลยนำพาปัญหาต่างๆมาให้อีกมากมาย ทั้งเรื่องของการหลบเลี่ยงภาษี โดยพี่สรรพากรตรวจสอบแล้วต้องจ่ายภาษีเพิ่ม โดนที่ปรึกษาแนะนำแบบผิดๆ แล้วมีปัญหา ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ว่าทั้งหมดนี่แหละครับ

อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

อยากแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่หา Why

ผมลองใช้หลักการตามแนวคิดหนังสือ Start With Why ของ Simon Sinek ที่แพร่หลายทั่วโลก มาตั้งคำถามว่า “ทำไมเราต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง” คำตอบที่เราได้รับนั้นจะมีทั้งแง่ลบและแง่บวกดังนี้ครับ

1.  ประหยัดภาษี คือ การประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะภาษีถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญ และเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนอยากจะจัดการมัน เพราะว่าถ้าสามารถจัดการได้ครั้งหนึ่งแล้ว ก็จะสามารถจัดการได้ตลอดไปครับ

2.  ทำผิดกฎหมาย คือ ความเสี่ยงในการเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังสำหรับการจัดการเรื่องภาษี คือ การหนีและการทำไม่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้หมายความรวมถึงไม่ใส่ใจ ไปจนถึงใช้วิธีการแบบผิดๆ ในการจัดการภาษี ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว มันจะกลายเป็นว่า เราเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการภาษีมากขึ้นแทนครับ

อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

เมื่อได้เหตุผลถึงข้อดีและข้อเสียแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อคือจัดการอย่างถูกต้องครับ โดยผมแนะนำกรอบในการจัดการง่ายๆ อยู่ 3 ข้อตามนี้ครับ คือ

1.       รู้ข้อมูลการเงินทั้งหมด : สิ่งที่ต้องรู้ตัวแรก คือ ตัวที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษี นั่นคือ รายได้ ค่าใช้จ่าย หรือรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีก่อนครับ

2.       รู้ว่าเสียภาษีเท่าไร : ต่อมาคือคำนวณภาษีได้ เข้าใจว่ามีอะไรทีต้องเสีย แค่ไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งตรงนี้สามารถทำได้เองก็จะดีมากๆครับ

3.       รู้ว่าจะประหยัดภาษีอย่างไร : สุดท้ายคือรู้ว่าจะประหยัดภาษีตามกฎหมายได้อย่างไร โดยเน้นไปที่ความถูกต้องของการวางแผนภาษีครับ

หลายคนคงคิดว่า 3 ข้อนี้ เป็นขั้นตอนง่ายๆ ซึ่งทุกวันนี้ทำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมจะถามเพิ่มคือ แน่ใจแล้วใช่ไหมว่าที่ทำอยู่นั้นมันคือสิ่งที่ถูกต้องจริงอย่างที่ควรจะเป็น ถ้าใช่ก็ยินดีด้วยครับ คุณมาถูกทางแล้วครับผม แต่ถ้าหากยังสับสนว่าใช่หรือไม่ สิ่งที่ต้องถามตัวเองต่อไปคือ แล้วเราจะแก้ไขยังไงให้ถูกต้องครับ

อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้
อย่าคิดว่าชีวิตจะดี ถ้ายังหนีภาษีอยู่แบบนี้

สรุปแล้วชีวิตจะดีได้อย่างไร?

จะเห็นว่าจริงๆ แล้วชีวิตไม่ได้ดีขึ้นเพราะจำนวนภาษีที่ประหยัดได้ หรือ สามารถจัดการไม่ต้องจ่ายภาษีได้หรอกครับ แต่ชีวิตเรานั้นจะดีขึ้นด้วยการที่ทำความ “เข้าใจ” และมี “ทัศนคติ” ที่ดีในการจัดการภาษีต่างหากครับ เพราะถ้าหากเรารู้ว่ารายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร และภาษีที่ต้องเสียเป็นเท่าไรอย่างถูกต้องแล้ว บางทีเราอาจจะไม่ต้องประหยัดภาษีด้วยซ้ำครับผม

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่พรี่หนอมอยากจะฝากไว้ให้คิดสำหรับแนวคิดในการจัดการภาษีครับ เพราะโลกในทุกวันนี้เดินทางมาไกลมากแล้ว สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ นั้นไม่ได้หยุดอยู่แค่การเดินตามหรือหาทางลัด แต่มันคือการเริ่มจากการค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมกับตัวเองได้อย่างถูกต้องต่างหากครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0