โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

หนาวใจยังไม่น่ากลัวเท่า! 5 โรคที่มากับอากาศเย็นๆ ใครเป็นหาหมอด่วน

Spiceee.net

เผยแพร่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 01.46 น. • Ploynil Chitima
www.purelyb.com
www.purelyb.com

ฤดูหนาวมาเยือนทีไร นอกจากหนาวใจและหนาวกายแล้ว สาวๆ Spice หลายคนที่แพ้อากาศหนาวๆ แบบนี้ ยังถูกโรคที่มากับอากาศเย็นๆ ทำร้ายเอาด้วย แทนที่จะได้ฟินกับความหนาวปีละครั้ง กลายเป็นทุกข์ทรมานไปกับโรค จนต้องถ่อสังขารไปหาหมอบ่อยๆ จะจีบหมอเรอะก็ไม่ใช่สักหน่อย

Spice จะพาสาวๆ ไปรู้จักและเตรียมพร้อมป้องกัน 5 โรคที่มากับอากาศเย็นๆ ช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ใครไม่อยากเป็นต้องอ่านนะจ๊ะ

i.hurimg.com
i.hurimg.com

#5 โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

www.minden.jp
www.minden.jp

ไข้หวัด (Common Cold) เกิดจากเชื้อไวรัสหลากหลายสายพันธุ์ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดเพียงชนิดเดียว และเมื่อหายแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไป ส่วนอาการของไข้หวัดก็เป็นที่รู้กันดี คือ ไข้ตัวร้อนเป็นพักๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คอแห้ง อาจเจ็บคอเล็กน้อย ทว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ อาทิเช่น ทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือกล่องเสียงอักเสบ เป็นต้น

ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) จะมีอาการรุนแรงกว่ามาก สามารถติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม หรือหายใจรดกันได้ไม่ต่างจากหวัด โดยอาการที่พบบ่อย คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจมีอาการคัดจมูก เจ็บคอ ซึ่งรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบก็อาจมีอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ด้วย

ure.pia.co.jp
ure.pia.co.jp

การป้องกันโรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่

-หลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด
-ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
-หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
-พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

-นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามงานหนักหรือออกกำลังมากเกินไป
-สวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น หลีกเลี่ยงการถูกฝนหรืออยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น และไม่ควรอาบน้ำเย็น
-อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
-ดื่มน้ำมากๆ และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น โดยควรดื่มน้ำอุ่นเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายและช่วยลดไข้ รวมทั้งช่วยในการทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการมีไข้สูงด้วย
-รับประทานอาหารอ่อนๆ
-ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
-เช็ดตัวลดไข้บ่อยๆ
-สวมผ้าปิดปากและจมูก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และหมั่นล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ
-กลั้วคอบ่อยๆ ด้วยน้ำสะอาด
-หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ภูมิต้านทานโรคน้อย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่

#4 โรคปอดบวม

kawaiibeautyjapan.com
kawaiibeautyjapan.com

โรคปอดบวมนับเป็นอีก 1 โรคน่ากลัวที่มากับฤดูหนาว โดยโรคนี้มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) โดยเมื่อปอดของเราติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่เซลล์ปอด เพื่อกำจัดเชื้อโรค หลังจากนั้นจะมีปฏิกิริยาจากการทำลายเชื้อโรคเกิดขึ้น ทำให้เซลล์ปอดบวมใหญ่ขึ้น เป็นที่มาของคำว่า “ปอดบวม” และเมื่อเชื้อโรคถูกทำลายแล้ว จะก่อให้เกิดหนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ภายในถุงลมปอด ก่อให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจแรงมาก และถ้าหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจเกิดเสียงหายใจดังวี๊ดๆ ได้

ยิ่งไปกว่านั้นโรคนี้ยังสามารถติดต่อกันได้ โดยสามารถแพร่เชื้อได้จนกว่าเชื้อในเสมหะทั้งจากปากและจมูกของผู้ป่วย จะมีปริมาณน้อยและไม่ร้ายแรงพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้อีก ส่วนวิธีการติดต่อนั้น สามารถติดต่อกันได้จากการสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อปนอยู่ จากการสำลัก เช่น สำลักน้ำลายหรืออาหาร จากกระแสเลือด ซึ่งมักเกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่อวัยวะอื่นมาก่อน จากการลุกลามของเชื้อที่ฝังตัวอยู่ในอวัยวะใกล้กับปอด รวมทั้งจากมือของคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง เนื่องจากการไม่ล้างมือก่อนการสัมผัสผู้อื่น

www.tachi-naikashounika.com
www.tachi-naikashounika.com

การป้องกันโรคปอดบวม

-หลีกเลี่ยงการไปหรืออยู่ในสถานที่ที่มีคนมากๆ
-หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
-ไม่ควรให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปีและผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
-ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคไอพีดี

การดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคปอดบวม

-ดื่มน้ำมากๆ แต่ถ้ามีอาการหอบมาก จนรับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และต้องงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก
-พบแพทย์ทันทีที่มีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคปอดบวม

#3 โรคหัดและหัดเยอรมัน

cdn.wittyfeed.com
cdn.wittyfeed.com

โรคหัด (Measles) เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งคนที่เคยติดเชื้อมาแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นโรคนี้ก็มีวัคซีนป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงเกือบ 100% เลยทีเดียว โดย

อาการของโรคหัดจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะก่อนออกผื่น ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยอาการไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ตาแดง หรือตาแฉะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ประมาณ 2-4 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะออกผื่น 1-2 วัน พร้อมอาการจุดขาวๆ เล็กๆ เหมือนเกลือป่น มีขอบสีแดง อยู่ภายในกระพุ้งแก้ม ส่วนบริเวณติดฟันกราม และเมื่อผื่นขึ้นแล้ว จุดเหล่านี้จะหายไป ส่วนระยะออกผื่น จะเริ่มขึ้นบริเวณใบหน้าชิดขอบผม หลังใบหู ก่อนจะกระจายไปตามลำตัว แขน-ขา ผื่นมีลักษณะนูนแดง อาจติดกันเป็นปื้นๆใหญ่ ไม่คัน และเมื่อผื่นขึ้นมาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง จุดสังเกตคือผื่นในระยะแรกจะมีสีแดง ต่อมามีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง เป็นเวลานาน 5-6 วันกว่าจะจางหมด บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุยได้

ส่วนโรคหัดเยอรมัน (German measles) จะมีอาการ 2 ระยะเช่นกัน ได้แก่ ระยะก่อนออกผื่น ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ถึงปานกลาง (ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดกระบอกตาโดยเฉพาะเวลากรอกตาไปด้านข้างและด้านบน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองหลังใบหู คอ หรือท้ายทอยมีขนาดโต คลำได้และเจ็บ ซึ่งในเด็กอาจจะไม่มีอาการในระยะนี้

ขณะที่ระยะออกผื่น ผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน หรือแบนเล็กๆ สีชมพูอ่อน มักแยกกันอยู่ชัดเจนไม่มีการรวมกลุ่มกันแบบโรคหัด โดยผื่นจะเริ่มที่หน้าผากชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น แล้วลงมาที่ลำคอ ลำตัว แขนขา จนทั่วตัวภายใน 1 วัน อาจมีอาการคัน ทว่าจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็น ซึ่งระหว่างเป็นผื่นอาจมีอาการตาแดง น้ำมูกไหลได้

imgcp.aacdn.jp
imgcp.aacdn.jp

วิธีป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน

-ฉีดวัคซีนป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย

วิธีดูแลรักษาตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคหัดและหัดเยอรมัน

-รับประทานยาลดไข้ (พาราเซตามอลเท่านั้น) ยาลดการอักเสบ ยาแก้ปวดข้อ และยาแก้คัน (ตามแพทย์สั่ง)

#2 โรคอีสุกอีใส

charlies-magazines.com
charlies-magazines.com

โรคอีสุกอีใสหรือไข้สุกใส (Chickenpox หรือ Varicella) เป็นอีกโรคที่มากับช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กเล็ก วัยรุ่น และหนุ่มสาว แต่ถ้าเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่าวัยอื่นๆ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากโรคแทรกซ้อน อาทิเช่น ปอดอักเสบ หรือตับอักเสบรุนแรง

อาการของโรคอีสุกอีใสนั้น ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน และต่อมาจะเริ่มมีผื่นแดงที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ ซึ่งจะเป็นผื่นแดงราบก่อนจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสอยู่ภายในและมีอาการคัน ตุ่มน้ำใสมักเริ่มขึ้นที่หนังศีรษะตามไรผมก่อนแล้วจึงลามไปที่ใบหน้า แผ่นหลัง ลำตัว แขนและขา รวมระยะเวลาที่ค่อยๆ ทยอยขึ้นจนเต็มร่างกายโดยประมาณ 4 วัน

conyac.cc
conyac.cc

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคสุกใส
-ไม่ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
-พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส โดยสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 4 ถึง 6 ขวบ โดยปัจจุบันมีวัคซีนรวมของสุกใสและหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) ด้วย

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส

-ผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสส่วนมากจะหายเองได้ แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดโรคแทรกซ้อน
-ดูแลรักษาตามอาการ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาลดไข้เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาลดไข้ชนิดแอสไพริน เนื่องจากทำให้ตับอักเสบรุนแรงได้
-ตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการแกะเกาตุ่มคันสุกใส เพราะนอกจากจะกลายเป็นแผลเป็น อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเล็บและผิวหนังจนเกิดโรคผิวหนังแทรกซ้อนได้ และเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ด้วย
-รับประทานอาหารได้ตามปกติ ทั้งเนื้อนมไข่ เพื่อให้ร่างกายนำไปเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค

#1 โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

www.dreamalittlebigger.com
www.dreamalittlebigger.com

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่สามารถพบได้ทุกๆ ฤดู ทว่าในช่วงฤดูหนาวผื่นชนิดนี้จะมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น โดยอาการของโรคนั่นก็คือผู้ป่วยจะมีอาการคันผิวหนังรุนแรงมาก และมักนำไปสู่การเกาก่อให้เกิดแผลติดเชื้อตามมา ส่วนผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนั้นจะมีลักษณะผื่นเป็นผื่นแดง แห้งลอก อีกทั้งยังมีอาการคันมาก โดยมักเป็นบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา และซอกคอ

นอกจากนี้ยังมีโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดเป็นมัน และมีขอบเขตชัดเจน ซึ่งผื่นชนิดนี้มักเกิดขึ้นบริเวณร่องข้างจมูก หว่างคิ้ว หน้าหู และหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากอากาศในฤดูหนาวทำให้ผิวแห้งนั่นเอง

cdn2.mynvwm.com
cdn2.mynvwm.com

วิธีดูแลและป้องกันการเกิดโรคผื่นผิวหนัง

-ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
-เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ปราศจากน้ำหอม สารกันเสีย และแอลกอฮอล์
-ไม่ล้างหน้าบ่อยและไม่ใช้น้ำอุ่นล้างหน้า แต่หากสาวๆ มีผิวมัน ก็อาจล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องได้
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน
-ทามอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ
-ถ้ามีอาการคันไม่ควรเกา

i1.wp.com
i1.wp.com

รู้จักกับ 5 โรคที่มากับฤดูหนาวและอากาศเย็นๆ กันไปแล้ว สาวๆ Spice ที่กำลังเพลิดเพลินกับอากาศหนาว จนลืมดูแลสุขภาพ ก็อย่าลืมหันมารักษาสุขภาพกันนะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0