โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สรส.ประกาศกร้าว อย่าให้ กสท –ทีโอทีถูกแปรรูป

Manager Online

อัพเดต 23 มี.ค. 2561 เวลา 07.23 น. • เผยแพร่ 23 มี.ค. 2561 เวลา 07.23 น. • MGR Online

วันนี้ (23 มี.ค.) เวลา 09.00 น. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) พร้อมตัวแทนสมาชิก การไฟฟ้านครหลวง การท่าเรือ ร่วมเดินทางมายัง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อคัดค้านการตั้ง 2 บริษัทลูก คือ บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (NGDC Co.) และ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (NBN Co.) หลังจากที่เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมาว่าจะให้การสนับสนุน ร่วมออกแถลงการณ์และต่อสู้กับ 2 รัฐวิสาหกิจด้วย จากนั้นในเวลา 11.30 น. จึงเคลื่อนพลไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล

นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ สรส.ร่วมคัดค้านกับเรา แสดงให้เห็นว่ามันเป็นปัญหาที่ใหญ่และหยุดไม่ได้ ทำไมบริษัทแม่ต้องให้เงิน NGDC Co. ทั้งๆที่พนักงานที่ทำงานเป็นคนของ กสท โทรคมนาคม ตอนนี้ NGDC Co. ทำหนังสือทวงเงินมากับบริษัทแม่แล้ว มันไม่ถูกต้อง

"งานนี้ไม่ใช่งานเล็ก เราต้องสู้กับกลุ่มทุน ตอนนี้เรื่องที่เราฟ้องศาลกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา เราจึงต้องออกมาเคลื่อนไหว เพราะว่าวันที่ 1 เม.ย. ทั้ง 2 บริษัทลูกจะดำเนินการจริง ตอนนี้ทั้งทาง กสท โทรคมนาคม และ ทีโอที ต่างก็เดือดร้อน ทางทีโอที ก็มาจากทั่วสารทิศจากทุกจังหวัดกว่าพันคน มีรถบัส มากกว่า 10 คัน เพื่อเคลื่อนพลไปยังทำเนียบรัฐบาล ซึ่งการไปครั้งนี้ เราเชื่อว่านายกฯ ต้องฟังเรา หากไม่ฟัง เราได้วางแผนร่วมกับ สรส.แล้วว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ เราจะไม่ปิดการประชุมวิสามัญ เราจะชวนพนักงานมาเจอกันอีก"

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส. กล่าวว่า การตั้งบริษัทลูกจะทำให้บ้านเมืองมีอันเป็นไป ทำให้มติที่ประชุม ของ สรส. จะไม่ยอมให้ถูกแปรรูป ตอนนี้เราไม่มีเวลาคิดมาก เพราะการแปรรูปคือการทุจริตเชิงนโยบาย ทุกวันนี้กลุ่มทุน อยู่ทั้งบนดิน ใต้ดิน เต็มไปหมด ผู้บริหารบางคนไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้ามาร่วมคัดค้าน การที่ทีโอที เกิดการย้ายไปเอ็นบีเอ็น ทุกคนต้องลาออกก่อน จะพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทรัพย์สินที่มีค่า ทุกอย่างอยู่ บริษัทใหม่ ก็ไม่รู้เป็นอย่างไร ส่วนที่เก่า ตาย แน่ไม่ คนที่รวยคือนายทุน คลื่นความถี่ในอากาศไม่มีวันหมด ขายได้กำไรมหาศาล ดังนั้น กสท โทรคมนาคม ทีโอที ที่เป็นก้างขวางคอ จึงต้องถูกกำจัด

เมื่อถึงเวลานายทุนจะเข้ามากอบโกย ทุกวันนี้ การไฟฟ้า ถูกบังคับให้ซื้อแพงขายถูก ทุกรัฐวิสาหกิจจะไม่มีเหลือ ถ้าหยุดตั้งบริษัทลูกไม่ได้ สถานการณ์ตอนนี้ทีโอทีและ กสท โทรคมนาคม ลำบาก 2 องค์กรนี้ต้องเริ่มต่อสู้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นไม่ให้รัฐวิสาหกิจอื่นๆถูกแปรรูปตามมา ไม่ว่าจะเป็นยุคนักการเมืองจากการเลือกตั้ง หรือ มาจากอำนาจพิเศษ ล้วนแต่โกงทั้งสิ้น ตรงนี้เป็นเส้นใยบางๆ ฟางเส้นสุดท้าย ของเรา เราไม่มีเป้าประสงค์ทางการเมือง หรือขับไล่รัฐบาล

“การทำแบบนี้ ไม่ดี เราบอกนายกฯ หลายรอบ เพราะท้านบอกว่ามีอะไรให้บอก แล้วท่านก็ยังเดินหน้าต่อ หลังท่านยึดอำนาจท่านก็บอกว่าจะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้แปรรูป แต่การตั้ง บ.ลูก มันคือ การแปรรูป การไปทำเนียบฯ ครั้งนี้จึงไม่ใช่ขับไล่รัฐบาล การจะไปหรือไม่อยู่ที่รัฐบาลเอง แต่เราต้องการปกป้องผลประโยชน์ของบ้านเมือง”

ด้านนางสาวรสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า การทุจริตเชิงนโยบายคือการทุจริตที่รุนแรงที่สุด การโอนถ่ายทรัพย์สิน มีอยู่ตลอดเวลา การผ่าท้องเอาไข่ทองคำออกไปจากห่าน ห่านจะมีชีวิตได้อย่างไร อย่าลืมว่าการประเมินทรัพย์สิน มีการประเมินต่ำกว่ามูลค่าจริง ดังนั้นสหภาพฯมีอำนาจ รัฐบาลเขารู้สึกหวั่นไหว ถ้าสหภาพฯสู้ ดังนั้นถ้า กสท โทรคมนาคม และ ทีโอที ยอม รัฐวิสาหกิจอื่นก็จะถูกแปรรูปด้วย

“จริงๆเรื่องนี้ไม่ควรทำในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) แทนที่รัฐบาลจะช่วยรัฐวิสาหกิจ แต่กลับออก ม.44 ช่วย ทรู และ เอไอเอส ในการขยายงวดชำระประมูลคลื่น แต่กลับไม่ช่วยรัฐวิสาหกิจ ถ้าเขาเอาทรัพย์สินไปปั่นหุ้นในตลาด ใครจะรับผิดชอบ เพราะเขาเอาสิ่งที่ดีที่สุดเอาไปให้เอกชนแล้ว ”

ส่วนบรรยากาศของการประชุมสามัญประจำปีทีโอที มีพนักงานกว่า 1,000 คน ที่นอกจากจัดการประชุมประจำปีแล้วยังกระจายกำลังไปทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และห้องกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานกรรมการบริษัททีโอที แต่ไม่มีผู้บริหารคนไหนอยู่เพื่อรับหนังสือคัดค้านดังกล่าว มีเพียงนายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย มาพบพนักงานในช่วงเช้าเท่านั้น

ด้านนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าวยืนยันว่า การตั้งบริษัทลูกทั้ง 2 บริษัทนั้น ทั้ง 2 บริษัทยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้เป็นเอกชน เขาจะขายทรัพย์สินให้เอกชนไม่ได้ ตอนนี้การประเมินทรัพย์สินของทั้ง 2 บริษัท อยู่ในขั้นตอนประเมินทรัพย์สินทางบัญชี ซึ่ง คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ให้กลับไปประเมินทรัพย์สินตามความเป็นจริงอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้สภาพการแข่งขันด้านโทรคมนาคมมันเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะแข่งขันได้อย่างไร เรื่องนี้ทั้งผู้บริหารและกรรมการบริษัททั้ง 2 บริษัท ก็เห็นชอบ และเดินหน้าทำตามแนวคิดดังกล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0