โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ภาษี จ่ายแล้วไปไหน?

The MATTER

อัพเดต 20 มี.ค. 2561 เวลา 17.18 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. 2561 เวลา 12.10 น. • Quick Bite

ซื้ออาวุธเหรอ? ก็ใช่นะ เป็นเงินเดือน คสช. ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีเลือกตั้งหรือเปล่า? ก็ใช่อีกนั่นแหล่ะ เป็นค่าจ้างทำรายการเดินหน้าประเทศไทยวัยทีน? ไม่ผิดหรอก

แต่นอกเหนือจากรายการต่างๆ ข้างต้น รายได้ของรัฐบาลที่ส่วนใหญ่มาจากเงิน 'ภาษีของประชาชน' ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อยู่ด้วย อยากรู้หรือเปล่าว่ามีอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้เข้ามาใกล้ๆ The MATTER จะเอาข้อมูลมากาง

แล้วเล่าให้ฟังแบบเข้าใจไม่ยากนัก

ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 (ระหว่างเดือน ต.ค.2560 – เดือน ก.ย.2561) ได้กำหนดงบประมาณของรัฐบาลไว้ที่ 2,900,000 ล้านบาท

ถ้าใช้ภาษาราชการจ๋า งบแต่ละปีจะถูกใช้จ่ายแยกไปตาม กลุ่มงาน รวม 5 กลุ่มใหญ่ๆ แบ่งเป็น

กลุ่มงบประมาณรายจ่าย กระทรวง/หน่วยงาน = 577,064 ล้านบาท กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ = 572,482 ล้านบาท กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ = 370,324 ล้านบาท กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ = 260,819 ล้านบาท กลุ่มงบประมาณแผนงานบุคลากรภาครัฐ = 1,021,488 ล้านบาท สำหรับคนทั่วไปอ่านรายการใช้จ่ายงบด้านบนก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร (แม้แต่เราเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก) อย่ากระนั้นเลย ถ้าแยกเป็น ลักษณะงาน เด่นๆ น่าจะทำให้เข้าใจกับง่ายขึ้นเนอะ

งบการศึกษา = 523,569 ล้านบาท งบสวัสดิการผู้สูงอายุ = 258,593 ล้านบาท งบกองทัพ = 214,591 ล้านบาท งบการขนส่ง = 202,453 ล้านบาท งบสาธารณสุขอื่น (ซึ่งรวมถึงบัตรทอง) = 167,449 ล้านบาท งบโรงพยาบาล = 125,394 ล้านบาท งบตำรวจ = 118,230 ล้านบาท ที่เหลือคืองบในลักษณะงานอื่นๆ แต่หากแยกเป็นงบตามประเภทที่จ่ายๆ ที่โดดเด่นที่สุดคือเงินเดือนข้าราชการและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่รัฐ = 626,181 ล้านบาท คิดเป็น 22% มากกว่างบลงทุน = 492,439 ล้านบาท ที่คิดเป็น 16%

หรือถ้าแยกเป็นกระทรวง ตามประเพณีนิยม กระทรวงที่ได้งบสูงสุด 5 ลำดับแรกจะประกอบด้วย 1.กระทรวงศึกษาธิการ 507,947 ล้านบาท (17.5%) 2.งบกลาง 415,583 ล้านบาท (14.3%) 3.กระทรวงมหาดไทย 354,303 ล้านบาท (12.2%) 4.กระทรวงการคลัง 238,241 ล้านบาท (8.2%) และ 5.กระทรวงกลาโหม 220,523 ล้านบาท (7.6%)

และถ้าแยกรายจังหวัด จังหวัดที่ได้งบสูงสุด 5 ลำดับแรกจะประกอบด้วย 1.กรุงเทพฯ 1,758,500 ล้านบาท (คิดเป็น 60.2%) 2.ส่วนกลาง 413,083 ล้านบาท (14.2%) 3.นนทบุรี 189,413 ล้านบาท (6.5%) 4.นครปฐม 32,306 ล้านบาท (1.1%) และ 5.เชียงใหม่ 24,953 ล้านบาท (0.86%)

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบย้อนหลัง โครงการจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุดในปีงบประมาณ ช่วง คสช. เข้ามาตลอด 4 ปีหลังจะประกอบด้วย ปี 2558 โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 70,624 ล้านบาท ปี 2559 โครงการจัดหาวิทยุสื่อสาร 3,408 ล้านบาท ปี 2560 โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ 13,481 ล้านบาท (กองทัพเรือ) และปี 2561 โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 4,260 ล้านบาท (ขสมก.)

อ่านถึงบรรทัดนี้ รู้กันแล้วหรือยังว่า ภาษีที่เราจ่าย แม้บางส่วนอาจรู้สึกว่ามันถูกใช้ไปแบบไม่คุ้มค่านัก แต่ส่วนใหญ่ก็ถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

หายสงสัยกันหรือยังว่า ภาษีที่พวกเราจ่ายกันในรูปแบบต่างๆ จ่ายแล้วไปไหน?

Illustration by Naruemon Yimchavee

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0