โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ปรากฏการณ์น่าเป็นห่วง! โลกร้อนทำเต่าตนุเกิดใหม่เป็นเพศเมีย 99%

Khaosod

อัพเดต 17 ม.ค. 2561 เวลา 12.29 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 09.55 น.
turtle
IUCN

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. นายเพชร มโนปวิตร รองหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) กล่าวถึงผลการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่สุด ว่า ลูกเต่าเกิดใหม่กลายเป็นตัวเมียเกือบทั้งหมด หรือ ราว 99% น่ากังวลว่าสัดส่วนระหว่างเพศที่ผิดปกติเช่นนี้จะคุกคามประชากรเต่าทะเลในอนาคตอันใกล้

งานวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง NOAA California State University และ WWF Australia ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology ระบุว่า ปรากฏการณ์โลกร้อนส่งผลต่อประชากรเต่าตนุดังกล่าว ในเกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) ประเทศออสเตรเลีย พื้นที่ที่มีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก

งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาประชากรเต่าที่มีลักษณะแตกต่างทางพันธุกรรมสองกลุ่มใน เกรท แบริเออร์ รีฟ แล้วพบว่าประชากรเต่าตนุทางตอนเหนือ ซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ 200,000 ตัวในปัจจุบันเป็นตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ โดยลูกเต่าและเต่าวัยรุ่นทั้งหมดเป็นตัวเมียกว่า 99% ในขณะที่ตัวเต็มวัยก็เป็นตัวเมียถึง 87% ในขณะที่ประชากรทางตอนใต้ก็มีสัดส่วนตัวเมียเกือบ 70%

นักวิทยาศาสตร์ พบว่า หากอุณหภูมิของหาดทรายต่ำกว่า 27.7 องศาเซลเซียส ลูกเต่าจะฟักออกมาเป็นตัวผู้ แต่หากอุณหภูมิสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ลูกเต่าที่ฟักออกมาจะเป็นตัวเมีย แต่หากอุณหภูมิอยู่ระหว่างช่วงดังกล่าว จะทำให้ได้ลูกเต่าทั้งสองเพศผสมกันไป ยิ่งอุณหภูมิของหาดทรายสูงขึ้นเท่าไหร่ สัดส่วนของเต่าตัวเมียต่อเต่าตัวผู้ก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

จากข้อมูลเต่าทะเลและอุณหภูมิในปัจจุบัน พบว่า ประชากรเต่าทะเลทางตอนเหนือของ เกรท แบริเออร์รีฟ ขยายพันธุ์ออกมาเป็นตัวเมียเป็นส่วนใหญ่มาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว และเป็นไปได้ว่าประชากรเต่าทะเลกลุ่มนี้อาจจะกลายเป็นตัวเมียทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่องศาก็ทำให้ไข่เต่าทั้งหมดฟักออกมาเป็นตัวเมียทั้งหมดได้แล้ว แต่การฟักในอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ ไม่เพียงแต่จะได้แต่ลูกเต่าตัวเมียเท่านั้น แต่ยังทำให้อัตราการตายของลูกเต่าสูงขึ้นตามไปด้วย สภาวะโลกร้อนที่ส่งผลโดยตรงต่ออุณหภูมิจึงเป็นภัยคุกคามที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับประชากรเต่าทะเลกลุ่มนี้” นายเพชรกล่าวย้ำ

ด้านกรมสิ่งแวดแวดล้อมและคุ้มครองมรดกทางธรรมชาติ ของรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย พยายามทดสอบมาตรการต่างๆเพื่อลดอุณหภูมิของหาดทรายซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เช่นการทำที่บังแดด หรือแม้แต่ฝนเทียมเพื่อลดอุณหภูมิของชายหาด อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดว่าในแง่การปฏิบัติที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่าง เกรท แบริเออร์ รีฟ อยู่

ขณะที่ ผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะเต่าตนุมีแต่ตัวเมีย ไม่ได้มีเฉพาะที่ เกรท แบริเออร์ รีฟ เท่านั้น ที่เกาะตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีเต่าตนุมากที่สุดในพื้นที่แถบนี้ก็มีปัญหานี้เช่นกัน

ที่ผ่านมาพบว่า เต่าตนุที่เกาะตรังกานูไม่มีตัวผู้เลย สาเหตุมาจาก อุณหภูมิของทรายในธรรมชาติที่เต่าใช้วางไข่นั้นสูงเกินไป รวมทั้งไข่เขาที่นำไปฟักไม่มีการควบคุมอุณหภูมิให้ดีพอ

 สำหรับประเทศไทย แม้ไม่เคยตรวจเพศเต่าอย่าเป็นทางการก็คาดว่ามีปัญหานี้เช่นเดียวกัน

youtube
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0