โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้ไหม

iTAX

อัพเดต 16 ธ.ค. 2560 เวลา 06.49 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2560 เวลา 17.00 น. • iTAX
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้ไหม
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้ไหม

จากกระแส #ก้าวคนละก้าว ของพี่ตูน Bodyslam ทำให้เริ่มเกิดกระแสที่พูดถึงการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลกันทั่วสังคมออนไลน์ ซึ่งในมุมมองภาษีก็มีเรื่องที่น่าสนใจเช่นเดียวกันนั่นคือการบริจาคเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาล บทความนี้จึงขอนำเสนอแง่มุมว่าเงินที่บริจาคให้โรงพยาบาลต้องทำอย่างไรจึงจะลดหย่อนภาษีได้

บริจาคให้โรงพยาบาลนำไปลดหย่อนภาษีได้ไหม?

การบริจาคให้โรงพยาบาลโดยตรงนั้น แม้โรงพยาบาลจะนำไปใช้บำรุงโรงพยาบาลหรือนำไปสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์โดยตรงก็ตาม แต่ขณะนี้กฎหมายยังไม่ได้อนุญาตให้ผู้บริจาคนำเงินบริจาคนั้นไปลดหย่อนภาษีได้ทันที ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลที่จะสามารถรับเงินบริจาคเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้นั้นจะมีสถานะเป็นองค์กรการกุศลสาธารณะด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโรงพยาบาลเดียวเท่านั้น คือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ด้วยเหตุนี้ หลายๆ โรงพยาบาลจึงต้องใช้วิธีตั้งมูลนิธิแยกออกมาต่างหากจากโรงพยาบาลเพื่อใช้สำหรับระดมทุนเพื่อให้ผู้บริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จึงทำให้ประเทศไทยมีโรงพยาบาลและมูลนิธิของโรงพยาบาลที่สามารถบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีได้รวมทั้งสิ้น 72 แห่ง

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ให้และผู้รับ ผมจึงขอรวบรวมรายชื่อโรงพยาบาล และมูลนิธิของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ทั้ง 72 แห่ง ที่สามารถนำเงินบริจาคไปลดหย่อนภาษีได้ เพื่อให้เราสามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ผมได้แนบลำดับที่ตามประกาศกระทรวงการคลังไว้เพื่อใช้สำหรับอ้างอิงการใช้สิทธิ์ลดหย่อนด้วย

รายชื่อโรงพยาบาลและมูลนิธิของโรงพยาบาลที่ลดหย่อนได้

  • มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (ลำดับที่ 11)
  • โรงพยาบาลชลประทานมูลนิธิ (ลำดับที่ 15)
  • มูลนิธิตึกสงฆ์โรงพยาบาลอ่างทอง (ลำดับที่ 65)
  • ศิริราชมูลนิธิ (ลำดับที่ 85)
  • มูลนิธิรามาธิบดี (ลำดับที่ 100)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ (ลำดับที่ 109)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (ลำดับที่ 111)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ลำดับที่ 163)
  • มูลนิธิตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลปทุมธานี ร.ศ. 200 (ลำดับที่ 183)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี (ลำดับที่ 184)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลรถไฟ (ลำดับที่ 186)
  • มูลนิธิท่านผู้หญิงประภาศรี เพื่อกิจการตึกอุบัติเหตุโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ลำดับที่ 201)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ลำดับที่ 206)
  • มูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (ลำดับที่ 210)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลขอนแก่น (ลำดับที่ 215)
  • มูลนิธิกุมารโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ลำดับที่ 217)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก (ลำดับที่ 218)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ลำดับที่ 220)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลราชบุรี (ลำดับที่ 248)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลชลบุรี (ลำดับที่ 287)
  • มูลนิธิตึก สก.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ลำดับที่ 296)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน (ลำดับที่ 318)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน (ลำดับที่ 340)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก (ลำดับที่ 376)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาท่าบ่อ (ลำดับที่ 446)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาฉวาง (ลำดับที่ 447)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาหล่มเก่า (ลำดับที่ 448)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาด่านซ้าย (ลำดับที่ 449)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาเด่นชัย (ลำดับที่ 450)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี (ลำดับที่ 451)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขากระนวน (ลำดับที่ 452)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาเชียงของ (ลำดับที่ 453)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาปัว (ลำดับที่ 454)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาเวียงสระ (ลำดับที่ 455)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาสระแก้ว (ลำดับที่ 456)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พิษณุโลก (ลำดับที่ 457)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาจอมบึง (ลำดับที่ 458)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขากุฉินารายณ์ (ลำดับที่ 459)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาตะพานหิน (ลำดับที่ 460)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม (ลำดับที่ 461)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาบ้านดุง (ลำดับที่ 462)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาธาตุพนม (ลำดับที่ 463)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาเลิงนกทา (ลำดับที่ 464)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขาสว่างแดนดิน (ลำดับที่ 465)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สาขายะหา (ลำดับที่ 466)
  • มูลนิธิสูตินรีเวชกรรมโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ลำดับที่ 467)
  • มูลนิธิศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลตำรวจ (ลำดับที่ 471)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ลำดับที่ 492)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา (ลำดับที่ 504)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (ลำดับที่ 524)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ลำดับที่ 531)
  • มูลนิธิพัฒนาโรงพยาบาลนครปฐม (ลำดับที่ 586)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (ลำดับที่ 594)
  • มูลนิธิสงเคราะห์คนไข้อนาถา โรงพยาบาลนครปฐม (ลำดับที่ 615)
  • มูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ โดยพระราชานุญาตสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ลำดับที่ 620)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพระพุทธบาท (ลำดับที่ 624)
  • มูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ลำดับที่ 650)
  • มูลนิธิเพื่อกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ลำดับที่ 663)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน (ลำดับที่ 674)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ลำดับที่ 701)
  • มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร โรงพยาบาลตราด (ลำดับที่ 750)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลสุรินทร์ (ลำดับที่ 780)
  • โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ (ลำดับที่ 784)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลหาดใหญ่ (ลำดับที่ 798)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพระปกเกล้า (ลำดับที่ 802)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (ลำดับที่ 811)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลกลาง (ลำดับที่ 852)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพัทลุง (ลำดับที่ 880)
  • มูลนิธิสงเคราะห์ผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสวนปรุง (ลำดับที่ 882)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลโพธาราม (ลำดับที่ 901)
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (ลำดับที่ 917)
  • มูลนิธิโรงพยาบาลปากเกร็ด (ลำดับที่ 947)

หลักฐานที่จำเป็นต้องใช้

ทั้งนี้ อย่าลืมเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานการบริจาคเพื่อยืนยันการใช้สิทธิ์ลดหย่อนของคุณด้วย

บริจาคสนับสนุนพี่ตูนใช้ลดหย่อนภาษีได้

การบริจาคเงินสนับสนุนโครงการก้าวคนละก้าวเป็นการบริจาคเงินให้มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ลำดับที่ 220) จึงเป็นเงินบริจาคทั่วไปที่สามารถนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว และต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย

หากคุณต้องการขอใบเสร็จรับเงินผ่านทางเว็บไซต์ ผู้จัดโครงการได้กำหนดเงื่อนไขดังนี้

  • จำนวนที่บริจาคอย่างน้อย 500 บาท
  • ขอใบเสร็จรับเงินภายใน 5 วันนับจากวันที่บริจาค และภายในเดือนที่ทำการบริจาคด้วย
  • ต้องเป็นการบริจาคผ่านบัญชีธนาคาร, พร้อมเพย์, Counter Service, SCB ATM, SCB EASY APP, SCB EASY NET และ เว็บไซต์ Ruckdee.com เท่านั้น
  • กรอกข้อมูลเพื่อขอใบเสร็จรับเงินได้ที่ https://www.kaokonlakao.com/request
  • ในกรณีที่บริจาคผ่าน SMS และช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้
  • มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินตัวจริงให้ผู้บริจาคหลังจากตรวจสอบข้อมูลเสร็จสิ้นภายใน 30 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับข้อมูลจากผู้ริจาค หากผู้บริจาคไม่ได้รับใบเสร็จรับเงินตัวจริงภายในกรอบเวลานี้ แนะนำให้ติดต่อสอบถามมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าโดยตรงอีกครั้ง

ข้อสังเกตจากผู้เขียน

จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี 2556 ประเทศไทยมีโรงพยาบาล 261 แห่ง และสถานพยาบาลอีก 65 แห่ง รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 326 แห่ง นั่นหมายความว่าเรามีโรงพยาบาลที่สามารถบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีได้โดยตรงเพียง 0.3% เท่านั้น (โรงพยาบาล 1 แห่งจากทั้งหมด 326 แห่ง)

และต่อให้นับมูลนิธิของโรงพยาบาลรวมเข้าไปอีกเป็น 72 แห่งแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีจำนวนโรงพยาบาลและมูลนิธิของโรงพยาบาลที่สามารถบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีได้ราว 1 ใน 5 เท่านั้น (โรงพยาบาลและมูลนิธิ 72 แห่งจากทั้งหมด 326 แห่ง)

ทั้งนี้ แม้การบริจาคจะไม่ได้การมุ่งหวังเพื่อการลดหย่อนภาษี แต่การให้สิทธิลดหย่อนภาษีน่าจะจูงใจให้มีผู้สนใจเข้ามาบริจาคมากขึ้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะมีกฎหมายออกมาสนับสนุนให้การบริจาคให้โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลชุมชน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยตรงเหมือนกับโรงเรียนและสถานศึกษาโดยไม่ต้องให้โรงพยาบาลทำเรื่องขอเป็นองค์กรการกุศลสาธารณะ เพื่อไม่ต้องเป็นภาระให้โรงพยาบาลที่ต้องดำเนินการด้านกฎหมาย ซึ่งน่าจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่และประชาชนจะได้สามารถบริจาคและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้กับโรงพยาบาลทุกแห่งด้วย

สุดท้ายนี้ เป็นกำลังใจให้พี่ตูน Bodyslam ประสบความสำเร็จในกิจกรรมก้าวคนละก้าวจนครบ 55 วัน ตลอดเส้นทาง 2,191 กิโลเมตรอีกแรงครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0