โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักการเมืองไม่มั่นใจมีการเลือกตั้งปี61

[invalid]

อัพเดต 23 ก.ย 2560 เวลา 05.59 น. • เผยแพร่ 23 ก.ย 2560 เวลา 05.04 น. • tnnthailand.com
นักการเมืองไม่มั่นใจมีการเลือกตั้งปี61
เปิดเวทีสัมมนาสาธารณะ นักการเมืองไม่มั่นใจมีการเลือกตั้งปี61 ขณะที่นักวิชาการฟันธงมีเลือกตั้งแน่แค่พรรคการเมืองปรองดองกัน

เปิดเวทีสัมมนาสาธารณะ นักการเมืองไม่มั่นใจมีการเลือกตั้งปี61 ขณะที่นักวิชาการฟันธงมีเลือกตั้งแน่แค่พรรคการเมืองปรองดองกัน

วันนี้ (23ก.ย.60) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวในเวทีสัมมนาสาธารณะ ''โรดแมปไทยไทย ไกลแค่ไหน หรือใกล้เลือกตั้ง?'' ที่สถาบันอิสรา ผู้เข้าการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนฯ ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 7 จัดขึ้น ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถึงโรดแมปการเลือกตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) ว่า ที่ผ่านมามีการเลื่อนโดยตลอด และคาดเดาลำบากว่าจะเป็นไปตามระยะเวลาหรือไม่ และยังไม่มั่นใจว่ากฎหมายการเลือกตั้ง จะเสร็จทันกรอบระยะเวลาหรือไม่ และมองว่า ไม่ว่า คสช. จะอยู่ยาวอย่างไร ก็ขอให้ คสช. ประกาศให้ชัด เพราะมีผลกระทบต่อนักลงทุนที่จะต้องมีการวางแผนทำธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงยังเชื่อว่า แม้ไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่เกิดความยากลำบากต่อพรรคการเมือง หากไม่มีการเลือกตั้ง แต่อาจเกิดความยากลำบากต่อประชาชนมากกว่า

ด้าน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยังเชื่อว่า สังคมยังสับสนว่าจะเกิกการเลือกตั้งหรือไม่ เพราะจากการให้สัมภาษณ์แต่ละครั้งหัวหน้าคสช. เองก็ยังไม่มั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่ แต่หากประเทศไทย ต้องการเดินทางสู่ประชาธิปไตย ก็จำเป็นจะต้องมีการเลือกตั้ง และรัฐธรรมนูญ ก็บัญญัติไว้ชัดเจนถึงขั้นตอนต่าง ๆการเลือกตั้ง ก็อาจจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ย. 2561 แต่จากท่าทีของหัวหน้า คสช. ก็พบนัยยะสำคัญ 3 ตัว ที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้ง คือ หากบ้านเมืองไม่สงบก็เลือกตั้งไม่ได้ ,การตั้ง 4 คำถามสอบถามประชาชน และหากบ้านเมืองอยู่ในความเรียบร้อย การปรองดองเกิดขึ้น การเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นในปี 2561

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยืนยันว่า แม้ยังไม่มีความชัดเจน แต่พรรคการเมือง ก็พร้อมมีการเลือกตั้งตลอดเวลา ไม่ว่าจะพรุ่งนี้ เดือนหน้า หรือปีหน้า แต่ก็ยังไม่สามารถฟันธงแนวโน้มการเลือกตั้งในอนาคตได้เช่นกันว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ประชาชนก็มีส่วนด้วยว่าพร้อมมีการเลือกตั้งหรือไม่ เพราะหากประชาชนพร้อม ก็ไม่มีอะไรมาขัดขวางได้ แม้จะมีการยื้อเวลาโรดแมป ก็ทำได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะ จะต้องมีช่วงระยะเวลา 4 ปี เพราะหากเกินกว่านี้ ก็จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพที่อาจชี้แจงกับประชาชนได้ยาก และยังเชื่อว่า แม้การเลือกตั้งจะไม่เกิดในปี 2561 แต่ก็น่าจะเกิดขึ้นในปี 2562 แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงปลายปี 2561 จึงขอให้นายกรัฐมนตรี รักษาสัญญา เพื่อลดแรงกดดันจากสังคม พร้อมแนะนำสมาชิกใน คสช. และรัฐบาลว่า ไม่ควรลงเล่นการเมืองในอนาคต เพราะปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศด้วยวิธีพิเศษ จึงไม่ควรมีการสืบต่อท่ออำนาจ และไม่ควรทำตัวเป็นปลา 2 น้ำ

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการเลือกตั้งอย่างเร็วว่าสามารถทำได้ในเดือนก.ย.ปี 2561 โดยที่ กรธ. จะต้องเร่งยกร่างกฎหมายการเลือกตั้ง 4 ฉบับให้แล้วเสร็จก่อน พร้อมกล่าวถึงช่องว่างในรัฐธรรมนูญว่า กรธ. ไม่ได้บัญญัติว่าหากกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับไม่ผ่านความเห็นของ สนช. จะดำเนินการอย่างไร ดังนั้น หากมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ไม่ผ่านความเห็นจาก สนช. เพียง 1 ฉบับ การเลือกตั้งก็จะไม่เกิดขึ้น และจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อหาทางออก แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชน และฝ่ายการเมือง ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ และพรรคขนาดกลาง ยังไม่สามารถสร้างศรัทธาให้กับประชาชน ใช้รัฐสภาแก้ปัญหาประเทศไม่ได้ การเลือกตั้ง ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะประชาชน ยังกลัวว่าจะเกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นเหมือนในอดีต พร้อมแนะนำให้พรรคการเมืองคู่ขัดแย้ง ทั้งประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ลงนามสัญญาร่วมกันว่า จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีต เสียงข้างน้อย จะยอมรับเสียงข้างมาก เสียงข้างมาก จะเคารพเสียงข้างน้อย ไม่ปลุกมวลชนขึ้นมา ใช้ระบบรัฐสภา เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้ น่าจะเป็นการเรียกศรัทธาจากประชาชน และมั่นใจว่า การเลือกตั้งก็น่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0